ผู้จัดทำข้อตกลง

นางสาววันทนีย์ จันขัน

ตำแหน่ง  ครู     วิทยฐานะ  ครูชำนาญการ

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

1-2565ตารางสอนวันทนีย์.pdf

ชั่วโมงสอนตามตารางสอนประจำปี 2/2565 จำนวน 26 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

รายวิชาการงานอาชีพ ป.4/1-ป.4/2     จำนวน..4..ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาการงานอาชีพ ป.6/1-ป.6/3          จำนวน..6..ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาการงานอาชีพ ม.5/1-ม.5/5     จำนวน..5..ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาการงานอาชีพ ม.6/1-ม.6/6     จำนวน..6..ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาโครงงานอาชีพ ม.6/3-ม.6/4            จำนวน..2..ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาอบรมจริยธรรม                 จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

PLC                                                 จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- ชุมนุม                                             จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

ชั่วโมงสอนตามตารางสอนประจำปี 1/2566 จำนวน 25 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

รายวิชาการงานอาชีพ ม.4/1-ม.4/6     จำนวน..6..ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาการงานอาชีพ ม.5/1-ม.5/5          จำนวน..5..ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาการงานอาชีพ ม.6/1-ม.6/5     จำนวน..5..ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชากฎและมาตรฐานทางไฟฟ้า               จำนวน..4..ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาอบรมจริยธรรม                 จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

PLC                                                 จำนวน..3..ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- ชุมนุม                                             จำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

- การจัดทำแผนการเรียนรู้ การสร้างสื่อ

การสร้างเครื่องมือ ประเมินผล วิจัยในชั้นเรียน จำนวน..2..ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานที่ปรึกษาและระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียนจำนวน..1..ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ จำนวน..3..ชั่วโมง/สัปดาห์

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน  10 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป

- กรรมการและเลชานุการกลุ่มสาระการงานอาชีพ จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์   

- กรรมการและเลชานุการงานจัดการศึกษาทวิศึกษ จำนวน...2...ชั่วโมง/สัปดาห์

- ประธานกรรมการชุมนุมการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชนเผ่าจำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการเจ้าหน้าที่บัญชีพัสดุ/เบิกจ่ายวัสดุ จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการงาน EMIS (B-OBEC) สิ่งก่อสร้าง จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการงานประกันคุณภาพภายใน จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการงานวิจัยและนวัตกรรมของโรงเรียน จำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการการดูแลอาคารสถานที่ และรักษาสภาพแวดล้อมจำนวน...1...ชั่วโมง/สัปดาห์

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2565
        “การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิดเพื่อแก้ปัญหานักเรียนขาดทักษะการปฏิบัติงานไฟฟ้าในบ้าน ในรายวิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565” 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                  หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ช่างไฟฟ้าในบ้าน เป็นหน่วยการเรียนรู้หน่วยหนึ่งในวิชาการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่จัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ซึ่งอาจเกิดอันตรายขึ้นได้เสมอ ควรมีแนวทางในการดูแลรักษา และตรวจสอบขณะที่เกิดเหตการณ์อันตรายจากไฟฟ้า ต้องมีวิธีการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีและงานไฟฟ้าในบ้านส่วนใหญ่เป็นการซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดินสายไฟฟ้าและซ่อมแซมสายไฟฟ้าต้องใช้ความรู้และความชำนาญเพื่อสามารถซ่อมแซมได้ด้วยตนเองและมีความปลอดภัยขณะใช้งาน

ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในหน่วยการเรียนรู้การเรียนรู้นี้ คือ ผู้เรียนขาดทักษะการปฏิบัติงานไฟฟ้าในบ้าน จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้เรียนได้ ผู้สอนจึงต้องแสวงหา นวัตกรรมทางการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน และสร้างองค์ความรู้

Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็น ผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก  ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์  สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาพร พฤฑฒิกุล, 2558)

ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลกระทบถึงทักษะการปฏิบัติงานไฟฟ้าในบ้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ในรายวิชาการงานอาชีพ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานไฟฟ้าในบ้าน โดยการพัฒนาการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ เข้ามาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาขาดทักษะการปฏิบัติงานไฟฟ้าในบ้าน จากเหตุผลดังกล่าวผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาขาดทักษะการปฏิบัติงานไฟฟ้าในบ้าน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนการคิด การร่วมมือ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความมุ่งมั่นในการเรียนและการทำงาน เกิดความท้าทายและสนุกกับการเรียน และจะส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดียิ่งขึ้น 

ผู้สอนจึงสนใจที่จะแก้ไขทักษะการปฏิบัติงานไฟฟ้าในบ้าน จากการพัฒนาจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิด ที่กำหนดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Do now (ขั้นนำ) Purpose (ขั้นกำหนดเป้าหมาย) Work mode (ขั้นสอน) Reflective Thinking (ขั้นสรุป) และใช้เครื่องมือสอนคิดในการวัดและประเมินผลรายวิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

          1)  ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแกนกลาง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 

2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้แผนการสอนคิด เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอยและยกระดับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

3) ออกแบบโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการสอนคิด ที่กำหนดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Do now (ขั้นนำ) Purpose (ขั้นกำหนดเป้าหมาย) Work mode (ขั้นสอน) Reflective Thinking (ขั้นสรุป) และใช้เครื่องมือสอนคิดในการวัดและประเมินผลรายวิชา การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

4) นำแผนการสอนคิด ที่จัดทำขึ้นไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทที่สอน

5) บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ และนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาผลการเรียนรู้ให้นักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

6) เมื่อประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหา นำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพแก่ครูผู้สอนโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการงานอาชีพ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 

เชิงคุณภาพ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2  ปีงบประมาณ 2565 ( 1 ตุลาคม 2565 – 30  กันยายน 2566 ) มีความรู้และทักษะการปฏิบัติงานไฟฟ้าในบ้าน  ในรายวิชาการงานอาชีพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

นางศิรภัสสร ชุมภูเทพ

ผู้อำนวยการ

โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

นายณฐวรรฏ เพียงสุวรรณ์

รองผู้อำนวยการ

โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

นางสาวสุพัฒนา ทวีเดช

รองผู้อำนวยการ

โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

นางนีรชา ทับประดิษฐ์

รองผู้อำนวยการ

โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4