ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คำพ่อสอน
ประมวลพระราชดำรัสเกี่ยวกับการศึกษาและเศรษฐกิจพอเพียง
พระราชดำรัสเกี่ยวกับการศึกษา
ประมวลคำพระราชดำรัสเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อเป็นหลักและแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
ความหมายและคำอธิบาย
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พอประมาณ มีเหตุผล และภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อชีวิตสมดุลพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง
มีความยั่งยืนในการดำเนินชีวิต พร้อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม
ความหมาย
“เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต โดยยึดหลักพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี บนพื้นฐานจิตใจที่มีคุณธรรม และใช้ความรู้อย่างรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง เพื่อให้ชีวิตสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ที่ทุกคน ทุกองค์กร ทุกชุมชน ทุกประเทศ สามารถนำไปใช้ในทุกกิจกรรม ทุกสาขาอาชีพ และทุกระดับ เพื่อให้เกิด การพัฒนาที่สมดุล มั่นคง และยั่งยืน
คำอธิบาย
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักแห่งความรู้ ของ คำว่า เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นคำที่ปรากฏในพระราชดำรัสครั้งแรกเมื่อปี 2540 และอาจจะกล่าวได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการสรุปรวบยอดแนวพระราชดำริที่เกี่ยวกับการพัฒนา ที่รวมถึงเป้าหมายแนวทาง และวิธีการ ในการพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หลังจากที่คณะผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวข้างต้น ไดกลั่นกรองบทความ“ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง” ออกมาแล้ว สศช. ก็ได้ทำหนังสือถึงราชเลขาธิการ (ในขณะนั้นคือ หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี) เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2542 เพื่อขอให้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยและพระบรมราชานุญาต เพื่อจะได้อัญเชิญไปใช้เป็นแนวปฏิบัติซึ่งต่อมาก็ได้ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามที่ขอพระมหากรุณาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 ตามสำเนาหนังสือที่ปรากฎ