ผู้จัดทำข้อตกลง

นางสาววรวรรณ ครุฑหุ่น

ตำแหน่ง  ครู     วิทยฐานะ  -

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ ๔  

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต ๒

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 รวมจำนวน 25 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา

- กลุ่มสาระการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย/รายวิชาภาษาไทย        จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์/รายวิชาคณิตศาสตร์             จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์/รายวิชาวิทยาศาสตร์           จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์/รายวิชาวิทยาศาสตร์
เพิ่มเติม   จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ/รายวิชาสังคมศึกษาฯ           จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ/รายวิชาประวัติศาสตร์          จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ/รายวิชาการป้องกันการทุจริต  จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ/รายวิชาทัศนศิลป์                      จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ/รายวิชาศิลปะเพิ่มเติม                  จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ/รายวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์   

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 

- ลูกเสือ-เนตรนารี    จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ชุมนุม         จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- อบรมจริยธรรม     จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์


################################################

อ้างอิงจาก : คำสั่งแต่งตั้งข้าราชการครู และบุคลากร
ทางการศึกษาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามขอบข่ายสายงาน ประจําปีการศึกษา 2566

################################################

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

- การจัดทำแผนการเรียนรู้/การสร้างสื่อ/การสร้างเครื่องมือ ประเมินผล วิจัยในชั้นเรียน              จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานที่ปรึกษาและระบบดูแลนักเรียน              จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพPLC       

                                                                         จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์


################################################

อ้างอิงจาก : คำสั่งแต่งตั้งข้าราชการครู และบุคลากร
ทางการศึกษาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามขอบข่ายสายงาน ประจําปีการศึกษา 2566

################################################

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 16 ชั่วโมง/สัปดาห์

- หัวหน้างานวิชาการระดับประถมศึกษา                   
จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานทะเบียนนักเรียน และวัดผล                          

จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- หัวหน้างานแผนสอนคิด และเครื่องมือสอนคิด           

จำนวน  6 ชั่วโมง/สัปดาห์


################################################
อ้างอิงจาก : คำสั่งแต่งตั้งข้าราชการครู และบุคลากร
ทางการศึกษาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามขอบข่ายสายงาน ประจําปีการศึกษา 2566

################################################

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

- โครงการอ่านออกเขียนได้อ่านคล่องเขียนคล่อง      

จำนวน 1  ชั่วโมง/สัปดาห์ 


################################################
อ้างอิงจาก : คำสั่งแต่งตั้งข้าราชการครู และบุคลากร

ทางการศึกษาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามขอบข่ายสายงาน ประจําปีการศึกษา 2566

################################################

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดไม่ถูกต้อง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๑

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

         ข้าพเจ้า นางสาววรวรรณ ครุฑหุ่น ตำแหน่ง ครู ผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 รับผิดชอบทำการสอนให้กับนักเรียนทั้งหมด 31 คน พบปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในวิชาภาษาไทยของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 อยู่ในระดับที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจใน มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ คือร้อยละ 65 คะแนน เฉลี่ยการทดสอบประจำบทเรียนในแต่ละหน่วย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ถูกกำหนดให้เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักในช่วงชั้นที่ 1 ซึ่งต้องสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรสมรรถนะที่นักเรียนต้องรู้และควรรู้ตามตัวชี้วัด จากการนำผลตรวจแบบฝึกหัด/ใบงานในเนื้อหา ที่เป็นภาระงานให้นักเรียนได้ทำการเรียนจึงสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แสดงให้เห็นว่านักเรียนยังขาดความเข้าใจไม่มีความรู้พื้นฐานและความรู้ทางภาษาไทย ข้อปัญหาที่พบ คือ นักเรียนไม่สามารถเขียนคำตามมาตราตัวสะกดต่างๆ ได้ถูกต้อง จึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ในด้านการเขียนลดลง

ดังนั้นจึงทำให้เกิดผลกระทบถึงการเรียนในเนื้อหาอื่นๆ  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไขในการ สร้างชุดแบบฝึก เรื่องการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนเรื่องต่อไปในชั้นเรียนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนในเนื้อหาต่อไป ครูผู้สอนในฐานะผู้รายงานจะประสบปัญหาในการสอน เรื่อง การเขียนคำตามมาตราตัวสะกดไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาที่พบในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตลอดมา ครูผู้สอนจึงได้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้หรือเทคนิคการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยที่ครูต้องปรับวิธีการสอนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการจัดทำสื่อการสอน หรือนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีความหลากหลาย เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียนในการเรียนภาษาไทย จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน และสร้างองค์ความรู้

Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์  สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาพร พฤฑฒิกุล. 2558)

ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลกระทบถึงคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3/1
ในวิชาภาษาไทย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการพัฒนาการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ เข้ามาเพื่อช่วยแก้ปัญหาการอ่าน และการเขียนสะกดคำพื้นฐาน จากเหตุผลดังกล่าวผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนการคิด การร่วมมือ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความมุ่งมั่นในการเรียนและการทำงาน เกิดความท้าทายและสนุกกับการเรียน และจะส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดียิ่งขึ้น 

ผู้สอนจึงสนใจที่จะเพิ่มคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการพัฒนาจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิด ที่กำหนดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Do now (ขั้นนำ) Purpose (ขั้นกำหนดเป้าหมาย) Work mode (ขั้นสอน) Reflective Thinking (ขั้นสรุป) และใช้เครื่องมือสอนคิดในการวัดและประเมินผลวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1



2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                   1)  ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1

                  2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิด เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดไม่ถูกต้อง

                   3) ออกแบบโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการสอนคิด ที่กำหนดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Do now (ขั้นนำ) Purpose (ขั้นกำหนดเป้าหมาย) Work mode (ขั้นสอน) Reflective Thinking (ขั้นสรุป) และใช้เครื่องมือสอนคิดในการวัดและประเมินผล วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1

                 4) นำแผนการสอนคิด ที่จัดทำขึ้นไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทที่สอน

                   5) บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ และนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาผลการเรียนรู้ให้นักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

                  6) เมื่อประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหา นำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพแก่ครูผู้สอนโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

                 

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 3/1 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 65 


เชิงคุณภาพ 

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีงบประมาณ 2566
(1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566) มีความรู้วิชาภาษาไทยสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์


ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

นางศิรภัสสร ชุมภูเทพ

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นายณฐวรรฏ เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นางสาวสุพัฒนา ทวีเดช

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2


นางนีรชา ทับประดิษฐ์

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2