ผู้จัดทำข้อตกลง

นางสาวพรรณนิภา  นันทะใจ

ตำแหน่ง  ครู           วิทยฐานะ  -

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน  24 ชั่วโมง / สัปดาห์

รายวิชาสังคมศึกษา ป.4/1             จำนวน  2  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาสังคมศึกษา ป.4/2             จำนวน   2  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาสังคมศึกษา ป.4/3             จำนวน   2  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาสังคมศึกษา ป.4/4              จำนวน  2   ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาประวัติศาสตร์ ป.4/1           จำนวน   1  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาประวัติศาสตร์ ป.4/2               จำนวน   1  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาประวัติศาสตร์ ป.4/3               จำนวน   1  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาประวัติศาสตร์ ป.4/4               จำนวน   1  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาสังคมศึกษา ป.6/1              จำนวน   2  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาสังคมศึกษา ป.6/2          จำนวน   2  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาสังคมศึกษา ป.6/3               จำนวน   2  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาการป้องกันการทุจริต ป.6/1 จำนวน   1  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาการป้องกันการทุจริต ป.6/2 จำนวน   1  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาการป้องกันการทุจริต ป.6/3 จำนวน   1  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาลูกเสือ-เนตรนารี                                             จำนวน   1  ชั่วโมง/สัปดาห์ 

รายวิชา ชุมนุม                                   จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาอบรมจริยธรรม                   จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

PLC                                                   จำนวน  3  ชั่วโมง/สัปดาห์ 

##############################################################

แหล่งอ้างอิง : คำสั่งแต่งตั้งครูเข้าสอนภาคเรียนที่ 2/2564

##############################################################

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้   

จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

- การจัดทำแผนการเรียนรู้/การสร้างสื่อ/ การสร้างเครื่องมือประเมินผล

/วิจัยในชั้นเรียน        จำนวน  2  ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานที่ปรึกษาและระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียน   จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC)      จำนวน  3  ชั่วโมง/สัปดาห์

##############################################################

แหล่งอ้างอิง : คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา ##############################################################

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน  14 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

- กรรมการหลักสูตรเตรียมบ่มเพาะผู้ประกอบการ               จำนวน   4  ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการงานบริหารงานพัสดุงานจัดซื้อ จัดจ้าง ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

e-GP                                                                                   จำนวน   4  ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการงานกิจการนักเรียน - วันสำคัญ                   จำนวน...4...ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมและเลขานุการระดับประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4      จำนวน   1   ชั่วโมง/สัปดาห์

-ครูเวรประจำวันพุธ                                                              จำนวน   1   ชั่วโมง/สัปดาห์


##############################################################

แหล่งอ้างอิง : คำสั่งแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามขอบข่ายสายงาน

##############################################################

งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น รวมจำนวน  2   ชั่วโมง/สัปดาห์       

- กรรมการและเลขานุการโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล     จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการงานส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน - สภานักเรียน    จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์


##############################################################

แหล่งอ้างอิง : คำสั่งแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามขอบข่ายสายงาน

##############################################################

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู 

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

 ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแรงจูงใจในการเรียนและกระตุ้นให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ในวิชาสังคมศึกษาฯ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566


1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ และปัญหาของผู้เรียน

เนื่องด้วยธรรมชาติของวิชาสังคมศึกษาฯเป็นวิชาที่มีเนื้อหาเป็นจำนวนมาก และเป็นวิชาที่ค่อนข้างน่าเบื่อสำหรับผู้เรียน การสอนแบบ Active learning  จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมาเปลี่ยนให้วิชาสังคมศึกษาเป็นวิชาที่น่าสนใจขึ้นมา ข้าพเจ้า นางสาวพรรณนิภา  นันทะใจ  ตำแหน่ง ครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ครูผู้สอนรายวิชาสังคมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษาที่ผ่านมา พบว่าผู้เรียนขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ และขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ ไม่สามารถนำความรู้ที่เรียนมาปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และผู้เรียนยังไม่มีการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าท้าย การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแรงจูงใจในการเรียนและกระตุ้นให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ในวิชาสังคมศึกษาฯ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1)  ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแกนกลาง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 

2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้เกม เพื่อแก้ปัญหาการขาดแรงจูงใจในการเรียน และขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ ในรายวิชาสังคมศึกษาเป็นการเพิ่มทักษะในการเรียนรู้ให้เกิดแก่ผู้เรียน

3) ออกแบบโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานในการเรียนรู้ ใช้กระบวนการในการจัดกิจกรรมแบบ Active Learning ทั้งการการวางแผนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การสอนตามแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ Active Learning  การประเมินผลและนำผลการพัฒนาไปปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนโดยใช้เกมส์เป็นฐาน

4) นำแผนการการจัดการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้นโดยใช้เกมเป็นฐาน ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทที่สอน

5) บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ และนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาผลการเรียนรู้ให้นักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

6) เมื่อประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหา นำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพแก่ครูผู้สอนโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เพื่อสร้างแรงจูงในในการเรียนและฝึกการคิดวิเคราะห์ ถือว่าเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดด้านอื่น ๆ ที่สูงขึ้น การคิดวิเคราะห์จะช่วยให้ผู้เรียนรู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องต้นของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ รู้ว่าเรื่องนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง รู้รายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ทำให้ได้ข้อเท็จจริงที่เป็นพื้นฐานความรู้ เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง กระบวนการคิดวิเคราะห์ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน  สามารถประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากผลงานนั้น ๆ และทักษะที่เกิดขึ้นกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีทั้งข้อมูลเนื้อหาวิชาซึ่งเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทักษะชีวิต อันจะก่อให้เกิดความรู้และทักษะที่นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ตามความมุ่งหมายทางการศึกษาอย่างแท้จริง



3.1 เชิงปริมาณ

       นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 เกิดแรงจูงใจในการเรียนและมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ส่งผลให้มีความรับผิดชอบและมีองค์ความรู้ในการเรียนวิชาสังคมศึกษาฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 70  


3.2 เชิงคุณภาพ

       นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต2  ปีงบประมาณ 2566 ( 1 ตุลาคม 2565 – 30  กันยายน2566)มีความรู้ในรายวิชสังคมศึกษา สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ


ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

ดร.ศิรภัสสร  ชุมภูเทพ

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นายณฐวรรฏ  เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นางสาวสุพัฒนา ทวีเดช

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นางนีรชา  ทับประดิษฐ์

- ตำแหน่ง   รองผู้อำนวยการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2