เกี่ยวกับเรา...

กิจกรรมเชิงสัญญลักษณ์ กล่าวปฏิญาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต

การพัฒนาองค์ความรู้ในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

กรอบระยะเวลาดำเนินการการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ความเป็นมา

          สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สํานักงาน ป.ป.ช.) ได้พัฒนาเครื่องมือการประเมินเชิงบวกเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการทุจริต และเป็นกลไกในการสร้าง ความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐมีการดําเนินงานอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม โดยใช้ชื่อว่า “การประเมิน คุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)” เป็นกลยุทธ์ที่สําคัญของยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) ซึ่งถือเป็นการยกระดับให้การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ให้เป็น “มาตรการป้องกันการทุจริตเชิงรุก” ที่หน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ จะต้องดําเนินการ 

          โดยมุ่งหวังให้หน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการประเมิน ได้รับทราบผลการประเมินและแนวทางในการพัฒนาและยกระดับหน่วยงานในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานได้อย่างเหมาะสม และที่ผ่านมาพบว่า หลายหน่วยงานนําการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐไปเป็นกรอบในการพัฒนาและยกระดับการบริหารการจัดการให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการและการอํานวยความสะดวกต่อประชาชน ให้เข้าถึงการบริการสาธารณะด้วยความเป็นธรรมผ่านการปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐาน มีการประกาศขั้นตอนและระยะเวลา ในการให้บริการอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ในด้านบริหารจัดการในหน่วยงาน ก็ยังพบว่าหน่วยงานให้ความสําคัญ กับการป้องกันในประเด็นที่อาจเป็นความเสี่ยงหรือเป็นช่องทางที่อาจจะก่อให้เกิดการทุจริต การรับสินบน หรือก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน และสามารถยับยั้งการทุจริตหรือผลประโยชน์ทับซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้อย่างเท่าทันสถานการณ์ ซึ่งเมื่อหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศมีการป้องกันการทุจริตเชิงรุกในลักษณะ ดังกล่าว ก็จะทําให้การทุจริตในภาพรวมของประเทศลดลงได้ในที่สุด ตลอดจนยังผลักดันให้เกิดทิศทาง การพัฒนาและปรับปรุงการทํางานภายในหน่วยงานในภาพรวมของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

          การดําเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ที่ผ่านมา ถือว่าประสบความสําเร็จเป็นอย่างยิ่ง โดยได้รับ ความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมเป็นอย่างดี และได้รับเสียงสะท้อนว่าการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐนั้น เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้หน่วยงานที่รับการประเมิน ได้มีการตรวจสอบและสอบทานตนเอง มีการปรับปรุงการดําเนินงานให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในส่วนที่ ยังขาดตกบกพร่อง มีการพัฒนาระบบงานให้เกิดความโปร่งใส มีการปรับปรุงการบริหารงานและการปฏิบัติงาน อย่างเป็นธรรมทั้งต่อบุคลากรในหน่วยงานและต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานได้เป็นอย่างดี

          ปัจจุบันการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ได้ถูกกําหนดเป็นตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561 - 2580) โดยในระยะแรก (พ.ศ. 2561 - 2565) กําหนดค่าเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐที่มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ (85 คะแนนขึ้นไป) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

          สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากจะเป็นหน่วยงานระดับกรม ที่รับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานจากสํานักงาน ป.ป.ช. แล้ว ยังเป็นหน่วยงาน ที่นําเครื่องมือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ไปขยายผลเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใส ของหน่วยงานในสังกัด โดยการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษา จํานวน 225 เขต อย่างต่อเนื่อง และได้พัฒนานวัตกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดําเนินงานของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาในรูปแบบออนไลน์ โดยมีแนวคิดการพัฒนานวัตกรรม การประเมินด้วยระบบ ITA Online เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล รวดเร็วในการวิเคราะห์และ ประมวลผล โปร่งใสตรวจสอบได้ด้วยระบบเวลาจริง (Real-time System) และการประเมินมีประสิทธิภาพ ลดภาระงานด้านเอกสาร (Paperless) ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่รับการประเมินโดยปรับปรุงระบบ การเก็บข้อมูล ให้เป็นแบบออนไลน์เต็มรูปแบบ

          ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สํานักงาน ป.ป.ช. โดยศูนย์ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ของหน่วยงานภาครัฐ ได้พัฒนาเกณฑ์การประเมินให้เกิดการสนับสนุนต่อการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้ การทุจริตของประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) โดยได้สังเคราะห์ผลการวิจัยเรื่องแนวทาง การปรับปรุงและแนวการพัฒนาเครื่องมือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงาน ของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อนําไปสู่การยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ของประเทศไทยให้สูงขึ้น และพัฒนาเกณฑ์การประเมินให้สามารถป้องกันการทุจริตเชิงรุกได้ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการบูรณาการเครื่องมือส่งเสริมด้านคุณธรรมและความโปร่งใสจากหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลดความซ้ําซ้อนของการดําเนินการ และมุ่งเน้นการร่วมดําเนินการ ขับเคลื่อนด้านธรรมาภิบาลในภาพรวมของประเทศ ส่งผลให้หน่วยงานราชการที่ได้รับการประเมิน ได้ประโยชน์ จากการประเมิน และนําผลการประเมินไปการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และได้รับ ประโยชน์ในมุมของการสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร โดยเฉพาะการแสดงให้สังคมและสาธารณชนรับรู้ ว่าหน่วยงานให้ความสําคัญกับการเปิดเผยข้อมูลและการป้องกันการทุจริตในหน่วยงานอย่างไร และการ ดําเนินการดังกล่าว ไม่เป็นต้นทุนหรือภาระของหน่วยงานมากเกินไป รวมทั้งต้องไม่เป็นภาระกับบุคคล ที่เข้าร่วมกระบวนการประเมินด้วย

แนวทางการประเมิน ITA Online ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

          สําหรับเกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาออนไลน์ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ยังคงใช้กรอบแนวทางการประเมินเช่นเดียวกับ ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการประเมินได้มีการปรับปรุงพัฒนา อย่างเชื่อมโยงและต่อเนื่อง และทําให้เห็นพัฒนาการในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ ได้อย่างชัดเจน โดยมีการปรับปรุงในรายละเอียดของระเบียบวิธีการประเมินและประเด็นการประเมินเล็กน้อย เพื่อแก้ไขปรับปรุงข้อจํากัดของการประเมินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

          แต่เนื่องด้วยมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกใหม่ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และทุกจังหวัดทั่วประเทศ เป็นผลให้มีผู้ติดเชื้อ เพิ่มขึ้นจํานวนมาก สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกําหนดมาตรการป้องกันและควบคุม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งการปรับลดเวลาและวันทํางาน ของบุคลากรในสังกัด เพื่อป้องกัน ควบคุม และจํากัดการแพร่ระบาดตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยให้บุคลากรและหน่วยงานในสังกัด จัดบุคลากรหมุนเวียนมาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ทํางาน มอบหมายงานให้บุคลากรในสังกัดปฏิบัติงาน ณ ที่พัก อาศัย เลื่อนการจัดประชุม การฝึกอบรม หรือการสัมมนาต่าง ๆ ออกไป งดการจัดการเรียนการสอนและ กิจกรรมใด ๆ ที่ต้องมีการรวมกลุ่ม และปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) อย่างเคร่งครัด การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ออนไลน์ จึงต้องมีการปรับแผนการดําเนินกิจกรรมให้สอดรับกับสถานการณ์ และปรับรูปแบบในการดําเนิน กิจกรรมบางอย่าง เพื่อสนองตอบมาตรการสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2564 บรรลุตามวัตถุประสงค์

          นอกจากนี้ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เรื่อง การกําหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ซึ่งมีการกําหนดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และที่ตั้งของสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา จํานวน 62 เขต ทั้งนี้ สพม.ที่มีการจัดตั้งเพิ่มขึ้นอีก 20 เขต ได้แก่ สํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) พระนครศรีอยุธยา สพม.สระบุรี สพม.ลพบุรี สพม.สมุทรปราการ สพม.สระแก้ว สพม.กาญจนบุรี สพม.นครปฐม สพม.สมุทรสาคร สพม.ประจวบคีรีขันธ์ สพม.ชุมพร สพม.พัทลุง สพม.ยะลา สพม.ปัตตานี สพม.มุกดาหาร สพม.ยโสธร สพม.แม่ฮ่องสอน สพม.น่าน สพม.ตาก สพม.พิจิตร และ สพม.อุทัยธานี

          จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหาร ของหน่วยงานในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลต่อการกําหนด กลไกและกระบวนการในการขับเคลื่อนแนวทางการประเมิน ITA Online ในปีนี้ โดยสํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ออกแบบระบบเพื่อให้สามารถรองรับการประเมินสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาในสังกัด ทั้งหมด 245 เขต ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการนําผลที่ได้จากการประเมิน ITA Online มาใช้เป็นฐานข้อมูลในการ พัฒนาหน่วยงานในอนาคต

          ดังนั้น จึงมีความจําเป็นที่สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ที่จัดตั้งเพิ่มขึ้น อีก 20 เขต ต้องเข้ารับการประเมิน ITA Online โดยผลการประเมินจะทําให้หน่วยงานนั้นทราบถึงแนวทางในการพัฒนาและยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานในปีงบประมาณต่อไป แต่จะไม่นําผลการประเมินดังกล่าวมาคิดคะแนนตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของผู้บริหารแต่อย่างใด

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประเมิน ITA Online

ในการขับเคลื่อนการประเมิน ITA Online จําเป็นที่จะต้องมีหลายหน่วยงานร่วมกันขับเคลื่อน การประเมิน ITA Online ให้สามารถดําเนินการได้อย่างเรียบร้อยและเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กําหนด ประกอบด้วย

          สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหน่วยศูนย์กลางในการดําเนินการประเมินในภาพรวม โดยมีหน้าที่กําหนดกลไกและกระบวนการในการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ รวมไปถึงหลักการและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการประเมิน การกํากับติดตามการประเมินและการดําเนินการต่อผลการประเมินเพื่อนําเสนอต่อ สํานักงาน ป.ป.ช. 

          สํานักงาน ป.ป.ช.
สํานักงาน ป.ป.ช. มีบทบาทในการร่วมกําหนดแนวทางและร่วมกํากับติดตามการประเมิน รวมไปถึงการประสานงานในระหว่างกระบวนการต่างๆในการประเมิน

          สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นกลุ่มเป้าหมายที่รับการประเมิน มีจํานวน 245 เขต จําแนกออกเป็น 18 เขต ตรวจราชการ สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 อยู่ในเขตตรวจราชการ 16   

          สําหรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งถือเป็นการประเมินที่ดําเนินการมาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ ปีที่ 7 สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดําเนินการพัฒนาและออกแบบระบบการประเมิน ในครั้งนี้ให้ง่ายต่อการใช้งาน ลดความยุ่งยาก ซับซ้อนในการนําเข้าข้อมูล และคํานึงถึงความสะดวกในการตอบ คําถามแบบสํารวจของผู้ที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์การประเมิน

           เกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำแนกออกเป็น 10 ตัวชี้วัด ได้แก่
          1) การปฏิบัติหน้าที่
          2) การใช้งบประมาณ
          3) การใช้อำนาจ
          4) การใช้ทรัพย์สินของราชการ
          5) การแก้ไขปัญหาการทุจริต
          6) คุณภาพการดำเนินงาน
          7) ประสิทธิภาพการสื่อสาร
          8) การปรับปรุงระบบการทำงาน
          9) การเปิดเผยข้อมูล
          10) การป้องกันการทุจริต

รายละเอียดตัวชี้วัดของแบบวัด IIT

แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT) ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในตัวชี้วัดที่ 1 – ตัวชี้วัดที่ 5 ประกอบด้วย 

ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ 

เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของบุคลากรภายในหน่วยงานต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรอื่นในหน่วยงานของตนเอง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติงานโดยยึดหลักตามมาตรฐาน มีความโปร่งใส ปฏิบัติงานหรือดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดและจะต้องเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้มาติดต่อทั่วไปหรือผู้มาติดต่อที่รู้จักกันเป็นการส่วนตัวรวมไปถึงการปฏิบัติงานอย่างมุ่งมั่น เต็มความสามารถ และความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ที่รับผิดชอบซึ่งล้วนถือเป็นลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างมีคุณธรรม นอกจากนี้ ยังประเมินการรับรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียกรับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่น ๆ ของบุคลากรอื่นในหน่วยงานทั้งในกรณีที่แลกกับการปฏิบัติหน้าที่  และในกรณีช่วงเทศกาลหรือวาระส าคัญต่าง ๆ ตามขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือแม้แต่กรณีการให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่น ๆ  ต่อบุคคลภายนอกซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดการรับสินบนได้ในอนาคตตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ

ตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณ 

เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของบุคลากร  ภายในหน่วยงานต่อการดำเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงานของตนเอง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงิน งบประมาณ นับตั้งแต่การจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีและเผยแพร่อย่างโปร่งใส ไปจนถึงลักษณะการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานอย่างคุ้มค่า เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และไม่เอื้อประโยชน์แก่ตนเองหรือพวกพ้องการเบิกจ่ายเงินของบุคลากรภายในในเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าท างานล่วงเวลา ค่าวัสดุอุปกรณ์ หรือค่าเดินทาง ฯลฯ ตลอดจนกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการตรวจรับพัสดุด้วย นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการเปิดโอกาสให้บุคลากรภายในมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานตนเองได้ ตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณ ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ

ตัวชี้วัดที่ 3 การใช้อำนาจ 

เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของบุคลากรภายใน หน่วยงานต่อการใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชาของตนเอง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การคัดเลือกบุคลากรเพื่อให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งจะต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ รวมไปถึงการใช้อำนาจสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำในธุระส่วนตัวของผู้บังคับบัญชาหรือทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้  ยังประเมินเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานบุคคลที่อาจเกิดการแทรกแซงจากผู้มีอำนาจ การซื้อขายตำแหน่ง หรือการเอื้อผลประโยชน์ให้กลุ่มหรือพวกพ้อง ตัวชี้วัดที่ 3 การใช้อำนาจ ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ

ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ

เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของบุคลากรภายในหน่วยงานต่อการใช้ทรัพย์สินของราชการ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคลากร ภายใน ในการนำทรัพย์สินของราชการของหน่วยงานไปเป็นของตนเองหรือนำไปให้ผู้อื่น และพฤติกรรมในการขอยืมทรัพย์สินของราชการ ทั้งการยืมโดยบุคลากรภายในหน่วยงานและการยืมโดยบุคคลภายนอกหน่วยงาน ซึ่งหน่วยงานจะต้องมีกระบวนการในการขออนุญาตที่ชัดเจนและสะดวก นอกจากนี้ หน่วยงานจะต้องมีการจัดทำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของราชการที่ถูกต้อง เพื่อเผยแพร่ให้บุคลากรภายในได้รับทราบและนำไปปฏิบัติรวมไปถึงหน่วยงานจะต้องมีการกำกับดูแลและตรวจสอบการใช้ทรัพย์สินของราชการของหน่วยงานด้วย ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ

ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต

เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของ บุคลากรภายในหน่วยงานต่อการแก้ไขปัญหาการทุจริตของหน่วยงาน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการให้ ความสำคัญของผู้บริหารสูงสุดในการต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจัง โดยหน่วยงานจะต้องทบทวนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทุจริตในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และจัดทำแผนงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาการทุจริตได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมไปถึงการประเมินเกี่ยวกับประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาการทุจริตของหน่วยงาน ที่จะต้องทำให้การทุจริตในหน่วยงานลดลงหรือไม่มีเลย และจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้บุคลากรภายใน ในการร้องเรียนเมื่อพบเห็นการทุจริตภายในหน่วยงานด้วย นอกจากนี้ หน่วยงานจะต้องมีกระบวนการเฝ้าระวัง ตรวจสอบการทุจริตภายในหน่วยงาน รวมถึงการนำผลการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบ จากทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน ไปปรับปรุงการทำงาน เพื่อป้องกันการทุจริต ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ


รายละเอียดตัวชี้วัดของแบบวัด EIT

แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT) ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในตัวชี้วัดที่ 6 – ตัวชี้วัดที่ 8 ประกอบด้วย

ตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงาน 

เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของ ผู้รับบริการ ผู้มาติดต่อ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานต่อการคุณภาพการดำเนินงาน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ โดยยึดหลักตามมาตรฐาน ขั้นตอน และระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด และจะต้องเป็นไปอย่างเท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงจะต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการ/ให้บริการของหน่วยงานแก่ผู้รับบริการ ผู้มาติดต่อ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างตรงไปตรงมาไม่ปิดบังหรือบิดเบือนข้อมูล ซึ่งสะท้อนถึงการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีคุณธรรม และยังประเมินการรับรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ตรงในการถูกเจ้าหน้าที่เรียกรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่น ๆ เพื่อแลกกับการปฏิบัติหน้าที่ด้วย นอกจากนี้ ยังประเมินการรับรู้เกี่ยวกับการบริหารงานและการดำเนินงานในภาพรวมของหน่วยงานที่จะต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวมเป็นหลัก ไม่มีการเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงาน ประกอบด้วยข้อคำถาม จำนวน 5 ข้อ

ตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสาร

เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของผู้รับบริการ ผู้มาติดต่อ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานต่อประสิทธิภาพการสื่อสาร ในประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงานในเรื่องต่างๆ ต่อสาธารณชน ผ่านช่องทางที่หลากหลาย สามารถเข้าถึงได้ง่ายและไม่ซับซ้อน โดยข้อมูลที่เผยแพร่จะต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลการดำเนินงานของหน่วยงานและข้อมูลที่สาธารณชนควรรับทราบ รวมถึงการจัดให้มีช่องทางให้ผู้รับบริการ ผู้มาติดต่อ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถส่งคำติชมหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงาน/การให้บริการ และมีการชี้แจงในกรณีที่มีข้อกังวลสงสัยได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังประเมินการรับรู้เกี่ยวกับการจัดให้มีช่องทางให้ผู้มาติดต่อสามารถร้องเรียนการทุจริตของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานด้วย ซึ่งสะท้อนถึงการสื่อสารกับ ผู้รับบริการ ผู้มาติดต่อ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสาร ประเด็นสำรวจ ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 5 ข้อ

ตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงาน

เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของ ผู้รับบริการ ผู้มาติดต่อ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานต่อการปรับปรุงระบบการทำงาน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาหน่วยงานทั้งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และกระบวนการทำงานของ หน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยควรมีกระบวนการเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการหรือผู้มาติดต่อ เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการด้วย ทั้งนี้ นอกจากหน่วยงานจะต้องปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้ดีขึ้นแล้ว ยังควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการดำเนินงานให้มีความโปร่งใสมากขึ้นอีกด้วย ตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงาน ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 5 ข้อ


รายละเอียดตัวชี้วัดของแบบวัด OIT

แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT) ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในตัวชี้วัดที่ 9 – ตัวชี้วัดที่ 10 ประกอบด้วย

ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล

เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันบนเว็บไซต์ของหน่วยงาน เพื่อเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานให้สาธารณชนได้รับทราบ ใน 5 ประเด็น คือ
(1) ข้อมูล พื้นฐาน ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน ข่าวประชาสัมพันธ์ และการปฏิสัมพันธ์ข้อมูล 
(2) การบริหารงาน ได้แก่ แผนดำเนินงาน การปฏิบัติงาน และการให้บริการ
(3) การบริหารเงินงบประมาณ ได้แก่ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี และการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
(4) การบริหารและพัฒนา ทรัพยากรบุคคล ได้แก่ นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล และหลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล และ
(5) การส่งเสริมความโปร่งใสในหน่วยงาน ได้แก่ การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม ซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลในประเด็นข้างต้นแสดงถึงความโปร่งใสในการบริหารงานและการดำเนินงานของหน่วยงาน
ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัดย่อย (33 ข้อมูล)
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.2 การบริหารงาน
ตัวชี้วัดย่อยที่  9.3 การบริหารเงินงบประมาณ
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.4 การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.5 การส่งเสริมความโปร่งใส

ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต

เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการเผยแพร่ข้อมูล ที่เป็นปัจจุบันบนเว็บไซต์ของหน่วยงาน เพื่อเปิดเผยการดำเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงานให้สาธารณชนได้รับทราบ ใน 2 ประเด็น คือ
(1) การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต ได้แก่ เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร การประเมินความเสี่ยงเพื่อการป้องกันการทุจริต การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร และแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต และ
(2) มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต ได้แก่ มาตรการภายในเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต ซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลในประเด็นข้างต้นแสดงถึงการให้ความสำคัญต่อผลการประเมิน เพื่อนำไปสู่การจัดทำมาตรการส่งเสริมความโปร่งใสภายในหน่วยงาน และมีการกำกับติดตามการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อย (10 ข้อมูล)
ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.1 การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต
ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.2 มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต

ตารางแสดงสรุปจำนวนข้อคำถามแต่ละตัวชี้วัด

การประมวลผลคะแนน /คะแนนและระดับผลการประเมิน /ผลการประเมินตามเป้าหมาย

ขั้นตอนการประเมิน

สพฐ.  ได้กำหนดรายละเอียดของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งจะต้องดำเนินการผ่านระบบ ITA Online จำแนกขั้นตอนการดำเนินการออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ (1) ช่วงเตรียมการประเมิน (2) ช่วงดำเนินการประเมิน และ (3) ช่วงสรุปผลการประเมิน โดยแต่ละช่วงจะมีขั้นตอนและกรอบระยะเวลาดำเนินการพอสังเขป ดังนี้