ข้อมูลผู้ประเมิน 

ชื่อ นางสาวภาวิกา  นามสกุล  สินพิทักษ์ 

ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ  ยังไม่มีวิทยฐานะ

สถานศึกษา  โรงเรียนปากท่อพิทยาคม  อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

สังกัด  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี 

รับเงินเดือนในอันดับ  คศ.1

ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้  ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน 

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1.  ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 23 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

      ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

1)  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ/รายวิชาสังคมศึกษา 

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  จำนวน 12 ชั่วโมง/สัปดาห์

2) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ/รายวิชาหน้าที่พลเมือง 

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

3)  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ/รายวิชาประวัติศาสตร์ 

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

4)  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ/รายวิชาประวัติศาสตร์ 

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

รายวิชา ลูกเสือ-เนตรนารี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ชุมนุมประวัติศาสตร์ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 

จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น 

จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

                             

                       ตารางสอนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566  

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์  การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

     ประเด็นท้าทาย เรื่อง การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา

 เรื่อง หลักธรรมในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1


1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

จากการศึกษาที่คะแนน (O-NET) ปี 2563 ที่ผ่านมา ในสาระที่ 1  มาตรฐาน  ส 1.1 ตัวชี้วัด  ม.4/1 พบว่าผู้เรียนในรายวิชาสังคมศึกษา ยังไม่สามารถวิเคราะห์หลักธรรมในพระพุทธศาสนา เช่น หลักสาราณียธรรม 6 , อธิปไตย 3 เป็นต้น ที่มีความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของโลกอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้นตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่ตนนับถือไม่ได้จึงส่งผลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ดี โดยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน 41.57 ต่ำกว่าระดับประเทศ 45.70 ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวครูผู้สอนจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปในทุกรูปแบบที่จะเอื้ออำนวยให้นักเรียนได้เรียนรู้ครบทุกคน โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นในตัวเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ ครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก เพื่อให้นักเรียนทุกคนผ่านการประเมินตามเกณฑ์ ตามศักยภาพของผู้เรียน 

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

การวางแผน (Plan)

                2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา

        2.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีการประชุมระดมความคิดร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ผู้เรียนและแบ่งให้ครูที่รับผิดชอบในรายวิชา และสาระที่ต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ นำไปวางแผนพัฒนาผู้เรียนด้วยกระบวนการ (PDCA)

             2.3 ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านการสอนวิธีการสอนแบบ (Active Learning) แล้วจัดทำ 1) หน่วยการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียน (แผนการสอนหน้าเดียว) 3)ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา เรื่องหลักธรรมในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1

       2.4 บันทึกผลการเรียนรู้สรุปผลการวัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน แล้วแจ้งให้ผู้เรียนทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป กรณีผู้เรียนไม่ผ่าน จะมีการดำเนินการพัฒนาซ่อมเสริมในส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินให้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100

           2.5 ประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำผลที่ได้มาพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขให้สมบูรณ์ และมีคุณภาพสูงขึ้น 


การปฏิบัติ (DO)

     กระบวนการสอนแบบ (Active Learning) มีดังนี้

               1. ทดสอบความรู้เดิมของผู้เรียนโดย ให้ผู้เรียนตอบคำถามจากเนื้อหาเดิม

               2. กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนดูคลิปวิดีโอแล้วตอบคำถาม

       3. สำรวจและค้นหา โดยใช้กระบวนการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มร่วมมือแข่งขัน  (Teams – Games – Tamiment's : TGT) เทคนิคกลุ่มร่วมมือแข่งขัน เป็นกิจกรรมที่สมาชิกในกลุ่มเรียนรู้เนื้อหาสาระจากผู้สอนด้วยกัน แล้วแต่ละคนแยกย้ายไปแข่งขันทดสอบความรู้ คะแนนที่ได้ของแต่ละคนจะนำมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนรวมสูงสุดได้รับรางวัล ลักษณะการจัดกิจกรรม สมาชิกกลุ่มจะช่วยกันเตรียมตัวเข้าแข่งขัน โดยผลัดกันถามตอบให้เกิดความแม่นยำในความรู้ที่ผู้สอนจะทดสอบ เมื่อได้เวลาแข่งขัน แต่ละทีมผ่าน Application  แล้วเริ่มเล่นเกมพร้อมกันด้วยชุดคำถามที่เหมือนกัน เมื่อการแข่งขันจบลงผู้เข้าร่วมแข่งขันจะกลับไปเข้าทีมเดิมของตนพร้อมคะแนนที่ได้รับทีมที่ได้คะแนนรวมสูงสุดถือว่าเป็นทีมชนะเลิศ


 การตรวจสอบ (Check)                  

         1. ครูวัดความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลาม จากการทำชุดกิจกรรม การอภิปราย การทำแบบฝึกหัด และการทดสอบ

           2. บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมเรื่องหลักธรรมในพระพุทธศาสนา คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลามด้วยวิธีการสอนแบบ (Active Learning)

                3. วิเคราะห์ทักษะการคิดวิเคราะห์ การทำชุดกิจกรรม เพื่อดูผลสะท้อนการเรียนรู้ผู้เรียน


การปรับปรุงแก้ไข (Act)

             1. ปรับปรุงแก้ไขกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องหลักธรรมในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6/1  2.  นำประเด็นดังกล่าวร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) และแนวทางแก้ไขตามประเด็น นำข้อมูลที่ได้แก้ไขปัญหา


3.1 เชิงปริมาณ

            นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6/1  จำนวนนักเรียน 24 คน ได้รับการเรียนรู้จากโดยใช้กิจกรรมรายวิชาพระพุทธศาสนา โดยใด้คะแนนผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 100ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดและนักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมจากการจัดการเรียนรู้ผ่าน Application Game        

3.2 เชิงคุณภาพ

     ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักธรรมในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6/1 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน            (O-NET)  ต่อไป


PA 2567.pdf

                                           ลงชื่อ


(นางสาวภาวิกา สินพิทักษ์)
ตำแหน่ง  ครู
ผู้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
............/............/...........