ข้อมูลผู้ประเมิน 😎
ชื่อ นางพรพรรณ นามสกุล สุจิตต์มาลี
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนปากท่อพิทยาคม
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
รับเงินเดือนในอันดับ คศ. 3
อัตราเงินเดือน 56,970 บาท
ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน
ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ซึ่งเป็นตำแหน่ง
ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 20 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
รายวิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 1-3 จำนวน 9 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 1-3 จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
รายวิชา ลูกเสือ-เนตรนารี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชา ชุมนุมส่งเสริมสุขภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)
ปีการศึกษา 2567
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยบันได 5 ขั้น
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
จากการศึกษาที่คะแนน O-NET ปี 2563 ที่ผ่านมา ในสาระที่ 1 มาตรฐาน ท1.1 ตัวชี้วัด ม.4-6/2 พบว่าผู้เรียนในรายวิชาภาษาไทย ยังไม่สามารถตีความ แปลความ และขยายความจากเรื่องที่อ่านได้ โดยเฉพาะเนื้อหาประเภทวรรณคดีและวรรณกรรม รวมถึงเนื้อหาจากสื่อต่างๆ จึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ดี ซึ่งผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน 40.28 ต่ำกว่าระดับประเทศ 48.10 ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ครูผู้สอนจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนา รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปในทุกรูปแบบที่จะเอื้ออำนวยให้นักเรียนได้เรียนรู้ครบทุกคน โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นในตัวเอง ด้วยการลงมือจริงผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ ครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก เพื่อให้นักเรียนทุกคนผ่านการประเมินตามเกณฑ์ ตามศักยภาพของผู้เรียน
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
การวางแผน (Plan)
1.วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประชุมเพื่อวิเคราะห์ ผู้เรียนแล้วแบ่ง ให้ครูที่รับผิดชอบในรายวิชา และสาระที่ต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ นำไปวางแผนพัฒนาผู้เรียนด้วยกระบวนการ PDCA
3. ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านการสอนวิธีการสอนแบบ (Active Learning) แล้วจัดทำ 1) หน่วยการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียน 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
4. บันทึกผลการเรียนรู้สรุปผลการวัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน แล้วแจ้งให้ผู้เรียนทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป กรณีผู้เรียนไม่ผ่าน จะมีการดำเนินการพัฒนาซ่อมเสริมในส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินให้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100
5. ประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำผลที่ได้มาพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข ให้สมบูรณ์และมีคุณภาพสูงขึ้น
การปฏิบัติ (DO)
กระบวนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น มีดังนี้
1. ตั้งประเด็นคำถามจากเรื่องที่อ่าน
2. สืบค้นความรู้
3. สรุปองค์ความรู้
4. นำเสนอความรู้รูปแบบอินโฟกราฟิก
5. เผยแพร่ความรู้สู่สังคม
การตรวจสอบ (Check)
1.ครูวัดความรู้เรื่องการอ่านวิเคราะห์ จากการทำชุดกิจกรรม การอภิปราย การทำแบบฝึกหัด และการทดสอบ
2.บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขึ้นจาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมเรื่องการอ่านวิเคราะห์ ด้วยวิธีการสอนด้วยบันได้ ๕ ขั้น
3.วิเคราะห์ทักษะการคิดแก้ปัญหา การทำชุดกิจกรรม เพื่อดูผลสะท้อนการเรียนรู้ผู้เรียน
การปรับปรุงแก้ไข (Act)
1. ปรับปรุงแก้ไขกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
2. นำประเด็นดังกล่าวร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแนวทางแก้ไขตามประเด็น นำข้อมูลที่ได้แก้ไขปัญหา
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียน 87 คน ได้รับการเรียนรู้เรื่องการอ่านวิเคราะห์ด้วยบันได 5 ขั้น โดยได้คะแนนผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และนักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม
3.2 เชิงคุณภาพ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียน 87 คน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอ่านวิเคราะห์ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-Net ต่อไป
ดาวน์โหลดเอกสารบันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน
ปีการศึกษา 2566
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในรายวิชาภาษาไทย
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
จากปัญหาในการเรียนการสอนอ่านวรรณคดีวิชาภาษาไทยพบว่า นักเรียนสำคัญกับการอ่านวรรณคดีน้อยลง เนื่องจากนักเรียนมีประสบการณ์น้อย เนื้อหาเป็นเรื่องในอดีต ลักษณะคำประพันธ์ส่วนใหญ่เป็น ร้อยกรอง ผู้เรียนมีความรู้ทางคำศัพท์เฉพาะทางวรรณคดีไม่กว้าง การจัดการเรียนการสอนของครูไม่มีความน่าสนใจต่อนักเรียน จึงทำให้นักเรียนไม่สนใจในการอ่าน ส่งผลให้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ จึงสนใจที่จะนำเรื่องการอ่านวิเคราะห์จากวรรณคดีโดยนำรูปแบบการเรียนรู้ใช้กิจกรรมเป็นฐาน(Activity-Based Learning) ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะการอ่านวรรณคดีในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปากท่อพิทยาคม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถของนักเรียน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
1. วิเคราะห์ปัญหา/ข้อมูลการเรียนรายบุคคล โดยดูจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคเรียนที่ผ่านมา ในรายวิชาภาษาไทยของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2. ศึกษาทฤษฎี หลักการ ขั้นตอนการอ่านวิเคราะห์ และศึกษาทฤษฎีการอ่าน จากงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะนำมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและเลือกรูปแบบการสร้างแบบฝึกเพื่อนำมาพัฒนาผู้เรียน
3. ศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน(Activity-Based Learning) จากคู่มือ ตำรา งานวิจัยต่างๆ
4. วางแผนออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้พัฒนาความสามารถในการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทย โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปากท่อพิทยาคม
5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้น
6. นำผลสะท้อนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ไปบันทึกข้อมูลคะแนนในระบบสารสนเทศเพื่อประเมินการเรียนรู้ที่ได้พัฒนาผู้เรียน ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
7. รายงานผลคุณภาพผู้เรียน ความก้าวหน้าของผู้เรียนให้ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ
8. นำผลการจัดกิจกรรม/แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหาร ครูผู้สอน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้และต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อที่จะหาแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ต่อไป
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้งหมด ได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning)
3.2 เชิงคุณภาพ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ร้อยละ ๘๐ มีผลการพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับดี