ผู้จัดทำข้อตกลง

นายชาญ  แซ่ม้า

ตำแหน่ง  ครู     วิทยฐานะ  ครูชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2  

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 24 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

- รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค33102           จำนวน 12 ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ค33202 จำนวน 8 ชั่วโมง/สัปดาห์

-รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ค21201 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาการป้องกันการทุจริต จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์


กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- อบรมจริยธรรม                              จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ชุมนุม                                               จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

####################################################

คำสั่งแต่งตั้งครูเข้าสอนภาคเรียนที่ 1/2566

####################################################

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน                  จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมหน้าเสาธง โฮมรูม                          จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- เวรประจำวัน                                            จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

####################################################

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเยี่ยมบ้าน ปีการศึกษา 2566

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา ภาคเรียนที่ 1/2566

คำสั่งแต่งตั้งครูเวรประจำวัน ภาคเรียนที่ 1/2566

####################################################

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน  10 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มงานบริหารงานวิชาการ

- หัวหน้างานทะเบียนวัดผล                      จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

####################################################
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่งานตามสายงานบริหารราชการโรงเรียน ประจําปีการศึกษา 2566

####################################################

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง การพัฒนาผลการเรียนเรื่องลำดับและอนุกรมโดยใ่ช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ 3 in 1

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                    จากผลการจัดการเรียนการสอนเรื่องเรื่องลำดับและอนุกรม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ซึ่งมีผลการเรียนอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเมื่อครูผู้สอนได้มีการวิเคราะห์และทบทวนเพื่อหาสาเหตุ ที่ทำให้นักเรียนมีผลการเรียนอยู่ในระดับต่ำ โดยการสอบถามนักเรียนถึงปัญหาที่ทำให้นักเรียนทำแบบทดสอบไม่ได้ โดยเน้นคำถามอยู่ 3 ประเด็นคือ 1. เรื่องที่ออกแบบทดสอบได้เรียนหรือไม่ 2. ขณะเรียนเข้าใจหรือไม่ 3. ได้ทำแบบฝึกหัดหรือมีตัวอย่างลักษณะเดียวกับแบบทดสอบหรือไม่ 4. นักเรียนทำแบบทดสอบได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ซี่งคำตอบที่ได้จากนักเรียนคือ นักเรียนได้เรียนรู้แล้ว มีความเข้าใจในขณะเรียน ได้มีการทำแบบฝึกหัดและศึกษาตัวอย่างลักษณะเดียวกับแบบทดสอบแล้ว แต่ทำแบบทดสอบไม่ได้ สาเหตุเพราะนักเรียนลืม จำไม่ได้ ดังนั้นผู้สอนจึงได้วิเคราะห์และเห็นว่าปัญหาจากการเรียนการสอนที่ทำให้นักเรียนมีผลการเรียนต่ำ คือ นักเรียนจำสิ่งที่เรียนไม่ได้ ดังนั้นครูผู้สอนจึงได้คิดหาวิธีเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้การจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนแบบ 3 in 1 

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                2.1 วิเคราะห์ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องลำดับเลขและอนุกรม ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2563

            2.2  เขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องลำดับและอนุกรม ตามเนื้อหาที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้  โดยเน้นกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 3 in 1 คือมีการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการค้นพบองค์ความรู้เป็นขั้นตอนที่ 1  มีการยกอย่างโจทย์เป็นขั้นตอนที่ 2 และให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกหัดที่มีโจทย์ลักษณะเดียวกับตัวอย่างเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ซ้ำๆ เป็นขั้นตอนที่ 3           

2.3  สร้างสื่อการเรียนรู้(ใบงาน)ให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 3 in 1 โดยเป็นสื่อที่ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ซ้ำๆ

           2.4  ประเมินผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนเรื่องลำดับและอนุกรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน

           2.5  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น 

           2.6  ประเมินผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเรื่องลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ด้วยแบบทดสอบหลังเรียน 

           2.7 ปรับปรุงหรือพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ให้มีคุณภาพมากขึ้นตามผลการสะท้อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  และผลการประเมินผลสัมฤทธิ์หลังเรียน


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจำนวนร้อยละ 70 ขึ้นไปจากจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่ได้เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 3 in 1  

เชิงคุณภาพ 

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม อยู่ในระดับดี


ตัวชี้วัด (Indicators)

ผู้เรียนร้อยละ 70 มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครู อยู่ในระดับมากขึ้นไป 

ผู้เรียนร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป

รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ภาคเรียนที่ 2/2565 มีจำนวนผู้เรียน 72 คน มีค่าเฉลี่ยผลการเรียนตั้งแต่ 2.0 ขึ้นไป ร้อยละ 79.17

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

ดร.ศิรภัสสร  ชุมภูเทพ

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต2

นายณฐวรรฏ  เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง   รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 

นางสาวสุพัฒนา  ทวีเดช

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 

นางนีรชา  ทับประดิษฐ์

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 




นายแลกดี  ฉายานามชัย

ครู โรงเรียนป่าไม้อุทิศ4 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต2