ผู้จัดทำข้อตกลง

นางสาวจุฑารัตน์  จันทร์งิ้ว

ตำแหน่ง  ครูผู้ช่วย     วิทยฐานะ  -

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงการสอนตารางสอน 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 18 ชั่วโมง / สัปดาห์

รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.1       จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.2       จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี(เพิ่มเติม) ม.2       จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาการวร้างเว็บไซต์ ม.5/6       จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาอบรมจริยธรรม                   จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ชุมนุม                                   จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

##############################################################

แหล่งอ้างอิง : คำสั่งแต่งตั้งครูผู้สอนภาคเรียนที่ 1/2566

##############################################################

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้   

จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

การจัดทำแผนการเรียนรู้/การสร้างสื่อ/ การสร้างเครื่องมือประเมินผล

/วิจัยในชั้นเรียน        จำนวน  2  ชั่วโมง/สัปดาห์

งานที่ปรึกษาและระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียน   จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC)      จำนวน  3  ชั่วโมง/สัปดาห์

#############################################################

แหล่งอ้างอิง : คำสั่งปฏิบัติหน้าที่ตามขอบข่ายสายงานแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ประจำปีการศึกษา 2566  #############################################################

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน  30 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

- กรรมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการคณะกรรมการฝ่ายจัดงานศิลปหัตถกรรม   จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานศูนย์ ICT ของโรงเรียน                      จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการจัดทำสำมะโนนักเรียน การรับนักเรียน งานทะเบียนนักเรียน

จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการงานจัดทำข้อมูลเผยแพร่ผลงานและข่าวสาร จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ประธาน DMC                               จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการงานวิจัยและนวัตกรรม                   จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์

##############################################################

แหล่งอ้างอิง : คำสั่งปฏิบัติหน้าที่ตามขอบข่ายสายงานแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ประจำปีการศึกษา 2566

##############################################################

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครูผู้ช่วย

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย 

ประเด็นท้าทาย

เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อแก้ปัญหา
การเรียนรู้ที่ถดถอยและยกระดับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ และปัญหาของผู้เรียน

ปัจจุบันสถานการณ์โลกพลิกผันเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเกิดกระแสความปกติใหม่ (New Normal) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล ก่อให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีแบบพลิกผัน (Disruptive Technology) ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจแล้วยังส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับเทคโนโลยีดิจิทัล ในชีวิตประจำวันมากมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา โดยเฉพาะการเรียนการสอน โดยการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อผู้เรียน ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาถดถอยทาง การเรียนรู้ เนื่องจากขาดความพร้อมทางด้านทรัพยากร และคุ้นเคยกับการเป็นผู้รับความรู้จากครูอย่างเดียว ครูเน้น
การจำเนื้อหาใช้การสอนแบบบรรยาย เพราะเกรงว่าจะสอนเนื้อหาไม่ทัน ขาดแรงจูงใจในการเรียน และสาเหตุสำคัญอีกประการคือ ขาดสื่อการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ บางครั้งสื่อที่นำมาใช้การจัดการเรียนการสอนไม่สอดคล้องกับบริบทของนักเรียน เมื่อเจอปัญหาหรือสถานการณ์จะหลีกเลี่ยงหรือเจอปัญหาที่แตกต่างไปจากตัวอย่าง นักเรียนก็ไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้

จากสถานการณ์ดังที่กล่าวมานั้น ทำให้พบปัญหาที่ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ คือร้อยละ 60 ซึ่งต้องสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่นักเรียนต้องรู้และควรรู้ตามตัวชี้วัด  โดยจากการตรวจแบบฝึกทักษะ/ใบกิจกรรม/ใบงาน/ชิ้นงาน ที่เป็นภาระงานให้นักเรียนได้ปฏิบัติ จึงสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์นั้น เนื่องจากนักเรียนมีปัญหาในการเรียนรู้ที่ถดถอย นักเรียนขาดฐานความรู้ ประสบการณ์ทักษะที่ควรรู้และต้องรู้ การออกแบบการเรียนรู้รูปแบบเดิมไม่สามารถตอบสนองการเรียนการสอนในระยะเวลาที่จำกัด เนื่องจากขาดการออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะที่หลากหลาย การกำหนดเป้าประสงค์และเครื่องมือที่ชัดเจน ในการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ รู้จักการคิดวิเคราะห์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ ทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุจุดประสงค์ที่คาดหวังไว้ จึงต้องแสวงหา นวัตกรรมทางการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า การ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน และสร้างองค์ความรู้

Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์  สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาพร พฤฑฒิกุล, 2558)

ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลกระทบถึงคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย จากเหตุผลดังกล่าวผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะศึกษา เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการจัดการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ( Active Learning ) ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนการคิด การร่วมมือ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความมุ่งมั่นในการเรียนและการทำงาน เกิดความท้าทายและสนุกกับการเรียน และจะส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดียิ่งขึ้น 

ผู้สอนจึงสนใจที่จะการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอยและยกระดับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1)  ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอยและยกระดับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

3) ออกแบบโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และใช้เครื่องมือในการวัดและประเมินผล รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

4) นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้น ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน

5) บันทึกผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อมทั้งสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ และนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

6) ปรับปรุง แก้ไขปัญหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพแก่ครูผู้สอนโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ

       นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา
การออกแบบและเทคโนโลยี เพิ่มขึ้นร้อยละ 60  

เชิงคุณภาพ

       นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีงบประมาณ 2566 มีความรู้ในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

คลิปวิดีโอผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้

677484000.246587.mp4
604f0d30-4f88-4cc2-acb6-fb7ec9f8cc35.mp4
cb7aec50-45ca-455e-8391-e7ce75fd9e22.mp4

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

ดร.ศิรภัสสร  ชุมภูเทพ

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นายณฐวรรฏ  เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นางสาวสุพัฒนา ทวีเดช

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นางนีรชา  ทับประดิษฐ์

- ตำแหน่ง   รองผู้อำนวยการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2