นายสุรสิทธิ์ วงษา

ตำแหน่ง  ครู     วิทยฐานะ  ครูชำนาญการ

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 16 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน         จำนวน 8 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

- รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม จำนวน 6 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- ลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่                   จำนวน -  นาที/สัปดาห์

- ชุมนุม                                               จำนวน 50 นาที/สัปดาห์

- อบรมคุณธรรมจริยธรรม                          จำนวน 50 นาที/สัปดาห์


################################################

คำสั่งแต่งตั้งครูเข้าสอนภาคเรียนที่ 2/2565

################################################

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมหน้าเสาธง โฮมรูม                          จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- เวรประจำวัน                                            จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

################################################

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเยี่ยมบ้าน ปีการศึกษา 2565

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา ภาคเรียนที่ 2/2565

คำสั่งแต่งตั้งครูเวรประจำวัน ภาคเรียนที่ 2/2565

################################################

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเซต ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                    ในปัจจุบันคณิตศาสตร์ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศทำให้แต่ละประเทศพยายามที่จะให้พลเมืองภายในประเทศของตน เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ในทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทย ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรมและเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศหรือยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้นำคณิตศาสตร์มาใช้ในการพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต แต่ก็ประสบปัญหาความล่าช้า อันเนื่องมาจากความขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์ทางด้านคณิตศาสตร์ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพจึงจำเป็นจะต้องมีการวางแผนและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆขึ้นมาใช้เองสำหรับการทดแทนการนำเข้า  ทั้งนี้เพื่อการพึ่งพาตนเองทางด้านคณิตศาสตร์(สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2535:4)

คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์สำคัญศาสตร์หนึ่งที่มนุษย์ได้คิดค้นขึ้นมา วิชานี้นอกจากจะมีความสำคัญต่อวงการการศึกษาในด้านช่วยพัฒนาความคิดของผู้เรียนให้เป็นคนที่คิดอย่างมีเหตุผลแล้ว คณิตศาสตร์ยังมีบทบาทสำคัญต่อโลกปัจจุบันในวิทยาการทุกแขนง เช่น ด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคม     ตลอดจนเป็นพื้นฐานสำหรับการค้นคว้าวิจัยทุกประเภท แต่ในเวลาที่ผ่านมา การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 ยังไม่บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร  ซึ่งพบว่าผลการวัดระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโดยเฉลี่ยไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินจากการเรียนเรื่องการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ปัญหาดังกล่าวเนื่องมาจากนักเรียนไม่สามารถแสดงวิธีแก้สมการและหาคำตอบของสมการได้    จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังของนักเรียนพบว่านักเรียนไม่ชอบทำการบ้านหรือแบบฝึกหัดที่ได้รับมอบหมาย  ดังนั้นสาเหตุของปัญหาคือนักเรียนขาดการฝึกฝนทักษะอย่างจริงจัง

จากเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงสร้างแบบฝึกทักษะเรื่องเซต เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเซต ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1. ทำการบันทึกผลการสอบก่อนการฝึกของนักเรียน

2. แนะนำวิธีการใช้และการแนะนำการทำกิจกรรมของแบบฝึกหัดเรื่องเซตให้นักเรียนเข้าใจ พร้อมทั้งชี้แจงจุดประสงค์ของการทำวิจัยในครั้งนี้  รวมถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ของแบบฝึกและหลังจากนั้นให้นักเรียนเริ่มลงมือฝึกด้วยตนเอง    ซึ่งในบางครั้งผู้วิจัยได้แนะนำและชี้แจงในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจทั้งในด้านเนื้อหาและข้อคำถาม

3. ดำเนินการสอนโดยใช้แบบฝึกหัดเรื่องเซตซึ่งผู้วิจัยให้นักเรียนศึกษาข้อมูลด้วยตัวเองแต่คอยให้คำแนะนำนักเรียนเมื่อมีข้อซักถาม ระยะเวลาในการวิจัย 8 คาบๆละ 50 นาที

4. เมื่อดำเนินการฝึกครบตามเวลาที่กำหนดแล้วให้นักเรียนทำแบบทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอีกครั้งด้วยแบบทดสอบฉบับเดิม   แล้วบันทึกผลการสอบที่ได้ไว้เป็นคะแนนหลังฝึก

5. ทำการเปรียบเทียบคะแนนของนักเรียนก่อนการฝึกและหลังการฝึก

      

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

       1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ที่จะได้รับการสอนโดยใช้เทคนิค  การตั้งคำถามหลังการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งในภาพรวมและในรายสมรรถภาพย่อย

2.ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่จะได้รับการสอนโดยใช้เทคนิค

การตั้งคำถามหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งในภาพรวมและในรายสมรรถภาพย่อย


4. ประโยชน์ที่จะได้รับ 

1.ผู้เรียนได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

       2.ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้แก่ครูผู้สอนและผู้สนใจอื่นๆ

       3.เพื่อเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนได้พัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคนิคการตั้งคำถาม