• บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) •

   • บริษัท ซีพี รีเทลลิงค์ จำกัด •

ภารกิจหลักและแผนงาน

วางแผนและบริหารจัดการงานวิชาการด้านการฝึกอาชีพ

    1.ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรมาตรฐานอาชีพ ให้สอดคล้องและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามกรอบข้อตกลงร่วมกับสถานประกอบการในการพัฒนาด้านอาชีพแก่ผู้เรียน โดยยึดตามโครงสร้างหลักสูตร และกรอบที่กระทรวงฯ กำหนด

    2.ออกแบบและพัฒนาคู่มือการฝึกอาชีพ และ แผนการฝึกอาชีพหลักสูตรฐานสมรรถนะ ร่วมกับสถานประกอบการตามกรอบสมรรถนะอาชีพเป็นไปตาม Competency ในการลงฝึกปฏิบัติของผู้เรียน ทุกสาขาวิชาที่เป็นระบบทวิภาคี

    3.จัดทำแผนงานร่วมกับสถานประกอบการ ในการจัดอบรมฝึกเตรียม

    4.วางแผนร่วมกับบริษัทปัญญธารา จัดอบรมและสอบรายวิชาฝึกอาชีพในสถานประกอบการ  ผ่านระบบ All LEARNING

    5.จัดทำจดหมายส่งตัวให้กับนักเรียน เพื่อแจ้งให้ครูฝึกในสถานประกอบการทราบ 

    6.จัดทำจดหมายแจ้งกำหนดการฝึกอาชีพ ให้ผู้ปกครอง 

    7.จัดทำโครงการเพชรปัญญา เพื่อเชิดชูเกียรติและสนันสนุนนักเรียน นักศึกษาที่มีผลการเรียนดียอดเยี่ยม ทั้งในการเรียนภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ

    8.จัดทำสัมมนาวิชาชีพ (โครงการบ้านนี้มีรัก) เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลช่วยเหลือการให้คำแนะนำในด้านต่างๆ แก่นักเรียน เพื่อมุ่งเน้นการปรับตัวและการเรียนรู้ในการฝึกอาชีพในภาคปฏิบัติอย่างมีความสุข

    9.จัดทำสัมมนาครูฝึก ร่วมกับ บริษัท ซีพี รีเทลลิงค์ จำกัด เพื่อดูแลนักเรียนระหว่างลงฝึกอาชีพในสถานประกอบการ พร้อมชี้แจงและทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ เทคนิคการสอนงานให้กับครูฝึก การใช้คู่มือการฝึกอาชีพ เกณฑ์การวัดและประเมินผล ร่วมถึงการแก้ไขการฝึกอาชีพของนักเรียนระหว่างการลงฝึกอาชีพ

    10.วิเคราะห์ทักษะความสามารถผู้เรียนในภาคปฏิบัติ แยกระดับชั้นปี ทุกกลุ่มสถานศึกษา ทุกปีการศึกษา

    11.ประเมินคุณภาพผู้เรียนด้านความพึงพอใจ ที่มีต่อสถานประกอบการและครูฝึกตลอดจนประเมินคุณภาพของผู้เรียนตามสมรรถนะอาชีพและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

    12.สรุปผลงานนิเทศสัมพันธ์และงานการแก้ไขปัญหาการฝึกอาชีพ  โดยแบ่งพื้นที่เป็น 13 พื้นที่  ได้แก่

     * กรุงเทพฯและปริมณฑล

    · พื้นที่ปฏิบัติการบุคคล ภาค BE                                 · พื้นที่ปฏิบัติการบุคคล ภาค BG

    · พื้นที่ปฏิบัติการบุคคล ภาค BN                                · พื้นที่ปฏิบัติการบุคคล ภาค BS

    · พื้นที่ปฏิบัติการบุคคล ภาค BW

    * ภูมิภาค

    · พื้นที่ปฏิบัติการบุคคล ภาค LNE                              · พื้นที่ปฏิบัติการบุคคล ภาค UNE

    · พื้นที่ปฏิบัติการบุคคล ภาค RC                                · พื้นที่ปฏิบัติการบุคคล ภาค LRE

    · พื้นที่ปฏิบัติการบุคคล ภาค URE                              · พื้นที่ปฏิบัติการบุคคล ภาค RN

    · พื้นที่ปฏิบัติการบุคคล ภาค LRS                              · พื้นที่ปฏิบัติการบุคคล ภาค URS

   

วัดผลและประเมินผลในทุกวิชาที่นักเรียน นักศึกษา ลงฝึกอาชีพในสถานประกอบการ 

    1.จัดทำฏิทินติดตามผลการเรียนในรายวิชาฝึกอาชีพ แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

     2.ชี้แจงเกณฑ์การวัดและประเมินผล และการบันทึกคูมือฝึกอาชีพรายวิชาฝึกอาชีพในสถานประกอบการ

     3.ตรวจสอบชั่วโมงการฝึกอาชีพของนักเรียน นักศึกษา และแจ้งให้อาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อติดตามนักเรียน นักศึกษา ที่ไม่มีชั่วโมงการฝึกอาชีพในทุกรอบการฝึก 

     4.จัดทำสรุปผลประเมินผลคะแนนในหมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ (กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพ) และ ฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ ทุกรายวิชาที่ลงฝึกภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ

     5.จัดทำผลการเรียนในหมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ (กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพ) และ ฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ ทุกรายวิชาที่ลงฝึกภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ

     6.จัดทำผลคะแนนรายวิชาบูรณาการในหมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ (กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก, กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพืื้นฐาน, กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ), หมวดวิชาเลือกเสรี และอื่น ๆ ที่หลักสูตรกำหนดในแผนการเรียน

     7.ติดตามช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาผู้เรียน ที่มีผลการเรียนเป็นไม่สมบูรณ์ (ม.ส.)รายวิชาฝึกอาชีพในสถานประกอบการ 


ดูแลช่วยเหลือผู้เรียนระหว่างการฝึกอาชีพในกรณีที่มีปัญหาการฝึกอาชีพ

    1.วางแผน พัฒนา ออกแบบการนิเทศผู้เรียน ระหว่างฝึกอาชีพในสถานประกอบการ

    2.วางแผน ออบแบบการนิเทศผู้เรียนกลุ่มเสี่ยง

    3.ดูแลให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาระหว่างผู้เรียนลงฝึกอาชีพ ตลอดหลักสูตร 

     

วิสัยทัศน์ พันธกิจ 

วิสัยทัศน์ (Vision)

“ เราจะเป็นสถาบันอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีชั้นนำ 

ที่ผลิตนักเรียน นักศึกษา คุณภาพ ตามความต้องการของภาคธุรกิจ ”


พันธกิจ (Missions)

    1.สร้างและพัฒนามาตรฐานการฝึกอาชีพ ครอบคลุมทุกสาขาวิชาทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตามเกณฑ์ของหลักสูตรและมาตรฐานสมรรถนะอาชีพของสถานประกอบการ 

    2.สร้างระบบติดตามและแก้ไขปัญหาการฝึกอาชีพเชิงป้องกัน 

    3.พัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการเพื่อให้มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่ในการดูแลนักเรียนระหว่างฝึกอาชีพร่วมกัน 

    4.สร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน ปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วยแนวคิด TQM เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศและมาตรฐานการอาชีวศึกษาทั้งภายในและภายนอก

    5.บริหารงบประมาณและทรัพย์สินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

    6.ส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความผาสุกผูกพันธ์ต่อองค์กรและสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยม และวัฒนธรรมการทำงานของ CP All