ผู้จัดทำข้อตกลง

นางสาวรุ่งทิวา อ่ำอำไพ

ตำแหน่ง : ครู

วิทยฐาน : ชำนาญการ

กลุ่มสาระ : สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

สถานศึกษา : โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตาก เขต 2

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ตารางสอน ภารเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน 9 ชั่วโมง/สัปดาห์

  • งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

  • กิจกรรมหน้าเสาธง โฮมรูม จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

  • เวรประจำวัน จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

  • รายวิชากิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

  • รายวิชาอบรมจริยธรรม จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

  • PLC จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์



งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาจำนวน 18 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มบริหารงานวิชาการ


  • หัวหน้างานวิชาการ ม ต้น จำนวน...2...ชั่วโมง/สัปดาห์

  • ผู้ช่วยเลขานุการงานบริหารวิชาการ จำนวน...2...ชั่วโมง/สัปดาห์

  • กรรมการงานคลินิกวิชาการ จำนวน...2...ชั่วโมง/สัปดาห์

  • กรรมการงานวิจัยและนวัตกรรมของโรงเรียน จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์

  • กรรมการงานจัดทำข้อมูลสารสนเทศวิชาการ จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์

  • ครูประจำชั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน...5..ชั่วโมง/สัปดาห์

  • กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการงานประกันคุณภาพ

  • ภายในสถานศึกษา จำนวน..1...ชั่วโมง/สัปดาห์

  • กรรมการนิเทศภายใน จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์

  • กรรมการเทียบโอนผลการเรียน จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์

  • กรรมการกิจกรรมแนะแนว จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์

  • กรรมการส่งเสริมและประสานงานการจัดการศึกษา

  • ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์


งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย


ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

ประเด็นท้าทาย

เรื่อง การแก้ปัญหาการขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ ในการเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน หรือ 5 STEPs ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

ตามที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ให้ครูในสังกัดได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา แล

ท้องถิ่น ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( Covid-19 ) ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ได้ทำการปิดโรงเรียน พร้อมกับปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน จากที่เรียน on-site ในห้องเรียน เป็นการจัดเรียน 4 on คือ online, on - demand, on-hand และ on -air โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 จึงได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Block course และแบบบูรณาการจัดการเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต่ำลงของนักเรียน ซึ่งเป็นผลจากการจัดการเรียนการสอนในช่วงการระบาดของ โควิด-19

ดังที่กล่าวมานั้นในการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์ ที่ผ่านมา พบว่าผู้เรียนขาดทักษะการสืบค้น อภิปราย และคิดวิเคราะห์ ในการ

เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งผู้เรียนยัง ขาดการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ คือร้อยละ 60 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จากการจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์โควิด - 19 ปัญหาที่พบ คือ นักเรียนมีปัญหาในการเรียนรู้ที่ถดถอย นักเรียนขาดทักษะการสืบค้นข้อมูล ซึ่งเป็นทักษะที่ควรรู้ ทักษะในการอภิปราย และทักษะการคิดวิเคราะห์ ทั้งนี้การออกแบบการเรียนรู้ยังขาดการให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะทักษะการสืบค้นข้อมูล ทักษะในการอภิปราย และทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นผลทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุจุดประสงค์ตามที่คาดไว้ ครูผู้สอนจึงหาวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะผ่านกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน และสร้างองค์ความรู้ เป็นการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรืสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง คือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้า นาสาวรุ่งทิวา อ่ำอำไพ ตำแหน่ง ครู คศ.2 ครูผู้สอนรายวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รับผิดชอบทำการสอนให้กับนักเรียน

ทั้งหมด จำนวน 126 คน จึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าท้ายเรื่อง การแก้ปัญหาการขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ ในการเห็นคุณค่าของทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน หรือ 5 STEPs ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ในเรื่องของมาตรฐานการเรียน และตัวชี้วัดของเนื้อหารายวิชาสังคมศึกษา

2.2 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน หรือ 5 STEPs

2.3 เปิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และเข้าไปสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องในเนื้อหา การจัดกิจกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบฝึกหัด พร้อมทั้งเสนอแนะ และสะท้อนผลการจัดกิจกรรมเพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไขให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ ให้เหมาะสมกับบริบทของห้องเรียน ผู้เรียน และโรงเรียน

2.4 ครูผู้สอนนำกิจกรรมมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

2.5 ครูผู้สอนสร้างแบบทดสอบ และแบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม โดยตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบทดสอบด้วยค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) ด้วยผู้เชี่ยวชาญ และปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

2.6 นำแบบทดสอบทดลองและกิจกรรมที่ออกแบบใช้กับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เคยเรียนเนื้อหา เรื่อง ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียเพื่อปรับปรุงแบบทดสอบอีกครั้ง

2.7 จัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย กับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ในรูปแบบ ONLINE หรือ ONSITE โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของห้องเรียน ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ผ่านการศึกษาสถานการณ์หรือคลิปวิดีทัศน์ตัวอย่างที่สะท้อนถึงปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการสืบค้น อภิปราย และคิดวิเคราะห์ และการเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผ่านกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน หรือ 5 STEPs ดังนี้

(1) การเรียนรู้ตั้งคำถามหรือขั้นตั้งคำถาม

(2) การเรียนรู้แสวงหาสารสนเทศ

(3) การเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้

(4) การเรียนรู้เพื่อการสื่อสาร

(5) การเรียนรู้เพื่อตอบแทนสังคม

2.8 บันทึกผลการเรียนรู้ สรุปสารสนเทศของผู้เรียน แล้วแจ้งให้ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทราบ และได้รับการพัฒนาจนกว่าผู้เรียนจะผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

