ข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566)

ผู้จัดทำข้อตกลง

นางอัญชลี ธำรงรัฐกุล

ตำแหน่ง  ครู    วิทยะฐานะ ชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตากเขต 2

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 19 ชั่วโมง 60 นาที/สัปดาห์ 

   กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาสังคมศึกษา ป.5/1               จำนวน  2  ชั่วโมง/สัปดาห์

    กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาสังคมศึกษา ป.5/2              จำนวน  2  ชั่วโมง/สัปดาห์

    กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาสังคมศึกษา ป.5/3             จำนวน  2  ชั่วโมง/สัปดาห์

    กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาสังคมศึกษา ป.5/4               จำนวน  2  ชั่วโมง/สัปดาห์

    กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาประวัติศาสตร์ ป.5/1   จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

    กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาประวัติศาสตร์ ป.5/2   จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

    กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาประวัติศาสตร์ ป.5/3     จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

    กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาประวัติศาสตร์ ป.5/4     จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

    รายวิชาการป้องกันการทุจริต ป. 5/1                           จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

    รายวิชาการป้องกันการทุจริต ป. 5/2                    จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

    รายวิชาการป้องกันการทุจริต ป. 5/3                    จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

    รายวิชาการป้องกันการทุจริต ป. 5/4                    จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

    กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาชุมนุม                          จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

     กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาลูกเสือ-เนตรนารี          จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

             กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาจริยธรรม                   จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์ 



งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  7  ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC)    จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การจัดทำแผนการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาสื่อการสอน วิจัยในชั้นเรียน                                                                      จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานที่ปรึกษา งานระบบดูแลนักเรียน เยี่ยมบ้าน กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม                                                    จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา                                    - หัวหน้างานกิจกรรมโรงเรียนธนาคาร                    จำนวน  6 ชั่วโมง/สัปดาห์

งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น                                                       

- งานโรงเรียนธนาคารป่าไม้อุทิศ 4          จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานสภานักเรียน                                          จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการงานกิจการนักเรียน-วันสำคัญ                  จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน-สภานักเรียน 

                                                                  จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์       


งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
ประเด็นท้าทาย  เรื่อง  การใช้แผนสอนคิดเพื่อพัฒนาทักษะ เรื่อง พระรัตนตรัย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม



1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                   สภาพปัญหาปัจจุบันพบว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนานั้นครูส่วนใหญ่   จะใช้วิธีสอนแบบบรรยายอย่างเดียว ไม่เห็นความสำคัญกับนักเรียนญของการใช้สื่อ ผู้เรียนเห็นความสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาน้อย เพราะคิดว่า เป็นวิชาที่น่าเบื่อในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ทำให้ผู้เรียนไม่มีแรงจูงใจในการเรียน ซึ่งวิชาพระพุทธศาสนามีเนื้อหาเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิตประจำวันในเรื่องหลักธรรมต่างๆ และเป็นการปลูกฝังคุณธรรม – จริยธรรมให้กับนักเรียนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามสถานศึกษาและท้องถิ่น  ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566  ดังนั้น  ข้าพเจ้า นางอัญชลี ธำรงรัฐกุล  ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ  ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  รับผิดชอบทำการสอนให้กับนักเรียนทั้งหมด จำนวน 33  คน จากการจัดกิจกรรมดังที่กล่าวมานั้นทำให้พบปัญหาส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในวิชาสังคมศึกษา ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจในหลายเนื้อหา หรือมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ คือร้อยละ 70  ซึ่งต้องสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรสมรรถนะที่นักเรียนต้องรู้และควรรู้ตามตัวชี้วัด  จากการนำผลตรวจแบบฝึกหัด/ใบกิจกรรม/ใบงานในเนื้อหา ที่เป็นภาระงาน ดังนั้นจึงทำให้เกิดผลกระทบถึงการเรียนในเนื้อหาอื่นๆ  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไข จากการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้การสอนวิชาพระพุทธศาสนา ครูขาดสื่อที่ทันสมัย นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายในเนื้อหาวิชาพระพุทธศาสนา นักเรียนขาดจิตสำนึกในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในตนเอง จากปัญหาจึงได้นำปัญหาดังกล่าวมานำเสนอในกลุ่ม PLC เพื่อพัฒนาส่งเสริมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติ จึงพัฒนาฝึกทักษะ เรื่อง พระรัตนตรัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5 เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์พัฒนาคุณลักษณะที่ดีแก่ผู้เรียน เห็นคุณค่าและนำหลักธรรมไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกเหมาะสมอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และเพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ในรายวิชาพระพุทธศาสนาสูงขึ้น



2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

           1)  ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแกนกลางทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง) กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จัดทำคำอธิบายรายวิชา  โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิด เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอยและยกระดับคะแนนผลสัมฤทธ์ทางการเรียน

3) ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ และจัดการเรียนรู้ โดยใช้แผนสอนคิดเพื่อพัฒนาทักษะ เรื่อง พระรัตนตรัย ที่กำหนดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Do now (ขั้นนำ) Purpose (ขั้นกำหนดเป้าหมาย) Work mode (ขั้นสอน) Reflective Thinking (ขั้นสรุป) และใช้เครื่องมือสอนคิดในการวัดและประเมินผลรายวิชา สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

4) นำแผนการสอนคิด ที่จัดทำขึ้นไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทที่สอน

5) บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ และนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาผลการเรียนรู้ให้นักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


 


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ร้อยละ 70 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พระรัตนตรัยโดยใช้แผนสอนคิด ตามตัวชี้วัดในสาระสังคมศึกษา ที่ครูผู้สอนพัฒนาขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพระพุทธสูงขึ้น  


เชิงคุณภาพ 

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  ร้อยละ 70 มีทักษะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องพระรัตนตรัย นำหลักธรรมไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข  

ตัวชี้วัด (Indicators)

ผู้เรียนร้อยละ 70 มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครู อยู่ในระดับมากขึ้นไป 

แผนภูมิแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

ภาคเรียนที่ 2/2565

คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

ดร.ศิรภัสสร ชุมภูเทพ

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุมิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตากเขต 2

นายณฐวรรฏ เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง  รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตากเขต 2

นางสาวสุพัฒนา ทวีเดช

- ตำแหน่ง  รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตากเขต 2

นางนีรชา ทับประดิษฐ์


- ตำแหน่ง  รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตากเขต 2