บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชา วิทยาการคำนวณ (ว22103)
เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน (Python)
เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน (Python)
ตัวอย่างการแก้ปัญหา
1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
-อยากได้ iphone 16
-มีเงินอยู่ 20,000 บาท
-ต้องหาเงินให้ได้อีก 10,000 บาท
2.การวางแผนการแก้ไขปัญหา
- งดซื้อของไม่จำเป็นจะมีเงินเหลือเดือนละ 2,000 บาท
-ทำของที่ระลึกขายให้นักท่องเที่ยว ได้วันละ 500 บาท
3.การดำเนินการแก้ปัญหา
-เก็บเงินเดือนให้ได้ตามแผนที่วางไว้
-ขายทุกวัน 500*16 วัน ได้ 8,000 บาท
4. การตรวจสอบและประเมินผล
-ตรวจนับเงินทุก ๆ วัน
-สรุปยอดเมื่อครบ 1 เดือน ว่าได้ตามเป้าหมายหรือไม่
-หากไม่ได้ตามเป้าหมาย ให้ดำเนินการขั้นตอนที่ 1 ใหม่
1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
-สอบไม่ผ่าน
-ติดต่อขอสอบแก้ตัวกับครูผู้สอน
2.การวางแผนการแก้ไขปัญหา
-อ่านหนังสือเพิ่มเติมเพื่อไปสอบแก้ตัว
-ขอสอบกับคุณครูประจำวิชา
3.การดำเนินการแก้ปัญหา
-สอบแก้ตัวกับครูประจำวิชา
4. การตรวจสอบและประเมินผล
-ตรวจสอบคะแนนสอบผ่านเกณฑ์หรือไม่
-หากไม่ผ่านให้กลับไปดำเนินการขั้นตอนที่ 1 ใหม่
1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
-อยากได้เสื้อแฟชั่นใหม่
-มีเงิน 200 บาท
-ต้องหาเงินเพิ่มอีก 500 บาท
2.การวางแผนการแก้ไขปัญหา
-งดซื้อของที่ไม่จำเป็นจะมีเงินเก็บ 100 บาท ใน 1 สัปดาห์
- หารายได้เสริม 400 บาท
3.การดำเนินการแก้ปัญหา
-ทำขนมขาย รายได้วันละ 50 บาท จำนวน 8 วัน
4. การตรวจสอบและประเมินผล
- ตรวจนับเงินทุก ๆ วัน
- ตรวจสอบว่าได้กำไรหรือไม่
- หากไม่ได้ตามเป้าหมายไปดำเนินการขั้นตอนที่ 1 ใหม่
การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
การทำงานของระบบเทคโนโลยีจะประกอบไปด้วยตัวป้อน (input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (output) ที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ระบบทางเทคโนโลยีอาจมีข้อมูลย้อนกลับ (feedback) เพื่อใช้ปรับปรุงการทำงาน
ตัวป้อน (input) คือ สิ่งที่ป้อนเข้าสู่ระบบ ซึ่งอาจมีมากว่า 1 อย่าง
กระบวนการ (process) คือ กิจกรรมหรือการดำเนินการที่เกิดขึ้นในระบบ เพื่อทำให้เกิดผลผลิตตามวัตถุประสงค์
ผลผลิต (output) คือ ผลที่ได้จากการทำงานร่วมกันของตัวป้อน และกระบวนการของระบบ
ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) คือ ข้อมูลที่ใช้ในการควบคุมหรือป้อนกลับให้ระบบทำงานได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ (อาจจะมีได้ในบางระบบ)
ตัวอย่างโจทย์ในการแก้ปัญหา : "สมมติว่าเราต้องการสร้างโปรแกรมคำนวณพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยที่ผู้ใช้สามารถป้อนขนาดของด้านได้"
ตัวอย่างการแก้ปัญหา :
- รับข้อมูลขนาดด้าน
- คำนวณพื้นที่ (ด้าน x ด้าน)
- แสดงผลลัพธ์
พื้นที่เขียนโค้ด Coding Area
เขียนโปรแกรมไพทอนออนไลน์ trinket.io
ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนโปรแกรมไพทอน
1. ข้อผิดพลาดทางไวยากร (Systax error)
2. ข้อผิดพลาดขณะโปรแกรมทำงาน (Runtime error)
3. ข้อผิดพลาดทางความหมาย (Semantic error)