ผู้จัดทำข้อตกลง

นางสาวอมรรัตน์  จิรนันทนุกุล

ตำแหน่ง  ครู   

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ภาคเรียนที่ 1/2566

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 25 ชั่วโมง

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาภาษาไทย              จำนวน  5 ชั่วโมง/สัปดาห์    กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาคณิตศาสตร์                  จำนวน  5 ชั่วโมง/สัปดาห์       กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาวิทยาศาสตร์(เพิ่มเติม)     จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาสังคมศึกษา                     จำนวน  2 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาประวิติศาสตร์                  จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาการป้องกันการทุจริต       จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาสุขศึกษา                          จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาศิลปศึกษา                       จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาศิลปศึกษา (เพิ่มเติม)       จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาภาษาอังกฤษ                   จำนวน  3 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาภาษาอังกฤษ(เพิ่มเติม)    จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาจริยธรรม                         จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาแนะแนว                  จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาลูกเสือ-เนตรนารี              จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายชุมรักษ์กัญชง                         จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

- การจัดทำแผนการเรียนรู้/การสร้างสื่อ/การสร้าง

    เครื่องมือประเมินผล/วิจัยชั้นเรียน                      จำนวน 2  ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานที่ปรึกษาและระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียน       จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้           จำนวน  3  ชั่วโมง/สัปดาห์


งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

จำนวน  6 ชั่วโมง/สัปดาห์


- ปฏิบัติหน้าที่งานบริหารการพัสดุ (จัดซื้อ-จัดจ้าง)    จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์ 

- ครูเวรประจำวันพฤหัสบดี                                จำนวน  2  ชั่วโมง/สัปดาห์


งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น                

-โครงการอ่านออกเขียนได้อ่านคล่องเขียนคล่อง      จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์


###############################################

คำสั่งโรงเรียนป่าไม้อุทอศ 4 ปีการศึกษา 2566

###############################################

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย

 เรื่อง  การสร้างชุดฝึกผันวรรณยุกต์อักษรกลาง โดยใช้เทคนิคทักษะบันได 4 ขั้นร่วมกับแผนการสอนคิด เพื่อยกระดับคะแนนผลสัมฤทธ์ทางการเรียน ในรายวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 


1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                  จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ซึ่งเป็นนักเรียนชนบท เป็นเด็กม้งและพม่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรไม่มีเวลาสำหรับการเรียนของนักเรียนทำให้นักเรียนที่ขาดความเอาใจใส่ในบทเรียน และไม่มีความกระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้ ขาดทักษะการอ่าน การเขียนที่ถูกต้องส่งผลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูจึงใช้แบบฝึกพัฒนาการอ่านเขียนภาษาไทย โดยใช้เทคนิคทักษะบันได 4 ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้บันไดทักษะ 4 ขั้น หมายถึง กิจกรรมการเรียนรู้ที่นำไปสู่ การอ่านออกเขียนได้ โดยชั้นที่ 1 แจกลูกสะกดคำผันเสียง ขั้นที่ 2 อ่านคำ ทบทวน ขั้นที่ 3 คัด ลายมือ และขั้นที่ 4 เขียนตามคำบอกร่วมกับแผนการสอนคิด ในการวัดและประเมินผลวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ปัญหาที่พบคือ

แบบเรียนภาษาไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น เป็นแบบเรียนที่มุ่งสอนให้นักเรียนอ่านคำและเนื้อเรื่อง โดย

ไม่ได้เริ่มจากการเรียนรู้ตัวอักษรและไม่ให้ความสำคัญกับการสอนอ่านพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และการประสมคำ ส่งผลให้นักเรียนจดจำพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ การอ่านเขียนประสมคำไม่ได้ เพราะไม่ได้เริ่มต้นเรียนอ่านเขียนอย่างเป็นระบบแต่เรียนโดยอ่านคำจากเนื้อเรื่องที่พบเห็นบ่อยๆ โดยการจำรูปคำได้ นอกจากนั้นยังสอนเฉพาะพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ที่มีในบทเรียนเท่านั้น ทำให้นักเรียนรู้จักอักษรไม่ครบทุกตัว และไม่สามารถอ่านคำที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนได้ดี การสอนอ่านดังกล่าวทำให้นักเรียนไม่รู้กระบวนการอ่านเขียนภาษาไทยอย่างถูกต้อง และเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้นักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เป็นจำนวนมาก การไม่ออกเสียงในเสียงที่ต้องการเช่น การไม่อ่านออกเสียงพยัญชนะท้าย การออกเสียง ร เรือ และเสียงควบกล้ำและอีกลักษณะคือ การแทนที่ของเสียง เช่น การสับสนเสียงอักษร สูง-อักษรต่ำ การสับสนพยัญชนะ ร-ล การสับสนพยัญชนะเสียงเดียวกันแต่รูปต่างกัน การสับสนพยัญชนะที่มีรูปร่างคล้ายกัน การใช้ตัวสะกดผิดมาตรา การละตัวสะกด การเพิ่มตัวสะกด การซ้ำตัวสะกด ในด้านการเขียนวรรณยุกต์ เช่น การไม่ใส่รูปวรรณยุกต์ การใส่รูปวรรณยุกต์ผิด การเพิ่มรูปวรรณยุกต์ ส่วนในด้านสระ พบปัญหาการสับสนระหว่างสระเสียงสั้น-ยาว การสับสนสระเปลี่ยนรูป-ลดรูป และสระประสม ที่มีส่วนประกอบของรูปสระหลายส่วน ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันและมีความยากต่อการจดจำนอกจากนั้นยังเกิดจากความไม่แม่นยำในการออกเสียงหรือความเคยชินในการออกเสียงแบบผิดๆ ครูผู้สอนจึงทำแบบฝึกทักษะการอ่านเขียนเรื่องการผันวรรณยุกต์อักษรกลาง เพื่อมุ่งหวังให้นักเรียนรู้จักพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด ซึ่งเป็นพื้นฐานเริ่มต้นที่สำคัญในการสอนให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ ภายใน 1 ปีงบประมาณ ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ อันจะนำไปสู่การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตทางด้านการศึกษาแก่นักเรียน


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                    1. ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนชุมพลโพนพิสัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560 เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่จะนำมาพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
=> เอกสารข้อ 1 เพิ่มเติม

                    2. ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ทฤษฎีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning) และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
=> เอกสารข้อ 2 เพิ่มเติม

                    3. วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลเพื่อจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างของผู้เรียน
=> เอกสารข้อ 3 เพิ่มเติม

                    4. จัดทำหน่วยการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอน และแบบทดสอบทักษะความคิดสร้างสรรค์
=> เอกสารข้อ 4 เพิ่มเติม

                    5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเทคนิคการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีขั้นตอน ดังนี้

                  5.1 ทดสอบทักษะความคิดสร้างสรรค์ ก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
=> เอกสารข้อ 5.1 เพิ่มเติม

                  5.2 จัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน

                            ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ  เป็นการกระตุ้นเชิงบวกที่ส่งผลให้ผู้เรียนสนใจ อยากเรียน อยากรู้อยากค้นหาคำตอบ และตื่นตัวในการค้นหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น การนำปัญหาที่ผู้เรียนสนใจมาตั้งเป็นหัวข้อ ให้ค้นคว้า หรือใช้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน หรือสิ่งที่ผู้เรียนสนใจเป็นตัวกระตุ้น ด้วยวิธีนี้เด็กจะ ไม่ได้เรียนเพื่อสอบ แต่เรียนเพื่อรู้ และความรู้ที่เด็กค้นหาก็สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้จริง กระตุ้นการเรียนด้วย สื่อ คลิป วิดีโอเกม เป็นตัวเลือกที่ดีมากในการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เพราะเด็กได้ฝึกทักษะการสื่อสาร ด้านปฏิสัมพันธ์  การทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักแพ้ ชนะ และรู้จักปรับปรุงแก้ไขตนเองมากกว่าการคิดเอาชนะ อย่างเดียว

                            ขั้นที่ 2 ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่ม  เนื้อหาที่สอนมีประโยชน์อะไร หรือจะนำไปใช้งานเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงอย่างไร การนำปัญหาในชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง เช่น อ่านออกเสียงผิดจะทำให้ความหมายผิดตามไปด้วยหรือไม่

                            ขั้นที่ 3 ค้นคว้าและคิด  หนึ่งในบริบทของ CBL คือการให้ความสมัครใจ ความสนใจ และความร่วมมือกันของเด็ก ดังนั้นการแบ่งกลุ่มเพื่อค้นและคิดจึงให้แบ่งตามความสนใจ ซึ่งจะทำให้เด็กร่วมกันค้นคว้าในเรื่องที่ตนสนใจ เป็นการค้นหาด้วยความ “อยากรู้” ครูตั้งปัญหาให้แต่ละกลุ่มค้นคว้าเรื่องที่แตกต่างกัน เพราะจะทำให้เด็กได้ความรู้ นอกเหนือจากเรื่องที่ตนค้นหามาเอง และไม่เบื่อที่จะฟังกลุ่มอื่นนำเสนอ

                            ขั้นที่ 4 นำเสนอ  หลังจากที่ได้ค้นคว้าหาข้อมูลและร่วมกันคิดหาข้อสรุปแล้ว ผู้เรียนจะออกมานำเสนอผลงานทีละกลุ่ม ยิ่งผู้เรียนมีโอกาสนำเสนอบ่อย ๆ ก็ยิ่งเพิ่มพูนทักษะการนำเสนอส่วนสมาชิกในกลุ่มก็เกิดทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการค้นคว้า และทักษะการคิด ครูส่งเสริมทักษะต่าง ๆ โดยสนับสนุนและเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถตามความถนัดให้กับผู้เรียน เช่น นำเสนอด้วย PowerPoint

พูดคนเดียว อภิปรายกลุ่มหรือนำเสนอเป็นโปสเตอร์แชร์ลง Facebook แชร์ลงเพจ หรือนำเสนอทางโซเชียลมีเดีย ครูกำหนดกติกาของห้องเรียน เช่น ต้องฟังเวลาเพื่อนนำเสนอครูอาจใช้วิธีถามผู้เรียนกลุ่มอื่น ๆ ทันที่หลังจากจบการนำเสนอหรือให้ผู้เรียนต่างกลุ่มถามคำถาม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ตั้งใจฟัง ควรให้เวลากับการถามตอบ เพราะเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้นำเสนอและผู้ฟัง ได้ทบทวนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นำเสนอครูช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไขได้

                            ขั้นที่ 5 ประเมินผล  การประเมินผลจึงจำเป็นต้องทำให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้านได้แก่ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attributes) และควรแยกแสดงผลแต่ละด้าน โดยไม่นำมาร่วมกัน เพื่อให้ผู้เรียนใช้ผลการประเมินไปพัฒนาตนเอง
=> เอกสารข้อ 5.2 เพิ่มเติม

                  5.3 ทดสอบทักษะความคิดสร้างสรรค์ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
=> เอกสารข้อ 5.3 เพิ่มเติม

                    6. ให้ผู้เรียนทำแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนวิชาเทคโนโลยี ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
=> เอกสารข้อ 6 เพิ่มเติม

                    7. รวบรวมข้อมูลของแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำมา วิเคราะห์และปรับปรุงแก้ไขในประเด็นต่าง ๆ
=> เอกสารข้อ 7 เพิ่มเติม

                    8. นำผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มสาระฯ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและหาแนวทางการพัฒนา
=> เอกสารข้อ 8 เพิ่มเติม

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  ร้อยละ 60  มีความรู้ถึงการผันวรรณยุกต์อักษรกลางได้ถูกต้อง  ตามตัวชี้วัดในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาภาษาไทย  ที่สูงขึ้น





เชิงคุณภาพ 

 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2  ปีงบประมาณ 2566 ( 1 ตุลาคม 2565 – 30  กันยายน 2566 ) ต้องรู้ถึงการผันวรรณยุกต์อักษรกลาง ถูกต้อง  และมีความรู้ตามตัวชี้วัดในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการผันวรรณยุกต์อักษรกลาง (ตรงตามหลักสูตรแกนกลางต้องรู้และควรรู้) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2561 มีสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมทั้งเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขและสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสงคมได้อย่างมีความสุข

ตัวชี้วัด (Indicators)

ผู้เรียนร้อยละ 70 มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครู อยู่ในระดับมากขึ้นไป 


                                       ผู้เรียนร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ตั้งแต่ 2.00 ขึ้น

                                                          รายวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 1/2566 มีจำนวนผู้เรียน 28 คน 

คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

ดร.ศิรภัสสร  ชุมภูเทพ

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ

- วิทยฐานะ  ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

 - ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นายณฐวรรฏ  เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ

- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการ    ชำนาญการ

 - รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นางสาวสุพัฒนา  ทวีเดช

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ

- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการ    ชำนาญการ

- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นางนีรชา  ทับประดิษฐ์

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ 

- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการ    ชำนาญการ

 - รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2