ผู้จัดทำข้อตกลง

นายณัฐพงษ์  จินะใจ

ตำแหน่ง  ครู     

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน  32  ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

รายวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม ม.4/3     จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อความบันเทิง ม.4/3   จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ม.5/1           จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ม.5/2           จำนวน 2  ชั่วโมง/สัปดาห์รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ม.5/3         จำนวน 2  ชั่วโมง/สัปดาห์รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ม.5/4         จำนวน 2  ชั่วโมง/สัปดาห์รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ม.5/5       จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ม.6/1          จำนวน 2  ชั่วโมง/สัปดาห์รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ม.6/2       จำนวน 2  ชั่วโมง/สัปดาห์รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ม.6/3       จำนวน 2  ชั่วโมง/สัปดาห์รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ม.6/4         จำนวน 2  ชั่วโมง/สัปดาห์รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ม.6/5          จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ชุมนุม                                จำนวน 1  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาอบรมจริยธรรม                       จำนวน 1  ชั่วโมง/สัปดาห์

PLC                                                 จำนวน 1  ชั่วโมง/สัปดาห์

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

การจัดทำแผนการเรียนรู้/การสร้างสื่อ/การสร้าง

  เครื่องมือประเมินผล/วิจัยชั้นเรียน           จำนวน  2  ชั่วโมง/สัปดาห์

  งานที่ปรึกษาและระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียน  จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

  การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้     จำนวน  3  ชั่วโมง/สัปดาห์


งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน  24 ชั่วโมง/สัปดาห์ 


กรรมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา             จำนวน..4..ชั่วโมง/สัปดาห์

ประธานโปรแกรมความเป็นเลิศทางด้านภาษาอังกฤษ     จำนวน..4..ชั่วโมง/สัปดาห์

กรรมการและเลขาฯงานประกันคุณภาพการศึกษา        จำนวน..4..ชั่วโมง/สัปดาห์

กรรมการและเลขานุการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี    จำนวน..4..ชั่วโมง/สัปดาห์

กรรมการหลักสูตรบ่มเพาะผู้ประกอบการ               จำนวน..4..ชั่วโมง/สัปดาห์

งานที่ปรึกษาและระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียน             จำนวน..4..ชั่วโมง/สัปดาห์





งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันโดยการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 ” 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

การจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคาดหวังว่าเมื่อผู้เรียนเรียนภาษาต่างประเทศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษา ผู้เรียนจะมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งการแสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก และสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์

ดังนั้นการเรียนภาษาที่ดีผู้เรียนจะต้องมีโอกาสได้ฝึกทักษะการใช้ภาษาให้มากที่สุดทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไขในการฝึกทักษะ เรื่อง การพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน  ในชั้นเรียนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนในเนื้อหาต่อไป ครูผู้สอนในฐานะผู้รายงานจะประสบปัญหาในการสอน เรื่อง ทักษะการพูดสื่อสาร ซึ่งเป็นปัญหาที่พบในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ตลอดมา นักเรียนไม่สามารถสื่อสารโดยการพูดโต้ตอบด้วยประโยคง่ายๆได้และไม่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างเรียน ซึ่งครูคือปัจจัยหลักที่จะเป็นผู้กระตุ้นนักเรียน  และแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการพูดสื่อสารให้ถูกต้องได้นั้น ทำได้หลายวิธี  เช่น พัฒนาหลักสูตร ฝึกทักษะการพูดสื่อสารและอีกวิธีหนึ่งที่สำคัญ คือ การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้หรือเทคนิคการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  โดยที่ครูต้องปรับวิธีการสอนให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นทักษะการพูดให้ทันต่อสถานการณ์ มุ่งให้ผู้เรียนรักการเรียน รู้จักคิดวิเคราะห์ แสวงหาความรู้ และรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเองการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียนได้มีความหลากหลายของสื่อการเรียนการสอนหรือนวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่จะกระตุ้นความสนใจของนักเรียนในการเรียนภาษาอังกฤษได้ เช่น การจัดการเรียนรู้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มาช่วยในการฝึกทักษะการพูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน   

ซึ่งนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการพัฒนาในการเขียนของนักเรียน  ควรมีลักษณะกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ท้าทายความสามารถ  ให้เข้าใจง่ายในบทเรียน  มีภาพประกอบ ออกแบบให้สวยงามและสามารถฝึกฝนเรียนรู้และปฏิบัติได้ด้วยตนเอง  อันจะส่งผลให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในในการเขียนเรื่องตามจินตนาการได้  แบบฝึกทักษะมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนวิชาที่เป็นการฝึกทักษะมาก  เพราะเป็นอุปกรณ์เปรียบเสมือนผู้ช่วยครูทางอ้อม  ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกทักษะในการใช้ภาษาให้ดีขึ้น  ส่งเสริมในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล  ทำให้นักเรียนมีความสุขและเรียนรู้แบบสนุก ไม่เบื่อในการเรียน  ตลอดจนนักเรียนสามารถทบทวนเนื้อหาได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกทักษะการพูดสื่อสารในชีวิตประจำวันและสถานการณ์ต่างๆของนักเรียนได้และมีทักษะการเขียนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 




2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

          1)  ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแกนกลาง และหลักสูตรนักเรียนต้องรู้ (กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6)  เพื่อคัดเลือกและออกแบบหน่วยตามตัวชี้วัด สร้างและจัดทำพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะ เรื่องการพูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6  ด้วยรูปแบบการสอน กำหนดสถานการณ์เพื่อนำมาช่วยเสริมการฝึกทักษะการพูดสื่อสารตามความเหมาะสมของนักเรียนรายบุคคล  และนำผลสะท้อนในการทำแบบฝึกเสริมทักษะบันทึกข้อมูลคะแนนในระบบสารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินการเรียนรู้  นำข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้นักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้




3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  ร้อยละ 65 ได้รับการฝึกทักษะการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 

เชิงคุณภาพ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและสถานการณ์ต่าง ๆ


คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้

681581594.304649.mp4
681581920.553825.mp4
681581594.198787.mp4

กคศ 3

กคศ 3 

นายณัฐพงษ์  จินะใจ

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

ดร.ศิรภัสสร  ชุมภูเทพ

ผู้อำนายการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

นายณฐวรรฏ  เพียงสุวรรณ

รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายบริหารบุคคล

นางสาวสุพัฒนา  ทวีเดช

รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายบริหารทั่วไป

นางนีรชา  ทับประดิษฐ์

รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายบริหารวิชาการ