แกล้งกันไม่ใช่เรื่องเล็ก : Cyberbullying 

เพราะโลกออนไลน์ ไม่ใช่เซฟโซน มารู้จัก เข้าใจ และป้องกันภัย กับ สพป.แพร่ เขต 1

Cyberbullying คืออะไร วิธีรับมือการกลั่นแกล้งและระรานบนไซเบอร์แบบอยู่หมัด

รู้ไหมว่าการขายของออนไลน์ก็เสี่ยง Cyberbullying ได้ ยิ่งมีชื่อเสียง ก็ยิ่งเสี่ยง อย่างที่มีข่าวให้เห็นอยู่เป็นประจำ ไอดอลสาวโดนคนโรคจิตโพสต์คุกคาม สาวน้อยช่วยแม่ไลฟ์ขายสบู่แต่เพราะหน้าตาที่โดดเด่นดึงโดนชาวเน็ตโพสต์ต่อว่าจนน้ำตาตกคาไลฟ์ หรือพ่อค้าแม่ค้าที่เน้นการขายผ่านไลฟ์สดที่ต้องเปิดเผยหน้าตาหรือรูปร่าง ย่อมต้องเคยเจอการโพสต์ข้อความดูถูกหรือหมิ่นประมาณกันมาอย่างมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านั้นสามารถเรียกได้ว่าเป็นการบูลลี่ หรือ Cyberbullying ได้ทั้งนั้น

Cyberbullying คืออะไร 

Cyberbullying คือ การระรานทางไซเบอร์ หมายถึงการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายล้อเลียน ระรานบนโลกอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์หรือพิมพ์ด่าว่ากล่าว แต่งเรื่องราวหลอกลวงให้ผู้อื่นเสียหาย หรือการตัดต่อภาพหรือคลิป VDO ที่ส่อถึงการเจตนาล้อเลียน ความถึงการสวมรอยเป็นผู้อื่นบนโลกออนไลน์อีกด้วย

ปัจจุบันมีผู้ตกเป็นเหยื่อ Cyberbullying ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด และแพลตฟอร์มทางโซเชียลต่าง ๆ ที่เปิดให้ผู้คนสามารถสร้างแอดเคาท์หรือสร้างตัวตนได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นตัวตนจริง ๆ หรือตัวตนปลอม ๆ อีกทั้งทุกข้อมูลที่โพสต์ไปบนโซเชียลยังสามารถถูกคนไม่ประสงดีดึงไปใช้ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

สาเหตุของ Cyberbullying สามารถเกิดได้หลากหลาย แต่ส่วนมากจากเกิดขึ้นจากความเกลียดชังและจงใจที่จะล้อเลียนเพื่อทำให้เป้าหมายเกิดความอับอายบนโลกไซเบอร์ มีทั้งทำครั้งเดียวเพื่อความสะใจแล้วหายไปและการจงใจตามคุกคามเป็นยะระเวลานาน ๆ แบบล็อกเป้าหมายจนกว่าจะพอใจนั้นเอง  ซึ่งการคุกคามนี้ก็มีหลายรูปแบบ


การคุมคามของ Cyberbullying มีอะไรบ้าง 



5 วิธีการรับมือกับ Cyberbullying


วิธีหยุด Cyberbullying ขั้นเด็ดขาด ด้วยการใช้กฎหมาย / ระรานผู้อื่นด้วยความคะนองอาจเสี่ยงคุกไม่รู้ตัว

สำหรับพ่อค้าแม่ค้าหรือผู้ที่ต้องเป็นเหยื่อ Cyberbullying อย่ามัวแต่ร้องไห้หรือเสียกำลังใจไป แต่เหยื่อยังสามารถรวบรวมหลักฐานการถูกระรานต่าง ๆ ทั้งการถูกด่าทอ การตัดต่อรูปเพื่อสร้างความเสียหาย หรือการปลอมแปลงตัวตน แล้วนำไปแจ้งความเอาผิดกับกับตำรวจได เพราะในประเทศไทยมีกฎหมายที่สามารถเอาผิดผู้ที่รังเกโดยการใช้ไซเบอร์เป็นเครื่องมือได้ ได้แก่

กฎหมายการหมิ่นประมาท มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง หรือทำให้ถูกเกลียดชัง  ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรืทั้งจำทั้งปรับ

กฎหมายมาตรา 328 การกระทำผิดด้วยการทำโฆษณา การสร้างเอกสาร ภาพ VDO การเผยแพร่เสียง เผยแพร่ภาพ ถือว่ามีความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

กฎหมายมาตรา 392 การกระทำผิดที่ทำให้ผู้อื่นเกิดความตกใจ ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ขู่ทำร้ายนั้นมีความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ฎหมายมาตรา 397 การกระทำผิด รังเกผู้อื่น ข่มเหง คุกความ หรือทำให้อับอายเดือดร้อน นั้นมีความผิด ต้องโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท