ผู้จัดทำข้อตกลง

นางรุ่งทวี  ไชยกาญจน์

ตำแหน่ง  ครู   วิทยฐานะ  ครูชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ4 

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 24 ชั่วโมง /สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาภาษาไทย ป.1/2              จำนวน..5..ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาคณิตศาสตร์ ป.1/2            จำนวน..5...ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาวิทยาศาสตร์ ป.1/2           จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาวิทยาศาสตร์(เพิ่มเติม)   จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาสังคมศึกษา                    จำนวน..2..ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาประวิติศาสตร์          จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาการป้องกันการทุจริต          จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาสุขศึกษา                     จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาศิลปศึกษา                     จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาศิลปศึกษา (เพิ่มเติม)       จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาการงานอาชีพ               จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาภาษาอังกฤษ(เพิ่มเติม)     จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาจริยธรรม                    จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาแนะแนว              จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาลูกเสือ-เนตรนารี              จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์


งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

-การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้         จำนวน.....3......ชั่วโมง/สัปดาห์ 

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

- หัวหน้าสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 1           จำนวน.....6......ชั่วโมง/สัปดาห์

- รับผิดชอบงานพัสดุอาหารเสริม (นม)        จำนวน.....10....ชั่วโมง/สัปดาห์

- รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน                    จำนวน.....10....ชั่วโมง/สัปดาห์

- รับผิดชอบโครงการอ่านออกเขียนได้              จำนวน.....6......ชั่วโมง/สัปดาห์


ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 24 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาภาษาไทย ป.1/2              จำนวน..5..ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาคณิตศาสตร์ ป.1/2            จำนวน..5...ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาภาษาอังกฤษ ป.1/2   จำนวน..4..ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาวิทยาศาสตร์(เพิ่มเติม)   จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาสังคมศึกษา                    จำนวน..2..ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาประวิติศาสตร์          จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาการป้องกันการทุจริต          จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา         จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาศิลปศึกษา                     จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาการงานอาชีพ               จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาจริยธรรม                    จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาแนะแนว              จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาลูกเสือ-เนตรนารี              จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์


งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

-การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้         จำนวน.....3......ชั่วโมง/สัปดาห์ 

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

- หัวหน้าสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 1           จำนวน.....6......ชั่วโมง/สัปดาห์

- รับผิดชอบงานพัสดุอาหารเสริม (นม)        จำนวน.....10....ชั่วโมง/สัปดาห์

- รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน                    จำนวน.....10....ชั่วโมง/สัปดาห์

- รับผิดชอบโครงการอ่านออกเขียนได้              จำนวน.....6......ชั่วโมง/สัปดาห์


งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง การสร้างชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด โดยใช้ เทคนิคบันได 4 ขั้น รายวิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกดแม่กง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามตัวชี้วัดที่ต้องรู้และควรรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                    ตามที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2  ให้ครูในสังกัดได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566  ดังนั้น  ข้าพเจ้า นางรุ่งทวีไชยกาญจน์  ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ  ครูผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  รับผิดชอบทำการสอนให้กับนักเรียนทั้งหมด จำนวน 28 คน  การเรียนการากการจัดกิจกรรมดังที่กล่าวมานั้นทำให้พบปัญหาส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในวิชาภาษาไทย ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจในหลายเนื้อหา หรือมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ คือร้อยละ 60 คะแนนเฉลี่ยการทดสอบประจำบทเรียนในแต่ละหน่วย   ซึ่งต้องสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรสมรรถนะที่นักเรียนต้องรู้และควรรู้ตามตัวชี้วัด  จากการนำผลตรวจแบบฝึกหัด/ใบกิจกรรม/ใบงานในเนื้อหา ที่เป็นภาระงานให้นักเรียนได้ทำการเรียนจึงสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  แสดงให้เห็นว่านักเรียน  ยังขาดความเข้าใจไม่มีความรู้พื้นฐานและความรู้ทางภาษาไทย  ข้อปัญหาที่พบ คือ นักเรียนจะไม่สามารถอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดได้ถูกต้อง  ขาดความมั่นใจในการอ่านและการเขียนที่ถูกต้อง  จึงทำให้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักเรียนขาดความสนใจในการเรียน  นักเรียนส่วนมากยังขาดทักษะในการอ่านและการเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด  ซึ่งอาจจะเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกดอย่างไม่ต่อเนื่อง จึงทำให้ขาดความคิดรวบยอดในการเรียนได้ไม่ดีเท่าที่ควร 

ดังนั้นจึงทำให้เกิดผลกระทบถึงการเรียนในเนื้อหาอื่นๆ  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไขในการฝึกทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกดให้ถูกต้อง เพื่อเป็นแนวทางในการอ่านและเขียนบรรยายเนื้อเรื่องต่อไป ในชั้นเรียนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนในเนื้อหาต่อไป ครูผู้สอนในฐานผู้รายงานจะประสบปัญหาในการสอน เรื่อง ทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดทั้ง 8 แม่ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตลอดมา นักเรียนไม่ทราบว่าคำศัพท์บางคำจะเขียนให้ถูกต้องด้วยวิธีใด และจะนำคำศัพท์มาเรียบเรียงเป็นเรื่องราวได้อย่างไรเพราะไม่เข้าใจความหมายของคำศัพท์  จึงไม่สามารถที่จะเขียนแต่งประโยคนั้นได้ถูกต้อง  และยังค้นพบว่า แนวทางในการพัฒนาความสามารถในการเขียนแต่งประโยคให้ถูกต้องได้นั้น ทำได้หลายวิธี  เช่น พัฒนาหลักสูตร ฝึกทักษะการอ่านและการเขียนและอีกวิธีหนึ่งที่สำคัญ คือ การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้หรือเทคนิคการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยที่ครูต้องปรับวิธีการสอนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นทักษะการเขียนอย่างเป็นระบบและมีเหตุผล มุ่งให้ผู้เรียนรักการเรียน รู้จักคิดวิเคราะห์ แสวงหาความรู้ และรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเองการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในชั้นเรียนได้มีความหลากหลายของสื่อการเรียนการสอนหรือนวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆที่จะกระตุ้นความสนใจของนักเรียนในการเรียนภาษาไทยได้ เช่น การใช้ เทคนิคบันได 4 ขั้น มาช่วยในการฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ของนักเรียนได้   

ซึ่งนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการพัฒนาในการเขียนของนักเรียน  ควรมีลักษณะกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ท้าทายความสามารถ  ให้เข้าใจง่ายในบทเรียนมีภาพประกอบออกแบบให้สวยงามและสามารถฝึกฝนเรียนรู้และปฏิบัติได้ด้วยตนเองอันจะส่งผลให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์ภาษาไทย และสามารถนำความรู้ไปใช้ในในการเขียนแต่งประโยคได้แบบฝึกทักษะมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนวิชาที่เป็นการฝึกทักษะมากเพราะเป็นอุปกรณ์เปรียบเสมือนผู้ช่วยครูทางอ้อม  ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกทักษะในการใช้ภาษาให้ดีขึ้น ส่งเสริมในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล  ทำให้นักเรียนมีความสุขและเรียนรู้แบบสนุก ไม่เบื่อในการเรียน  ตลอดจนนักเรียนสามารถทบทวนเนื้อหาได้ด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกทักษะการเขียนของนักเรียนได้ตามจินตนาการความชอบและมีทักษะการเขียนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                    ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแกนกลาง และหลักสูตรนักเรียนต้องรู้ (กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1)  เพื่อคัดเลือกและออกแบบหน่วยตามตัวชี้วัด สร้างและจัดทำพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะ เรื่องการอ่านและการเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ด้วยรูปแบบการสอน เทคนิคบันได 4 ขั้น เพื่อนำมาช่วยเสริมการฝึกทักษะการอ่านและการเขียนตามความเหมาะสมของนักเรียนรายบุคคล  และนำผลสะท้อนในการทำแบบฝึกเสริมทักษะบันทึกข้อมูลคะแนนในระบบสารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินการเรียนรู้  นำข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้นักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  ร้อยละ 60  มีความรู้ถึงการอ่านและการเขียนเรื่องมาตราตัวสะกดแม่กงได้ถูกต้อง  ตามตัวชี้วัดในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาภาษาไทย  ที่สูงขึ้น 

เชิงคุณภาพ 

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2  ปีงบประมาณ 2566 ( 1 ตุลาคม 2565 – 30  กันยายน 2566 ) ต้องรู้ถึงการอ่านและการเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกดได้ถูกต้อง  และมีความรู้ตามตัวชี้วัดในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านและการเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด (ตรงตามหลักสูตรแกนกลางต้องรู้และควรรู้) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2561 มีสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมทั้งเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขและสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสงคมได้อย่างมีความสุข 

ตัวชี้วัด (Indicators)

ร้อยละ 60  มีความรู้ถึงการอ่านและการเขียนเรื่องมาตราตัวสะกดแม่กงได้ถูกต้องสูงขึ้น

คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้

10000000_6335196006590897_5426813486854140190_n.mp4
369831335_6380673591982579_2019058765670679462_n.mp4

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

นางศิรภัสสร  ชุมภูเทพ

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตาก เขต 2

นางนีรชา  ทับประดิษฐ์

- ตำแหน่ง   รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- โรงเรียนป่าไม้อุทิศ  4
- สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตาก เขต 2

นางสาวสุพัฒนา  ทวีเดช

- ตำแหน่ง   รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- โรงเรียนป่าไม้อุทิศ  4
- สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตาก เขต 2

นายณฐวรรฎ  เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง   รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- โรงเรียนป่าไม้อุทิศ  4
- สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตาก เขต 2