ผู้จัดทำข้อตกลง

นางสาววิไล หริ่งรัตนพันธ์

ตำแหน่ง  ครู     วิทยฐานะ  ครูชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 27 ชั่วโมงสัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

       -กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาวิทยาศาสตร์ 5                   จำนวน    12 ชั่วโมง/สัปดาห์

       -กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีววิทยาเบื้องต้น  จำนวน    4 ชั่วโมง/สัปดาห์  

       -กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม 3          จำนวน    4 ชั่วโมง/สัปดาห์  

       -กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม 5          จำนวน    4 ชั่วโมง/สัปดาห์


กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

       - กิจกรรมลูกเสือและเนตรนารี สามัญรุ่นใหญ่          จำนวน   1 ชั่วโมง/สัปดาห์

       - กิจกรรมอบรมจริยธรรม                                  จำนวน   1 ชั่วโมง/สัปดาห์       

       - กิจกรรมชุมนุม                                              จำนวน   1 ชั่วโมง/สัปดาห์                               

####################################################

คำสั่งแต่งตั้งครูเข้าสอนภาคเรียนที่  1/2566

####################################################

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน                  จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมหน้าเสาธง โฮมรูม                          จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- เวรประจำวัน                                            จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

####################################################

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเยี่ยมบ้าน ปีการศึกษา 2566

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา ภาคเรียนที่ 1/2566

คำสั่งแต่งตั้งครูเวรประจำวัน ภาคเรียนที่ 1/2566

####################################################

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน  10 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป

- หัวหน้างานประชาสัมพันธ์                      จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

- เจ้าหน้าที่งานเทคโนโลยีการศึกษา               จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- เจ้าหน้าที่งานโสตทัศนศึกษา                       จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

####################################################
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่งานตามสายงานบริหารราชการโรงเรียน 

ประจําปีการศึกษา 2566

####################################################

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
        เรื่อง  “การพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิด เพื่อแก้ปัญหา                     การเรียนรู้ที่ถดถอยและยกระดับคะแนนผลสัมฤทธ์ทางการเรียน ในรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน                 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3” 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน


                    จากการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ทั้งในระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด

และระดับชาติ ในปีการศึกษาที่ผ่านมามีผลสัมฤทธิ์ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรายวิชาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีเนื้อหาที่เป็น เรื่องใกล้ตัว นักเรียนสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

          ดังนั้นครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าทายเพื่อเป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง แรงเสียดทาน โดยใช้รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

 


                  




2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                    2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 จังหวัดตาก มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด

                  2.2 ครูผู้สอนออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่

โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(5Es) เตรียมเครื่องมือประกอบการจัดการเรียนรู้  ดังนี้

                         - แผนการจัดการเรียนรู้

                         - แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พร้อมเฉลย

                         - ใบกิจกรรม/แบบฝึกหัด พร้อมเฉลย

                         - ใบความรู้

                         - กลุ่มห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom


                   2.3 เปิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยี ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องในเนื้อหา การจัดกิจกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบฝึกหัดพร้อม

ทั้งเสนอแนะและสะท้อนผลการจัดกิจกรรมเพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไขให้เหมาะสมกับบริบทของห้องเรียนผู้เรียนและชุมชน

                  2.4 ครูผู้สอนนำกิจกรรมมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                  2.5 ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 

เรื่อง แรงเสียดทาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูป แบบของการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 

ดังหัวข้อต่อไปนี้

                          1. การสร้างความสนใจ (Engagement)

                          2. การสำรวจและค้นหา (Exploration)

                          3. การอธิบาย (Explanation)

                          4. การขยายความรู้ (Elaboration)

                          5. การประเมินผล (Evaluation)


                  2.6 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขึ้น จากการกิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนผล

การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องใด ให้ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนและการสอนซ่อมเสริมด้วยคลิป วีดีทัศน์ที่ครูจัดทำขึ้นสำหรับใช้แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา และทำการทดสอบใหม่ จนนักเรียนมีผลการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด



3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

   

  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 ห้อง โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 จังหวัดตาก จำนวน 129 คน   

ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง แรงเสียดทาน โดยใช้รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)    สูงขึ้น เป็นร้อยละ 77 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมากร้อยละ 90





เชิงคุณภาพ 

    

     นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4  ห้อง โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 จังหวัดตาก จำนวน 129 คนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง แรงเสียดทาน โดยใช้รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3     ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน


ตัวชี้วัด (Indicators)

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 

แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ว 23102

ภาคเรียนที่ 2/2565

แผนภูมิวิทพื้นฐาน.pdf

แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ปก-ปพ.5 วิทพื้นฐาน.pdf

แบบบันทึกผลการเรียน

คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

ดร.ศิรภัสสร  ชุมภูเทพ

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นายณฐวรรฏ  เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  ชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 

นางนีรชา  ทับประดิษฐ์

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  ชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 

นางสาวสุพัฒนา ทวีเดช

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  ชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2