ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ  ซึ่งเป็นตำแหน่ง ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2566

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 17 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

     กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

         รายวิชาภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 1-3     จำนวน 9 ชั่วโมง/สัปดาห์

         รายวิชาภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1-3     จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

     กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

          กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1        จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

          กิจกรรมชุมนุมโจ๊กภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6     จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้                จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

     การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ฯ  (PIC)             จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

     การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้                                    จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

     จัดทำวิจัยในชั้นเรียน                                                      จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา                           จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น                              จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์


2. งานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

     🎉 🎉  ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น 

             เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น    ในรายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  

             1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

การอ่านมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบัน เพราะการอ่านช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ และความคิด บุคคลที่มีสมรรถนะการอ่านอย่างแท้จริงย่อมสามารถนำประสบการณ์ความรู้และความคิดไปใช้ประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและสังคมได้เป็นอย่างดี นอกจากยังเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยให้สามารถพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ  

จากการศึกษาผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) ชั้นม. 6 ปีการศึกษา 2563 รายวิชาภาษาไทย พบว่า สาระการอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน นักเรียนมีผลคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน 40.28 ต่ำกว่าระดับประเทศ 48.10 ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีปัญหาในการอ่านอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ครูผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเทคนิคบันได 6 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ทั้งการอ่าน การฟัง การพูดและการเขียน อีกทั้งเป็นแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพนำไปสู่ทักษะการอ่านขั้นสูง เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ในรายวิชาอื่น ๆ ต่อไป

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

      1. ประชุม วางแผน วิเคราะห์ผู้เรียนในรายวิชา และระดับชั้นที่รับผิดชอบ เพื่อนำไปวางแผนพัฒนาผู้เรียนด้วยกระบวนการ PDCA   

      2. ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (ACTIVE LEARNING) ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แล้วจัดทำหน่วยการเรียนรู้               แผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักการที่จะพัฒนาผู้เรียน และชุดกิจกรรมแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้      เทคนิคบันได 6 ขั้น

       3. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน

       4. ให้ความรู้ ศึกษาทำความเข้าใจและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ใช้กระบวนการพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น

เทคนิคบันไดขั้นที่ 1  การอ่านเรื่องให้จบ ตั้งคำถาม ๕W๑H

เทคนิคบันไดขั้นที่ 2  การหาคำ สำคัญ (Key Words)

เทคนิคบันไดขั้นที่ 3  การตัดส่วนขยายใจความสำคัญ

                            เทคนิคบันไดขั้นที่ 4  การเติม คำเชื่อมหาส่วนขยายใจความสำคัญ

เทคนิคบันไดขั้นที่ 5  การสังกตคำเชื่อมแสดงความขัดแย้ง

เทคนิคบันไดขั้นที่ 6  การหาใจความสำคัญได้ทุกบทอ่าน

      5. นักเรียนฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญจากชุดกิจกรรม บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน ทำแบบทดสอบหลังเรียน

      6. วิเคราะห์ทักษะการการอ่านจับใจความของนักเรียน และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ

      7. ปรับปรุงแก้ไขกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบเทคนิคบันได 6 ขั้น ในรายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

      8. นำประเด็นดังกล่าวร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางการพัฒนาและแก้ปัญหาตามประเด็น นำข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

      3.1  เชิงปริมาณ

            ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  จำนวนนักเรียน 83 คน ได้รับการพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญ  โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น รายวิชาภาษาไทย โดยใด้คะแนนผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม)คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

      3.2  เชิงคุณภาพ

    ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ และผู้เรียนทั้งหมดมีความ          พึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญ สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาการทดสอบทางการศึกษา  ระดับชาติขั้นพื้นฐาน O – NET ต่อไป

เอกสารบันทึก 📑 ข้อตกลง PA 

PA1 ครูสุพรรษา-แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน 2567แก้ไขล่าสุด.pdf

ลงชื่อ

 (นางสุพรรษา  อังคสุทธิพงษ์)
ตำแหน่ง  ครู
ผู้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
....................../.......มีนาคม............/....2567...............