ประเด็นท้าทาย 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

               สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ในรายวิชาสุขศึกษา พบว่านักเรียนยังไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาของบทเรียนที่มีความซับซ้อนของกระบวนการต่างๆของร่างกาย ผู้สอนจึงเล็งเห็นว่าการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคการคิด และวิธีการจดบันทึกความคิดของเราเปรียบเสมือนการจำลองความคิดจากสมองลงสู่กระดาษโดยออกมาในลักษณะคล้ายแผนที่ แผนภาพ ที่แตกแขนงออกเหมือนกิ่งไม้และเชื่อมโยงกัน เหมือนเซลล์ประสาทในสมองโดยจะใช้ภาพ เส้น สี สัญลักษณ์ และคำสำคัญ มาใช้วาดจากตรงกลางแล้วกระจายความคิดออกไป แทนการเขียนบันทึกด้วยตัวอักษรเรียงเป็นบรรทัดยาว ๆจะทำให้นักเรียนมีความจำที่ดีขึ้น จำแม่นขึ้น เห็นภาพรวมได้ดีขึ้น และเป็นระบบมากขึ้น จนส่งผลให้นักเรียนสามารถเข้าใจในบทเรียนและทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนที่สูงขึ้น

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
1.วิเคราะห์ปัญหาการเรียนในรายวิชาสุขศึกษา เรื่อง ระบบไหลเวียนเลือดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

2.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องระบบไหลเวียนเลือด

3.ศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้แบบแผนผังความคิดให้เหมาะสมกับวัยและการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

4.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยนักเรียนเป็นผู้ออกแบบแผนผังความคิดเอง โดยมีผู้สอนเป็นที่ปรึกษา

5.นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนเรื่องระบบไหลเวียนเลือด

6.นำผลการทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนมาเปรียบเทียบความก้าวหน้า เมื่อนักเรียนได้ผ่านการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง  
      3.1 เชิงปริมาณ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องระบบไหลเวียนเลือดที่สูงขึ้น


        3.2 เชิงคุณภาพ 

พัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรายวิชาสุขศึกษา เรื่องระบบไหลเวียนเลือด ผ่านการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด