ผู้จัดทำข้อตกลง

นางสาวนิศารัตน์ แซ่ซ้ง

ตำแหน่ง ครู

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

ได้รับเงินเดือนในอันดับ คศ.1 อัตราเงินเดือน 21,960 บาท

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 23 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

- รายวิชาภาษาไทย 3 จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาภาษาไทย 5 จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาการแต่งคำประพันธ์ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์


กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- รายวิชาคลินิกวิชาการ ม.6/2 จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาคลินิกวิชาการ ม.6/6 จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมชุมนุม จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

- อบรมจริยธรรม จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

- PLC จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การจัดทำแผนการเรียนรู้ การสร้างสื่อ

การสร้างเครื่องมือ ประเมินผล วิจัยในชั้นเรียน จำนวน..2..ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานที่ปรึกษาและระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียน จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ จำนวน .1..ชั่วโมง/สัปดาห์


งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน 32 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป

- ประธานกรรมการโครงการห้องสมุด จำนวน...6...ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการดำเนินการประเมินการอ่าน คิด

วิเคราะห์และเขียนสื่อความของสถานศึกษา จำนวน...4...ชั่วโมง/สัปดาห์

- ประธานกรรมการงานด้านธุรการ จำนวน..6..ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการงานคณะกรรมการสถานศึกษา

ประชุมผู้ปกครอง จำนวน...4...ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการและเลขานุการงานบริหารงบประมาณ

และการเงินพัสดุ จำนวน..2..ชั่วโมง/สัปดาห์

- ประธานกรรมการงานธุรการ สารบรรณและ

งานเลขานุการผู้บริหาร จำนวน..6..ชั่วโมง/สัปดาห์

####################################################
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่งานตามสายงานบริหารราชการโรงเรียน ประจําปีการศึกษา 2564

####################################################

งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

- อิงดอยป่าไม้คาเฟ่ จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์

####################################################
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่งานตามสายงานบริหารราชการโรงเรียน ประจําปีการศึกษา 2564

####################################################

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
วิชาเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

ในศตวรรษที่ 21 นี้หลายประเทศให้ความสำคัญในการพัฒนาคนในชาติของตนเอง เพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจะเห็นว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ คือ “ศักยภาพของระบบการศึกษาเพื่อการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของเศรษฐกิจในยุคนี้ ระบบการศึกษาต้องพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมโดยการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การคิดเชิงวิพากษ์และแก้ปัญหา การสื่อสารและการร่วมมือกันทำงาน ซึ่งเป็นทักษะเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและสร้างสรรค์ (วัชรา เล่าเรียนดีและคณะ. 2560 : 15) ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการคิดในระดับสูง โดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์ เพราะความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตและสังคม กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ นำมาเป็นส่วนหนึ่งของจุดเน้นของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เพราะเด็กและเยาวชนที่มีความคิดสร้างสรรค์จะกลายเป็นบุคลากรที่จะช่วยนำประเทศไปสู่เป้าหมายที่เราคาดหวังได้ (สังวร งัดกระโทก. 2561 : หน้า 32)

ความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้ชีวิตมนุษย์เกิดความสมบูรณ์และเจริญก้าวหน้ามากขึ้นในทุกด้าน ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ประเทศชาติ และสังคมโลก เพราะความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่การค้นพบสิ่งใหม่ ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาและแก้ไขปัญหาซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพราะการแก้ปัญหาด้วยวิธีการเดิมๆ มักจะใช้ไม่ได้ผล ความคิดสร้างสรรค์จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญและชี้ชัดว่าความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมยุคนี้ขึ้นอยู่กับการที่คนในองค์กรมีความคิดสร้างสรรค์ เพราะความคิดสร้างสรรค์เป็นต้นกำเนิดของนวัตกรรม และนวัตกรรมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสภาพการดำรงชีวิตของ มนุษย์ (สุคนธ์ สินธพานนท์และคณะ. 2562 : 216)

จากการศึกษาข้อมูลดังกล่าว ผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน วิชาเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1. ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนชุมพลโพนพิสัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560 เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่จะนำมาพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
=> เอกสารข้อ 1 เพิ่มเติม

2. ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ทฤษฎีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning) และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
=> เอกสารข้อ 2 เพิ่มเติม

3. วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลเพื่อจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างของผู้เรียน
=> เอกสารข้อ 3 เพิ่มเติม

4. จัดทำหน่วยการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอน และแบบทดสอบทักษะความคิดสร้างสรรค์
=> เอกสารข้อ 4 เพิ่มเติม

5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเทคนิคการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีขั้นตอน ดังนี้

5.1 ทดสอบทักษะความคิดสร้างสรรค์ ก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
=> เอกสารข้อ 5.1 เพิ่มเติม

5.2 จัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน

ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ เป็นการกระตุ้นเชิงบวกที่ส่งผลให้ผู้เรียนสนใจ อยากเรียน อยากรู้อยากค้นหาคำตอบ และตื่นตัวในการค้นหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น การนำปัญหาที่ผู้เรียนสนใจมาตั้งเป็นหัวข้อ ให้ค้นคว้า หรือใช้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน หรือสิ่งที่ผู้เรียนสนใจเป็นตัวกระตุ้น ด้วยวิธีนี้เด็กจะ ไม่ได้เรียนเพื่อสอบ แต่เรียนเพื่อรู้ และความรู้ที่เด็กค้นหาก็สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้จริง กระตุ้นการเรียนด้วย สื่อ คลิป วิดีโอเกม เป็นตัวเลือกที่ดีมากในการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เพราะเด็กได้ฝึกทักษะการสื่อสาร ด้านปฏิสัมพันธ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักแพ้ ชนะ และรู้จักปรับปรุงแก้ไขตนเองมากกว่าการคิดเอาชนะ อย่างเดียว

ขั้นที่ 2 ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่ม เนื้อหาที่สอนมีประโยชน์อะไร หรือจะนำไปใช้งานเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงอย่างไร การนำปัญหาในชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง เช่น อ่านออกเสียงผิดจะทำให้ความหมายผิดตามไปด้วยหรือไม่

ขั้นที่ 3 ค้นคว้าและคิด หนึ่งในบริบทของ CBL คือการให้ความสมัครใจ ความสนใจ และความร่วมมือกันของเด็ก ดังนั้นการแบ่งกลุ่มเพื่อค้นและคิดจึงให้แบ่งตามความสนใจ ซึ่งจะทำให้เด็กร่วมกันค้นคว้าในเรื่องที่ตนสนใจ เป็นการค้นหาด้วยความ “อยากรู้” ครูตั้งปัญหาให้แต่ละกลุ่มค้นคว้าเรื่องที่แตกต่างกัน เพราะจะทำให้เด็กได้ความรู้ นอกเหนือจากเรื่องที่ตนค้นหามาเอง และไม่เบื่อที่จะฟังกลุ่มอื่นนำเสนอ

ขั้นที่ 4 นำเสนอ หลังจากที่ได้ค้นคว้าหาข้อมูลและร่วมกันคิดหาข้อสรุปแล้ว ผู้เรียนจะออกมานำเสนอผลงานทีละกลุ่ม ยิ่งผู้เรียนมีโอกาสนำเสนอบ่อย ๆ ก็ยิ่งเพิ่มพูนทักษะการนำเสนอส่วนสมาชิกในกลุ่มก็เกิดทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการค้นคว้า และทักษะการคิด ครูส่งเสริมทักษะต่าง ๆ โดยสนับสนุนและเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถตามความถนัดให้กับผู้เรียน เช่น นำเสนอด้วย PowerPoint

พูดคนเดียว อภิปรายกลุ่มหรือนำเสนอเป็นโปสเตอร์แชร์ลง Facebook แชร์ลงเพจ หรือนำเสนอทางโซเชียลมีเดีย ครูกำหนดกติกาของห้องเรียน เช่น ต้องฟังเวลาเพื่อนนำเสนอครูอาจใช้วิธีถามผู้เรียนกลุ่มอื่น ๆ ทันที่หลังจากจบการนำเสนอหรือให้ผู้เรียนต่างกลุ่มถามคำถาม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ตั้งใจฟัง ควรให้เวลากับการถามตอบ เพราะเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้นำเสนอและผู้ฟัง ได้ทบทวนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นำเสนอครูช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไขได้

ขั้นที่ 5 ประเมินผล การประเมินผลจึงจำเป็นต้องทำให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้านได้แก่ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attributes) และควรแยกแสดงผลแต่ละด้าน โดยไม่นำมาร่วมกัน เพื่อให้ผู้เรียนใช้ผลการประเมินไปพัฒนาตนเอง
=> เอกสารข้อ 5.2 เพิ่มเติม

5.3 ทดสอบทักษะความคิดสร้างสรรค์ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
=> เอกสารข้อ 5.3 เพิ่มเติม

6. ให้ผู้เรียนทำแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนวิชาเทคโนโลยี ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
=> เอกสารข้อ 6 เพิ่มเติม

7. รวบรวมข้อมูลของแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำมา วิเคราะห์และปรับปรุงแก้ไขในประเด็นต่าง ๆ
=> เอกสารข้อ 7 เพิ่มเติม

8. นำผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มสาระฯ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและหาแนวทางการพัฒนา
=> เอกสารข้อ 8 เพิ่มเติม

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

เชิงปริมาณ

ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 70 มีทักษะความคิดสร้างสรรค์ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากขึ้นไป

เชิงคุณภาพ

ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีทักษะความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาเทคโนโลยี ในระดับดี

ตัวชี้วัด (Indicators)

ผู้เรียนร้อยละ 70 มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครู อยู่ในระดับมากขึ้นไป

แผนภูมิแสดงระดับความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครู

รายวิชาเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 2/2564 มีจำนวนผู้เรียน 304 คน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 4.59 อยู่ในระดับมาก

ผู้เรียนร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยี ตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป

แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยี

ภาคเรียนที่ 2/2564

รายวิชาเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 2/2564 มีจำนวนผู้เรียน 304 คน มีค่าเฉลี่ยผลการเรียนตั้งแต่ 2.0 ขึ้นไป ร้อยละ 94.1

คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

ดร.พิพัฒน์ ศรีสุขพันธ์

- ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมพลโพนพิสัย
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย

ดร.ปาริชาติ เภสัชชา

- ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์
- วิทยฐานะ ศึกษานิเทศเชี่ยวชาญ
- ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2

ผอ.รมยกร วรรณสวาท

- ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคล
- ระดับ ชำนาญการพิเศษ
- กลุ่มบริหารงานบุคคล
-
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี

คุณครูปาจรีย์ นาระกุล

- ตำแหน่ง ครู
- วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
- โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
-
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี