PA1 แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน ครูโก้.docx

ประเด็นท้าทาย เรื่อง 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

        สภาพปัญหาในรายวิชาพลศึกษาซึ่งเน้นให้ผู้เรียนมีสุขภาพที่ดีครบทุกด้าน ยังพบปัญหานักเรียนไม่สามารถเลือกเรียนกีฬาที่เหมาะสมกับวัยตามหลักการเจริญเติบโตของร่างกายได้และไม่สามารถจำแนกชนิดของกิจกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพในด้านพัฒนาการ รวมถึงการเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน จึงส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียนยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาที่ดีขึ้น ครูผู้สอนจึงนำหลักทฤษฎีทางสุขศึกษาและพลศึกษา ว่าด้วยแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ Health Belief Model (HBM) ซึ่งผู้เรียนท้าทายความสามารถ เข้าใจง่าย มีภาพ เสียง วิดีโอประกอบ วางรูปแบบสวยงามและสามารถฝึกได้ด้วยตนเอง และสามารถเล็งเห็นความสำคัญ รวมถึงเชื่อมโยงต่อการปฏิบัติเพื่อเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
1.วิเคราะห์ปัญหาการเรียนในรายวิชาพลศึกษา เรื่อง การเปรียบเทียบทักษะการโยนลูกไลน์ของกีฬาเปตองระหว่างการนับก้าวกับการฟังเสียง สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสายตา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1

  2.ติดตามความก้าวหน้ากิจกรรมการเรียนการสอนเปตองโดยใช้ทฤษฏีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ Health Belief Model (HBM) ผ่านสื่อกิจกรรมแบบมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน Interactive Multimedia


3.ศึกษาค้นคว้าทฤษฏีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ Health Belief Model (HBM) ลำดับขั้นตอนการให้ความรู้นักเรียนเพื่อปรับใช้ในรูปแบบสื่อการสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน Interactive Multimedia


4.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฏีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ Health Belief Model (HBM) ผ่านสื่อกิจกรรมแบบมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน Interactive Multimedia


5.นำผลการจัดกิจกรรมและปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูผู้สอนในระดับชั้นเดียวกันเพื่อบูรณาการโดยได้วิชาภาษาไทยจะเป็นผู้กำหนดชิ้นงานการเขียนสื่อความหมายเพื่อบูรณาการ และวิชาการงานอาชีพกำหนดกิจกรรมเสริมทฤษฎีการเลือกบริโภค เพื่อบูรณาการกับรายวิชาพลศึกษาต่อไป


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 
  3.1 เชิงปริมาณ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านสายตา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ร้อยละ 85 มีทักษะการโยนลูกไลน์ของกีฬาเปตอง

    3.2 เชิงคุณภาพ พัฒนาสื่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาพลศึกษา เรื่องการเข้าลูกไลน์ ผ่านสื่อกิจกรรมแบบมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน Interactive Multimedia โดยใช้ทฤษฏีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ Health Belief Model (HBM) 

พี่โก้.pdf