ข้อมูลผู้ประเมิน 

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ)  ซึ่งเป็นตำแหน่ง ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

     วิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 และ 2/3 จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

     วิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

     วิชา คณิตศาสตร์เพิ่มเติม   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์


กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    วิชา ลูกเสือ-เนตรนารี            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

     วิชา ชุมนุมธนาคารโรงเรียน   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์


1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์  การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

 

ประเด็นท้าทาย  เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ของผู้เรียนเรื่องสถิติ ระดับชั้น  มัธยมศึกษาปีที่ 6  โดยใช้การสอนแบบเกมเป็นฐาน (Game-based Learning) 


1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

จากการศึกษาที่คะแนน O-NET ปี 2563 ที่ผ่านมา ในสาระที่ 3 มาตรฐาน ค 3.1 ตัวชี้วัด ม.6/1 พบว่าผู้เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ ยังใช้ความรู้ทางสถิติในการนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายของค่าสถิติเพื่อประกอบการตัดสินใจยังไม่ได้จึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ดีซึ่งผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน 19.61 ต่ำกว่าระดับประเทศ 20.39 ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ครูผู้สอนจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปในทุกรูปแบบที่จะเอื้ออำนวยให้นักเรียนได้เรียนรู้ครบทุกคน โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นในตัวเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ ครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก เพื่อให้นักเรียนทุกคนผ่านการประเมินตามเกณฑ์ ตามศักยภาพของผู้เรียน

 

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล


2.1 วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน

         1) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจได้


2.2 วิธีการดำเนินการ

การวางแผน (Plan)

               1. วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรสถานศึกษา

               2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประชุมเพื่อวิเคราะห์ ผู้เรียนแล้วแบ่งให้ครูที่รับผิดชอบในรายวิชา และสาระที่ต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ นำไปวางแผนพัฒนาผู้เรียนด้วยกระบวนการ PDCA

               3. ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านการสอนวิธีการสอนแบบ (Active Learning) แล้วจัดทำ 1) หน่วยการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียน 3) จัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การสอนแบบเกมเป็นฐาน (Game-based Learning)                   

               4. บันทึกผลการเรียนรู้สรุปผลการวัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน แล้วแจ้งให้ผู้เรียนทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป กรณีผู้เรียนไม่ผ่าน จะมีการดำเนินการพัฒนาซ่อมเสริมในส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินให้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๑๐๐

               5. ประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำผลที่ได้มาพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข ให้สมบูรณ์และมีคุณภาพสูงขึ้น


การปฏิบัติ (DO)

         กระบวนการสอนแบบ (Active Learning) มีดังนี้

             1. ทดสอบความรู้เดิมของผู้เรียนโดย ให้ผู้เรียนตอบคำถามจากเนื้อหาเดิม

             2. กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนดูคลิปวิดีโอแล้วตอบคำถาม

             3. สำรวจและค้นหา โดยใช้การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game-based Learning) เป็นเทคนิคการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจการเรียนรู้ อยากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ภายใต้บรรยากาศการที่ท้าทายและสนุกสนาน โดยเกมที่นำมาเป็นสื่อการเรียนรู้นั้นจะมีความเกี่ยวข้องหรือมีการสอดแทรกเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรวมอยู่ด้วย และมีลักษณะเป็นดิจิตอลมีเดีย (Digital Game) เช่น Kahoot, Quizzes, Adobe Flash เป็นต้น และผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายจากคอมพิวเตอร์หรือมือถือ นอกจากนี้การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานยังกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ศักยภาพและบูรณาการความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของเกมกระตุ้นให้ผู้เรียนประสานความร่วมมือกับผู้อื่นในกรณีที่ต้องพึ่งพาอาศัยหรือขอความช่วยเหลือจากผู้ที่เกี่ยวข้องรวมถึงกระตุ้นให้ผู้เรียนไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค แสวงหาวิธีการจบเกมหรือได้รับรางวัลจากเกมตามเป้าหมายของเกมนั้นๆ ให้ได้ การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game-based Learning) ช่วยให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และเกิดความผูกพันในการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนรู้จักบริหารจัดการอารมณ์และการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม ได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การบูรณาการและสร้างกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จ การสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบและการเคารพกฎกติกาหรือผลแพ้ชนะอย่างมีเหตุผล ในขณะเดียวกันผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระสำคัญและได้ฝึกทักษะต่างๆ ที่สอดแทรกอยู่ในเกม

            

การตรวจสอบ (Check)                  

            1. ผู้เรียนทำแบบทดสอบ วัดประเมินผล

            2. บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขึ้นจาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมเกมเป็นฐาน (Game-based Learning)

            3. วิเคราะห์ทักษะการคิดแก้ปัญหา การทำกิจกรรม เพื่อดูผลสะท้อนการเรียนรู้ผู้เรียน

 

การปรับปรุงแก้ไข (Act)

       1. ปรับปรุงแก้ไขกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องการใช้ความรู้  ทางสถิติในการนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายของค่าสถิติเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

         2. นำประเด็นดังกล่าวร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) กลุ่มสาระการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ


                       ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 87 คน ได้รับการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมรายวิชาคณิตศาสตร์โดยได้คะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม และนักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม


3.2 เชิงคุณภาพ

      ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสถิติรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ต่อไป 

ลงชื่อ

 (นางสาวฐาปนี  ชานุ)
ตำแหน่ง  ครู
ผู้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
....................../.................../...................