ผู้จัดทำข้อตกลง

นางสาวธนภรณ์ ทิพวัน

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ -

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

วันเดือนปีเกิด วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2532
คุณวุฒิทางการศึกษา
ปริญญาตรี
ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) วิชาเอกการออกแบบสื่อนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร
เริ่มรับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วย เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เรื่อง “การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โครงงานบูรณาการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การออกแบบตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ในโครงงานของห้องเรียน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2”

ประเด็นท้าทาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
เรื่อง “การพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอน
คิด เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอยและยกระดับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาทัศนศิลป์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5”

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

แรกเริ่มเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( Covid-19 ) ครั้งแรก โรงเรียน ป่าไม้อุทิศ 4 รับมือโดยการปิดโรงเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาติดเชื้อ พร้อมกับปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนใหม่ จากที่เรียน On-site ในห้องเรียน มาเป็นการจัดเรียน 4 0n คือ Online, On-Demand ,On -Hand และ On-Air ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จึงได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้ในลักษณะ Block course และแบบบูรณาการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังเกิดปัญหาที่สะสมจากการจัดการเรียนการสอนในช่วงการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้เรียนมีภาวะการเรียนรู้ถดถอย ซึ่งภาวะการเรียนรู้ถดถอยในแต่ละชั้นปีและพื้นที่มีภาวะการเรียนรู้ถดถอยที่แตกต่างกัน

ดังที่กล่าวมานั้นทำให้พบปัญหาส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ไม่ผ่านหลายตัวชี้วัดในแต่ละวิชา มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ คือร้อยละ 60 ซึ่งต้องสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่นักเรียนต้องรู้และควรรู้ตามตัวชี้วัด จากการตรวจแบบฝึกหัด/ ใบกิจกรรม/ ใบงานในเนื้อหา/ชิ้นงาน ที่เป็นภาระงานให้นักเรียนได้ทำการเรียน จึงสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในเนื้อหาเดิมช่วงสถาณการณ์โควิด ซึ่งข้อปัญหาที่พบ คือ นักเรียนมีปัญหาในการเรียนรู้ที่ถดถอย นักเรียนขาดฐานความรู้ ประสบการณ์ทักษะที่ควรรู้และต้องรู้ การออกแบบการเรียนรู้รูปแบบเดิมไม่สามารถตอบสนองได้ในระยะเวลาที่จำกัด เนื่องจากขาดการออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะที่หลากหลาย การกำหนดเป้าประสงค์และเครื่องมือที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ รู้จักการคิดวิเคราะห์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ ทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุจุดประสงค์ที่คาดหวังไว้ จึงต้องแสวงหา นวัตกรรมทางการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า การ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน และสร้างองค์ความรู้

Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา(Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาพร พฤฑฒิกุล, 2558)

ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลกระทบถึงคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในรายวิชาทัศนศิลป์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการพัฒนาการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ เข้ามาเพื่อช่วยปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย จากเหตุผลดังกล่าวผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนการคิด การร่วมมือ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความมุ่งมั่นในการเรียนและการทำงาน เกิดความท้าทายและสนุกกับการเรียน และจะส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดียิ่งขึ้น

ผู้สอนจึงสนใจที่จะเพิ่มคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการพัฒนาจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิด ที่กำหนดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Do now (ขั้นนำ) Purpose (ขั้นกำหนดเป้าหมาย) Work mode (ขั้นสอน) Reflective Thinking (ขั้นสรุป) และใช้เครื่องมือสอนคิดในการวัดและประเมินผลรายวิชาทัศนศิลป์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1) ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแกนกลาง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิด เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอยและยกระดับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

3) ออกแบบโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการสอนคิด ที่กำหนดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Do now (ขั้นนำ) Purpose (ขั้นกำหนดเป้าหมาย) Work mode (ขั้นสอน) Reflective Thinking (ขั้นสรุป) และใช้เครื่องมือสอนคิดในการวัดและประเมินผลรายวิชารายวิชาทัศนศิลป์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

4) นำแผนการสอนคิด ที่จัดทำขึ้นไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนระดับชั้นปรถมศึกษาปีที่ 5 โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทที่สอน

5) บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ และนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาผลการเรียนรู้ให้นักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

6) เมื่อประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหา นำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพแก่ครูผู้สอนโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

เชิงปริมาณ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา ทัศนศิลป์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 70

เชิงคุณภาพ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีงบประมาณ 2565 (1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565) มีความรู้ในรายวิชาทัศนศิลป์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

ดร.ศิรภัสสร ชุมภูเทพ

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ
วิทยฐานะ
ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ผู้อำนวยการ
โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาตาก เขต 2

นายณฐวรรฏ เพียงสุวรรณ์

ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2


นางสาวสุพัฒนา ทวีเดช

ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2


นางนีรชา ทับประดิษฐ์

ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2