ชื่อ นายประพัฒน์ นิสสัย
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ -
สถานศึกษา โรงเรียนปากท่อพิทยาคม
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
รับเงินเดือนในอันดับ คศ.๑
ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน
ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ซึ่งเป็นตำแหน่ง ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
๑.๑ ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน ๑๘ ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
๑. รายวิชา ทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ห้อง ๑-๔
จำนวน ๔ ชั่วโมง/สัปดาห์
๒. รายวิชา ทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ห้อง ๑-๓
จำนวน ๓ ชั่วโมง/สัปดาห์
๓. รายวิชา ทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ห้อง ๑-๓
จำนวน ๓ ชั่วโมง/สัปดาห์
๔. รายวิชา ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ห้อง ๑-๓
จำนวน ๓ ชั่วโมง/สัปดาห์
๕. รายวิชา ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ห้อง ๑-๓
จำนวน ๓ ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๑ รายวิชาพัฒนาผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
จำนวน ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์
๒ รายวิชา ชุมนุมศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖
จำนวน ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์
๑.๒งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
-การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้
จำนวน ๓ ชั่วโมง/สัปดาห์
๑.๓ งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
-กลุ่มงานบริหารทั่วไป
จำนวน ๕ ชั่วโมง/สัปดาห์
๑.๔ งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น
-ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
จำนวน ๓ ชั่วโมง/สัปดาห์
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)
ประเด็นท้าทายเรื่องการพัฒนาทักษะทางการเรียนในรายวิชาศิลปะของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
๑. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้
จากการประเมินทักษะทางการเรียนในรายวิชาศิลปะ พบว่าทักษะทางการเรียนในรายวิชาศิลปะของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ยังไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่ผู้สอนตั้งไว้ และจากการประชุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ยังพบว่า ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมีความประสงค์ให้ผู้เรียนมีทักษะทางการเรียนในรายวิชาศิลปะเพิ่มขึ้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะจึงเห็นความสำคัญในการพัฒนาทักษะทางการเรียนในรายวิชาศิลปะ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะทางสังคม ทักษะการคิด ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีความสนใจใฝ่เรียนรู้ และมีเจตคติที่ดีในรายวิชาศิลปะเพิ่มขึ้น
๒. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
๒.๑ วัตถุประสงค์ในการดำเนินการ
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในปีการศึกษา ๒๕๖๖ ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนปากท่อพิทยาคม ให้สูงขึ้น ผู้จัดทำได้นำกระบวนการ PDCA ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ มาใช้ในการดำเนินการ ดังนี้
๒.๒ วิธีการดำเนินการ
๑. การวางแผน (Plan)
๑)ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ สาระศิลปะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
๒)ออกแบบการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning โดยใช้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps)
๓)สร้างแผนการจัดการเรียนรู้
๔)สร้างแบบประเมินผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน
๒. การปฏิบัติ (Do)
๑)ประเมินผลการเรียนรู้ก่อนเรียน
๒)ดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ออกแบบการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning โดยใช้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS ๕ Steps) ดังนี้
๒.๑)G การรวบรวมและเลือกข้อมูล (GATHERING)
ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้การรวบรวมข้อมูลผ่านประสาทสัมผัส ตามเป้าหมาย โดยมีการเลือกเฟ้นข้อมูลที่สอดคล้อง มีการบันทึกข้อมูล และสามารถที่จะดึงข้อมูลเดิมมาใช้ได้
๒.๒)P การจัดกระทำข้อมูล (PROCESSING)
ผู้เรียนสามารถจัดข้อมูลให้เกิดความหมายผ่านการเลือกเฟ้น เพิ่มคุณค่า คุณธรรม ค่านิยม ออกแบบสร้างสรรค์ และตัดสินใจเลือกเป้าหมายแนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จได้
๒.๓)A การประยุกต์ใช้ความรู้ (APPLYING)
แบ่งได้เป็น ๒ ขั้น คือ
ขั้นแรก (Applying ๑) ผู้เรียนร่วมกันวางแผนและลงมือทำ รวมถึงตรวจสอบแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ไปสู่ระดับของนวัตกรรม
ขั้นสอง (Applying ๒) ผู้เรียนสามารถสรุปเป็นความรู้ระดับต่าง ๆ จนถึงระดับหลักการ และสามารถนำเสนอได้อย่างมีแบบแผน โดยการดำเนินการนั้น ครูจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเลือกข้อมูลที่สอดคล้อง รู้จักความรู้ที่ได้อย่างสร้างสรรค์ ขยายขอบเขตความรู้ การวิเคราะห์การสังเคราะห์ ตัดสินใจ และการนำความรู้ไปปรับใช้ ตลอดจนมีการวิเคราะห์วิจารณ์และแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
๒.๔)S การกำกับตนเอง หรือ การเรียนรู้ได้เอง (SELF–REGULATING)
ครูดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนมีการตรวจสอบและควบคุมกระบวนการการคิดของตัวเอง การสร้างค่านิยมการคิดของตัวเอง และการสร้างนิสัยการคิดที่เป็นรูปแบบของตัวเอง
๓.การตรวจสอบ (Check)
๑)ประเมินผลการเรียนรู้หลังเรียน
๒)บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ ที่ออกแบบการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning โดยใช้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS ๕ Steps)
๓)วิเคราะห์ผลการจัดการเรียนรู้ร่วมกับวิเคราะห์ผลการประเมินก่อนเรียนและหลังเรียน
๔. การปรับปรุง (Act)
๑)นำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนาการออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ในเรื่องเดิมและเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
๓. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
๓.๑ เชิงปริมาณ
ผลการเรียนของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนปากท่อพิทยาคม ในสาระศิลปะ มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้นจากเทอม ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
๓.๒ เชิงคุณภาพ
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง มีทักษะในการเรียนรู้ และมีวิธีการเรียนรู้ ที่ดีขึ้น ตามแนวทางของกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) ในระดับ ดี
ลงชื่อ
( นายประพัฒน์ นิสสัย )
ตำแหน่ง ครู
ผู้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
....................../.................../...................