สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ปวช.) 

              (Business Computer)  สาขาที่เกี่ยวของกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ผนวกกับธุรกิจ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ให้ความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ ตลอดจนให้ความสำคัญกับเรื่อง ธุรกิจ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจ การบริหารธุรกิจ การจัดการ บัญชี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จึงให้ความสำคัญทั้งความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และธุรกิจไปพร้อมกัน  

สาขาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล (ปวส.)

              (Digital Business Technology)  สาขาศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม เรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ หลักการทำงาน ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การดูแลบำรุงรักษาและซ่อมประกอบคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการใช้โปรแกรมสำนักงาน การออกแบบซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานฮาร์ดแวร์ ระบบฐานข้อมูล การออบแบบสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งการสร้างเว็บไซต์ ที่สามารถทำงานบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น ตลอดจนการประยุกต์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีขั้นสูงมีการจัดกิจกรรมการเรียนโดยเน้นการฝึกทักษะสู่การปฎิบัติจริง   

 เน้นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านงานธุรกิจ เช่น Bl (Business lntelligence) ที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ และ ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) สำหรับการวางแผนการบริหารธุรกิจขององค์กร ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจ โดยตลอดหลักสูตรการเรียนจะเน้นการฝึกทักษะสู่ภาคปฎิบัติจริงกับอุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมในห้องปฎิบัติการที่ทันสมัย

1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานธุรกิจ 2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย

3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนด้านซอฟต์แวร์ (Support) 4. เจ้าหน้าที่ฝ่าย E – Learning

5. เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสำนักงาน 6. เลขานุการกรรมการผู้จัดการใหญ่

7. เจ้าหน้าที่ฝ่ายระบบงานสำนักงาน 8.  เจ้าหน้าที่พัฒนาซอฟต์แวร์

9. เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม 10. เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีคอมพิวเตอร์ หรือระบบบริหารงานบุคคล

11. เจ้าหน้าที่ฝ่ายโฆษณา 12. เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระบบ