ผู้จัดทำข้อตกลง

นางสาวพรรษา พวงสมบัติ

ตำแหน่ง  ครู    

สถานศึกษาโรงเรียนป่าไม้อุทิศ ๔

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตากเขต ๒

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน ๒๓ ชั่วโมง /สัปดาห์ 

 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ค๒๑ จำนวน ชั่วโมง/สัปดาห์

    กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ค๒๒๑๐๑ จำนวน  ๑๒ ชั่วโม/สัปดาห์

    กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ค๒๒๒๐๑ จำนวน  ชั่วโม/สัปดาห์

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  ๙  ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน        จำนวน ๒ ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมหน้าเสาธง โฮมรูม                จำนวน ๒ ชั่วโมง/สัปดาห์

- เวรประจำวัน                                   จำนวน ๒ ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชากิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี     จำนวน..๑..ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาอบรมจริยธรรม                 จำนวน..๑..ชั่วโมง/สัปดาห์

- PLC                                              จำนวน..๑..ชั่วโมง/สัปดาห์


งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน  ๔ ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มบริหารงานวิชาการ

- กรรมการกลุ่มงานวิชาการ            จำนวน...๕...ชั่วโมง/สัปดาห์

- ผู้ช่วยเลขาณุการวิชาการระดับช่วงชั้น

- กรรมการฝ่ายวัดผลและงานทะเบียน

- งาน SCHOOL Mis

- กรรมการงานประกันคุณภาพภายใน


งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง “การพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learningโดยใช้แผนสอนคิด เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ที่ถดถอยและยกระดับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๓

. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                 ในการจัดการเรียนการสอนเรื่องอัตราส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๔ โรงเรียนป่าไม้อุทิศ ๔ พบว่านักเรียนบางส่วนมีปัญหาในการแก้โจทย์ปัญหา เพราะเมื่อให้นักเรียนทำแบบทดสอบพบว่านักเรียนไม่สามารถจำหลักแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศสตร์ได้ จึงไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง

ดังที่กล่าวมานั้นทำให้พบปัญหาส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๔ ไม่ผ่านหลายตัวชี้วัดในแต่ละวิชามีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนได้กำหนดไว้คือร้อยละ๖๐ ซึ่งต้องสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่นักเรียนต้องรู้และควรรู้ตามตัวชี้วัด จากการตรวจแบบฝึกหัด/ใบกิจกรรม/ใบงานในเนื้อหา/ชิ้นงาน ที่เป็นภาระงานให้นักเรียนได้ทำการเรียน จึงสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในเนื้อหาเดิม ซึ่งข้อปัญหาที่พบ คือ  นักเรียนมีปัญหาในการเรียนรู้ที่ถดถอย นักเรียนขาดฐานความรู้ ประสบการณ์ทักษะที่ควรรู้และต้องรู้ การออกแบบการเรียนรู้รูปแบบเดิมไม่สามารถตอบสนองได้ในระยะเวลาที่จำกัด เนื่องจากขาดการออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะที่หลากหลาย การกำหนดเป้าประสงค์และเครื่องมือที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ รู้จักการคิดวิเคราะห์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ ทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุจุดประสงค์ที่คาดหวังไว้ จึงต้องแสวงหา นวัตกรรมทางการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า การ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน และสร้างองค์ความรู้

Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก  ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์  สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาพร พฤฑฒิกุล, ๒๕๕๘)

ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลกระทบถึงคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๔ ในรายวิชาคณิตศาสตร์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการพัฒนาการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ เข้ามาเพื่อช่วยปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย จากเหตุผลดังกล่าวผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนการคิด การร่วมมือ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความมุ่งมั่นในการเรียนและการทำงาน เกิดความท้าทายและสนุกกับการเรียน และจะส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดียิ่งขึ้น 

ผู้สอนจึงสนใจที่จะเพิ่มคะแนนผลสัมฤทธ์ทางการเรียนจากการพัฒนาจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิด ที่กำหนดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Do now (ขั้นนำ) Purpose (ขั้นกำหนดเป้าหมาย) Work mode (ขั้นสอน) Reflective Thinking (ขั้นสรุป) และใช้เครื่องมือสอนคิดในการวัดและประเมินผลรายวิชา คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๔




. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                 ๒.๑ วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช ๒๕๖๑) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียน ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๔ ในเรื่องของ มาตรฐานการเรียน และตัวชี้วัดของเนื้อหารายวิชาคณิตศาสตร์ 

                ๒.๒ จัดทำโครงร่างของเนื้อหาเอกสารคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ พร้อมเฉลยตัวอย่าง กิจกรรม และแบบฝึกหัด ดังนี้

                          ๑)อัตราส่วน

  ๒)สัดส่วน

๓)ร้อยละ

๔)การประยุกต์

             ๒.๓ ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วยกันออกแบบโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการสอนคิด ที่กำหนดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Do now (ขั้นนำ) Purpose (ขั้นกำหนดเป้าหมาย) Work mode (ขั้นสอน) Reflective Thinking (ขั้นสรุป) 

  ๒.๔ ครูผู้สอนนำชุดการเรียนมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนป่าไม้อุทิศ ๔

         ๒.๕ จัดกิจกรรมการเรียนรู้  โดยนำเอกสารการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๔ ภาคเรียน ที่ ๑  ปีการศึกษา ๒๕๖๖  โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท

      ๒.๖ บันทึกผลการเรียนรู้ของสรุปสารสนเทศของผู้เรียน แล้วแจ้งให้ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทราบ และได้รับการพัฒนาจนกว่าผู้เรียนจะผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน และการสอนซ่อมเสริม สำหรับใช้แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา และทำการทดสอบใหม่ จนนักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

                      ๒.๗ สอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนในการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม

. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๔ จำนวน ๓๔ คนภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ โรงเรียนป่าไม้อุทิศ ๔  มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๐  


เชิงคุณภาพ 

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๔ โรงเรียนป่าไม้อุทิศ ๔ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต ๒  ปีงบประมาณ๒๕๖๕ ( ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ – ๓๐  กันยายน ๒๕๖๖ ) มีความรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 

ตัวชี้วัด (Indicators)

ผู้เรียนร้อยละ ๗๐ มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครู อยู่ในระดับมากขึ้นไป 

แผนภูมิแสดงระดับความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครู

รายวิชาคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๔ มีจำนวนผู้เรียน ๑๒๘ คน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ๔.๕๙ อยู่ในระดับมาก

ผู้เรียนร้อยละ 60 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ ๒.๐๐ ขึ้นไ

แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ

เรียนวิชาคณิตศาสตร์    ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๕

รายวิชาคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ /๒๕๖๔ มีจำนวนผู้เรียน ๑๒๘ คน มีค่าเฉลี่ยผลการเรียนตั้งแต่ ๒.๐ ขึ้นไป ร้อยละ ๙๐

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

ดร.ศิรภัสสร ชุมภูเทพ

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุมิศ ๔
- สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตากเขต ๒

นายณฐวรรฏ เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง  รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตากเขต

นางสาวสุพัฒนา ทวีเดช

- ตำแหน่ง  รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตากเขต

นางนีรชา ทับประดิษฐ์
- ตำแหน่ง  รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตากเขต