ผู้จัดทำข้อตกลง

นางสาวนัทธ์หทัย เสมบาง

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

วันเดือนปีเกิด วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2535

ปัจจุบันอายุ 30 ปี

ตำแหน่งเลขที่ 2111

คุณวุฒิทางการศึกษา

วุฒิปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) วิชาเอกคณิตศาสตร์

จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

วุฒิปริญญาโท ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.) วิชาเอก การบริหารการศึกษา จากวิทยาลัยนอร์เทิร์น

สัญชาติ ไทย

เชื้อชาติ ไทย

ศาสนา พุทธ

เริ่มรับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วย เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ Num_phuengsweet_jung@hotmail.com

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

VTR ประเมินเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะ ครูชำนาญการ ของนางสาวนัทธ์หทัย เสมบาง

VTR ครูชำนาญการ.mp4

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 20 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

- รายวิชา ค 16101 คณิตศาสตร์ จำนวน 16 ชั่วโมง / สัปดาห์

- รายวิชา ค 23202 คณิตศาสตร์เพิ่มเติม จำนวน 2 คาบ / สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- รายวิชา ก 16901 ลูกเสือและเนตรนารี จำนวน 1 ชั่วโมง / สัปดาห์

- รายวิชา ก 16903 อบรมคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 1 ชั่วโมง / สัปดาห์

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การจัดทำแผนการเรียนรู้ การสร้างสื่อการสร้างเครื่องมือ ประเมินผล วิจัยในชั้นเรียน จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานที่ปรึกษาและระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการและเลขานุการกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์


ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 22 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

- รายวิชา ค 16101 คณิตศาสตร์ จำนวน 12 ชั่วโมง / สัปดาห์

- รายวิชา ค 22201 คณิตศาสตร์เพิ่มเติม จำนวน 2 คาบ / สัปดาห์

- รายวิชา ค 23201 คณิตศาสตร์เพิ่มเติม จำนวน 6 คาบ / สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- รายวิชา ก 16901 ลูกเสือและเนตรนารี จำนวน 1 ชั่วโมง / สัปดาห์

- รายวิชา ก 16903 อบรมคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 1 ชั่วโมง / สัปดาห์

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การจัดทำแผนการเรียนรู้ การสร้างสื่อการสร้างเครื่องมือ ประเมินผล วิจัยในชั้นเรียน จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานที่ปรึกษาและระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน
12 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการและเลขานุการกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการฝ่ายวัดผล จำนวน 4 ชั่วโมง/ สัปดาห์

- กรรมการงานพัฒนาระบบ Schoolmis/GPA จำนวน 4 ชั่วโมง/ สัปดาห์

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิด เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอยและยกระดับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

แรกเริ่มเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( Covid-19 ) ครั้งแรก โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 รับมือโดยการปิดโรงเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาติดเชื้อ พร้อมกับปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนใหม่ จากที่เรียน On-site ในห้องเรียน มาเป็นการจัดเรียน 4 On คือ Online, On-Demand ,On -Hand และ On-Air ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จึงได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้ในลักษณะ Block course และแบบบูรณาการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังเกิดปัญหาที่สะสมจากการจัดการเรียนการสอนในช่วงการระบาดของ โควิด-19 ส่งผลให้ผู้เรียนมีภาวะการเรียนรู้ถดถอย ซึ่งภาวะการเรียนรู้ถดถอยในแต่ละชั้นปีและพื้นที่มีภาวะการเรียนรู้ถดถอยที่แตกต่างกัน

ดังที่กล่าวมานั้นทำให้พบปัญหาส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไม่ผ่านหลายตัวชี้วัดในแต่ละวิชา มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ คือร้อยละ 65 ซึ่งต้องสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่นักเรียนต้องรู้และควรรู้ตามตัวชี้วัดจากการตรวจแบบฝึกหัด/ใบกิจกรรม/ใบงานในเนื้อหา/ชิ้นงาน ที่เป็นภาระงานให้นักเรียนได้ทำการเรียน จึงสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในเนื้อหาเดิมช่วงสถานการณ์โควิด ซึ่งข้อปัญหาที่พบ คือ นักเรียนมีปัญหาในการเรียนรู้ที่ถดถอย นักเรียนขาดฐานความรู้ ประสบการณ์ทักษะที่ควรรู้และต้องรู้ การออกแบบการเรียนรู้รูปแบบเดิมไม่สามารถตอบสนองได้ในระยะเวลาที่จำกัด เนื่องจากขาดการออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะที่หลากหลาย การกำหนดเป้าประสงค์และเครื่องมือที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ รู้จักการคิดวิเคราะห์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ ทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุจุดประสงค์ที่คาดหวังไว้ จึงต้องแสวงหา นวัตกรรมทางการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน และสร้างองค์ความรู้

Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาพร พฤฑฒิกุล, 2558)

ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลกระทบถึงคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในรายวิชาคณิตศาสตร์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการพัฒนาการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ เข้ามาเพื่อช่วยปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย จากเหตุผลดังกล่าวผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนการคิด การร่วมมือ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความมุ่งมั่นในการเรียนและการทำงาน เกิดความท้าทายและสนุกกับการเรียน และจะส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดียิ่งขึ้น

ผู้สอนจึงสนใจที่จะเพิ่มคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการพัฒนาจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิด ที่กำหนดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Do now (ขั้นนำ) Purpose (ขั้นกำหนดเป้าหมาย) Work mode (ขั้นสอน) Reflective Thinking (ขั้นสรุป) และใช้เครื่องมือสอนคิดในการวัดและประเมินผลรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2564 ในเรื่องของ มาตรฐานการเรียน และตัวชี้วัด ของเนื้อหา

2.2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิด เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอยและยกระดับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2.3 ออกแบบโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการสอนคิด ที่กำหนดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Do now (ขั้นนำ) Purpose (ขั้นกำหนดเป้าหมาย) Work mode (ขั้นสอน) Reflective Thinking (ขั้นสรุป) และใช้เครื่องมือสอนคิดในการวัดและประเมินผลรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

2.4 ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ในเนื้อหา การเฉลยของตัวอย่าง พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไข

2.5 ครูผู้สอนนำแผนการสอนคิด มาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

2.6 นำแผนการสอนคิด ที่จัดทำขึ้นไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทที่สอน

2.7 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ และนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาผลการเรียนรู้ให้นักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

2.8 ปรับปรุงหรือพัฒนาแผนการสอนคิดและสื่อการเรียนรู้ให้มีคุณภาพมากขึ้นตามผลการสะท้อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และผลการประเมินผลสัมฤทธิ์หลังเรียน

2.9 เมื่อประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหา นำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพแก่ครูผู้สอนโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

เชิงปริมาณ

นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 108 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ4 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 65

เชิงคุณภาพ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ปีงบประมาณ 2565 ( 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565 ) มีความรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ และมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบรู้จักการคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาและการคิดเชิงสร้างสรรค์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้

การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว_0001.wmv

การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

การแก้โจทย์ปัญหาอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว.นัทธ์หทัย เสมบาง.mp4

การแก้โจทย์ปัญหาอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

นางศิรภัสสร ชุมภูเทพ

- ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ
ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
- ผู้อำนวยการ
โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาตาก เขต 2

นายณฐวรรฏ เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ
รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นางสาวสุพัฒนา ทวีเดช

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นางนีรชา ทับประดิษฐ์

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2