2.9 สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

เชิงปริมาณ

ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ห้อง รวมจำนวนผู้เรียนทั้งหมด 126 คน ได้รับการแก้ปัญหาการด้านทักษะการสืบค้น อภิปราย และคิดวิเคราะห์ และการเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน หรือ 5 STEPs ในรายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส 21103 ดังนี้

1) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อมในทวีปเอเชียทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 65 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 ของผู้เรียนทั้งหมด

2) แบบฝึกหัด เรื่อง ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน

ทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 65 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของผู้เรียนทั้งหมด

3) ชิ้นงาน กิจกรรมการระดมความคิด ที่ผู้เรียนนำความรู้เรื่อง ปัญหา

ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 65 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของผู้เรียนทั้งหมด

4) ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ได้รับการซ่อมเสริม และปรับปรุงผลการ

เรียนให้ดีขึ้นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80 ของผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์

เชิงคุณภาพ

ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ห้อง รวมจำนวนผู้เรียนทั้งหมด 126 คน มีทักษะการคิดวิเคราะห์ และการเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ตามกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน หรือ 5 STEPs จากการพัฒนาตนเอง และการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)


ตัวชี้วัด (Indicators)

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนียผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของผู้เรียนทั้งหมด

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

รายวิชาสังคมศึกษา ภาคเรียนที่ 2/2564 มีจำนวนผู้เรียน 126 คน ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 65 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของผู้เรียนทั้งหมด จำนวน ..........คนคิดเป็นร้อยละ................ของนักเรียนทั้งหมด

ผู้เรียนร้อยละ 60 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป จำนวน. .................

แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา

ภาคเรียนที่ 2/2564


ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

ประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อแก้ปัญหาการขาดทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่องวิธีการทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

ตามที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ให้ครูในสังกัดได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา

และท้องถิ่น ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( Covid-19 ) ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ได้ทำการปิดโรงเรียน พร้อมกับปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน แบบการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Block course และแบบบูรณาการจัดการเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต่ำลงของนักเรียน ซึ่งเป็นผลจากการจัดการเรียนการสอนในช่วงการระบาดของ โควิด-19 ในปีการศึกษาที่ผ่านมา

ดังที่กล่าวมานั้นในการจัดการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ ที่ผ่านมา พบว่าผู้เรียนขาดทักษะการสืบค้น อภิปราย และคิดวิเคราะห์ ในการ

เห็นคุณค่าของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่สามารถปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งนักเรียนยัง ขาดการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ คือร้อยละ 65 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลจากการจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์โควิด - 19 ปัญหาที่พบ คือ นักเรียนมีปัญหาในการเรียนรู้ที่ถดถอย นักเรียนขาดทักษะการสืบค้นข้อมูล ซึ่งเป็นทักษะที่ควรรู้ ทักษะในการอภิปราย และทักษะการคิดวิเคราะห์ ทั้งนี้การออกแบบการเรียนรู้ยังขาดการให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะทักษะการสืบค้นข้อมูล ทักษะในการอภิปราย และทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นผลทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุจุดประสงค์ตามที่คาดไว้ ครูผู้สอนจึงหาวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะผ่านกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน และสร้างองค์ความรู้ เป็นการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรืสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง คือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมาย และนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้า นาสาวรุ่งทิวา อ่ำอำไพ ตำแหน่ง ครู คศ.2 ครูผู้สอนรายวิชาประวัติศาสตร์ จึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าทาย

โดยต้องการแก้ปัญหา การขาดทักษะการแก้ไขปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในรายวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1) ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแกนกลาง และหลักสูตรนักเรียนต้องรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ห้อง

2) ออกแบบหน่วยการเรียนรู้รายวิชา ส 31102 ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามตัวชี้วัด และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โครงงานเป็นฐาน เพื่อเพิ่มคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ห้อง

4) นำหน่วยการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้นไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ห้อง โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับ

บริบทที่สอน

5) บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ และนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาผลการเรียนรู้ให้นักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

เชิงปริมาณ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ห้อง โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ร้อยละ 70 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น

เชิงคุณภาพ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ห้อง ของโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 มีความรู้ในรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่องวิธีการทางประวัติศาสตร์ และมีทักษะการแก้ไขปัญหา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนได้อย่างถูกต้องและ มีประสิทธิภาพ


ตัวชี้วัด (Indicators)

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของผู้เรียนทั้งหมด

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

รายวิชาประวัติศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1/2565 มีจำนวนผู้เรียน 154 คน ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 65 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของผู้เรียนทั้งหมด จำนวน ..........คน

คิดเป็นร้อยละ................ของนักเรียนทั้งหมด

ผู้เรียนร้อยละ 60 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป มีจำนวน ...................

แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา

ภาคเรียนที่ 1/2565

คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้

พุทธประวัติ

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.1

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

ดร.ศิรภัสสร ชุมภูเทพ

ผู้อำนวยการ โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 สพป.ตาก เขต 2

นายณฐวรรฏ เพียงสุวรรณ์

รองผู้อำนวยการ โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 สพป.ตาก เขต 2

นางสาวสุพัฒนา ทวีเดช

รองผู้อำนวยการ โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 สพป.ตาก เขต 2

นางนีรชา ทับประดิษฐ์

รองผู้อำนวยการ โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 สพป.ตาก เขต 2 2