ประเด็นท้าทาย ประจำปีงบประมาณ  2567

           ประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ปัญหาทักษะการอ่าน-เขียนคำศัพท์ภาษาจีน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ CIPPA MODEL ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (เฉพาะห้องที่มีเรียนวิชาภาษาจีน)

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

    จากผลการเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 พบว่าผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 2 และ ห้อง 3 จำนวน 61 คน มีผลไม่ดีเท่าที่ควร คือ นักเรียนร้อยละ 63.93 มีผลการเรียนตั้งแต่ระดับ 2.00 ขึ้นไป แต่ผู้เรียนร้อยละ 36.07 ยังคงมีผลการเรียนต่ำกว่าระดับ 2.00 ซึ่งปัญหาของผู้เรียนที่ยังพบปัญหาอย่างมากในเรื่องการเข้าใจเนื้อหาของบทเรียน ซึ่งผู้เรียนขาดทักษะพื้นฐานสำคัญในการอ่านและการเขียนภาษาจีน  การอ่านออกเสียงและเขียนผิดบ่อยครั้ง  จึงส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถมีผลการเรียนได้ดีเท่าที่ควร รวมทั้งแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมยังไม่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เท่าที่ควร เนื่องมาจากบริบทของสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงสื่อ/เทคโนโลยีของผู้เรียนค่อนข้างไม่ครอบคลุมให้การจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียนเป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาให้เกิดการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาจีนที่ดีขึ้น ครูผู้สอนจึงใช้วิธีการสอนแบบ CIPPA MODEL และเทคโนโลยีด้วยแอพพลิเคชันและกิจกรรม มาช่วยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย    ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สามารถอ่านและเขียนได้ถูกต้อง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในทักษะการอ่านและการเขียน นำไปประยุกต์ใช้ได้   อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะได้ทุกเวลาจากเทคโนโลยีซึ่งทำให้กิจกรรมน่าสนใจมากยิ่งขึ้น


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

ประเด็นท้าทายเรื่อง การแก้ปัญหาทักษะการอ่าน-เขียนคำศัพท์ภาษาจีน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ CIPPA MODEL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (เฉพาะห้องที่มีเรียนวิชาภาษาจีน) ข้าพเจ้าดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

 

การวางแผน (PLAN)

1.วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนปากท่อพิทยาคม ในขอบเขตรายวิชาภาษาจีนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

2.ออกแบบกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (ACTIVE LEARNING) ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านวิธีการสอนแบบ CIPPA MODEL แล้วจัดทำ 1.)หน่วยการเรียนรู้  2.) แผนการจัดการเรียนรู้   3.) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาทักษะการอ่าน-เขียนคำศัพท์ภาษาจีนของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (เฉพาะห้องที่มีเรียนวิชาภาษาจีน)  โรงเรียนปากท่อพิทยาคม และรวมถึงสื่อการเรียนรู้และเครื่องมือที่จะใช้ในการวัดผล ทดสอบ และสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน ได้แก่ คำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐานในบทเรียน จากนั้นนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการ CIPPA MODEL

3.บันทึกผลการเรียนรู้ สรุปผลการวัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน จัดทำสารสนเทศข้อมูลดังกล่าว แล้วแจ้งให้ผู้เรียนทราบเพื่อดำเนินการต่อไป  กรณีผู้เรียนไม่ผ่านจะมีการดำเนินการพัฒนาหรือสอนซ่อมเสริมในส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน  เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ  100
      4.การประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้เรียน  เพื่อนำผลที่ได้นั้นมาพัฒนา  ปรับปรุง  แก้ไข  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือสื่อการเรียนรู้ให้สมบูรณ์และมีคุณภาพสูงมากขึ้น

 

การปฏิบัติ (DO)

กระบวนการ  CIPPA MODEL มี 7 ขั้นตอนดังนี้

       1.ขั้นการทบทวนความรู้เดิม ฝึกอ่านโดยเริ่มจากพื้นฐานพินอิน และฝึกเขียนตามลำดับขีดการเขียนอักษรจีนทุกวัน จากง่ายไปยาก

       2.ขั้นแสวงหาความรู้ ศึกษาที่มาและวิวัฒนาการของตัวอักษรจีน

       3.ขั้นศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม

       4.ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม  

       5.ขั้นการสรุปและจัดระเบียบความรู้

       6.ขั้นแสดงผลงาน

       7.ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ โดยสามารถนำความรู้เก่าและใหม่ที่ได้ศึกษานี้มาใช้ในการอ่านเขียนตัวอักษรจีน และคำศัพท์พื้นฐานที่อยู่ในบทเรียนหรือในหนังสือเรียนได้

 

การตรวจสอบ (CHECK)

       1.ผู้เรียนทำแบบทดสอบ เพื่อวัดและประเมินผล

 2.บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขึ้นจาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐาน ด้วยวิธีการสอนแบบ CIPPA MODEL

  3.วิเคราะห์ทักษะการคิดแก้ปัญหา การทำชุดกิจกรรม เพื่อดูผลสะท้อนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทราบ     


       การปรับปรุงแก้ไข (ACT)

        1. ปรับปรุงแก้ไขกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาทักษะการอ่าน-เขียนคำศัพท์ภาษาจีน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ CIPPA MODEL ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (เฉพาะห้องที่มีเรียนวิชาภาษาจีน)    

       2. นำประเด็นดังกล่าวร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในกลุ่มสาะการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแนวทางแก้ไขตามประเด็น นำข้อมูลที่ได้แก้ไขปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

              3.1 เชิงปริมาณ

         ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (เฉพาะที่มีเรียนวิชาภาษาจีน)  ได้รับการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมรายวิชาภาษาจีน(จ30206)โดยใด้คะแนนผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 75 ขอ'คะแนนเต็ม)  คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  และผู้เรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม                        

               ๓.๒ เชิงคุณภาพ

           ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการอ่าน และการเขียนตัวอักษรจีนในคำศัพท์พื้นฐานที่เจอในบทเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (เฉพาะห้องที่มีเรียนภาษาจีน) และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ต่อไป

 

        หมายเหตุ ข้อตกลงเป็นข้อตกลงเบื้องต้นผู้ทำข้อตกลงในอาจมีการปรับปรุงให้ผลลัพธ์ของผู้เรียนเกิดคุณภาพสูงขึ้นกว่าความคาดหวังและเป้าหมายของหลักสูตรมาตรฐานการเรียนรู้และจะรายงานให้ผู้รับการประเมินรับทราบได้ปรับข้อตกลงตามลำดับหรือระยะเวลา

รายงานประเด็นท้าทาย ประจำปีงบประมาณ 2567

รายงาน ช่วงจบปีงบประมาณ

ประเด็นท้าทาย ประจำปีงบประมาณ 2566

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาและแก้ไขการออกเสียงภาษาจีน โดยใช้แอพพลิเคชันและกิจกรรมในการเรียนรู้และทบทวนด้วยตนเอง รายวิชาภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

    สภาพปัญหาของผู้เรียนที่ยังพบปัญหาอย่างมากในเรื่องการเข้าใจเนื้อหาของบทเรียน  ซึ่งผู้เรียนขาดทักษะพื้นฐานสำคัญในการอ่านออกเสียงภาษาจีน  การอ่านออกเสียงผิดบ่อยครั้งจึ่งส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถสื่อสารได้เท่าที่ควร ซึ่งแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมยังไม่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เท่าที่ควร  เนื่องมาจากบริบทของสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงสื่อ/เทคโนโลยีของผู้เรียนค่อนข้างไม่ครอบคลุม จึงส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียนยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย  ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกิดการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงที่ดีขึ้น  ครูผู้สอนจึงใช้วิธีการสอนจากเทคโนโลยีด้วยแอพพลิเคชันและกิจกรรมมาช่วยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สามารถอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง นำไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาได้ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้
ผู้เรียนฝึกฝนทักษะได้ทุกเวลาจากเทคโนโลยีซ฿่งทำให้กิจกรรมน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

    สร้างแบบฝึกในแอพพลิเคชัน และจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียง ในรายวิชาภาษาจีน ครูผู้สอนติดตามความก้าวหน้าจากการทำแบบฝึกหัดแอพพลิเคชันพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียง ในรายวิชาโดยพิจารณาจากทักษะการจำและการออกเสียงที่ถูกต้อง และในระหว่างการพัฒนา ครูผู้สอนนำปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหาร ครูผู้สอนต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ฯ เพื่อที่จะหาแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ
          ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนปากท่อพิทยาคม ร้อยละ 80 ที่เรียนในรายวิชาภาษาจีน มีผลการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาจีนที่ถูกต้องและมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้น

3.2 เชิงคุณภาพ
          การปรับประยุกต์/เทคนิค/สื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทักษะการอ่านออกเสียงและผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้นในรายวิชาภาษาจีน โดยใช้แอพพลิเคชัน และกิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ เป็นฐานในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้

รายงานผลประเด็นท้าทาย ประจำปีงบประมาณ 2566

รายงานผลประเด็นท้าทาย ปี 2566.pdf
รายงานผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการดำเนินการตามประเด็นท้าทาย.pdf

ตัวอย่าง ผลลัพธ์ของผู้เรียนที่เกิดจาก  "กิจกรรมส่งเสริมการฝึกทักษะการพูดออกเสียงภาษาจีน"  

               โดยนักเรียนได้เรียนรู้คำศัพท์ บทสนทนา และโครงสร้างประโยคจากการเรียนในชั้นเรียน จากนั้นผู้สอนได้มอบหมายงานให้ผู้เรียน จับกลุ่มและทำคลิปบทบาทสมมติจากบทเรียนที่ได้เรียนไปเรื่อง 健康  จากนั้นผู็เรียนทุกกลุ่มจะได้รับชม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ในชั้นเรียน

               กิจกรรมเสริมทักษะนี้นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกพูดออกเสียง สนทนาแล้วนั้น ยังช่วยฝึกในเรื่องของความกล้าแสดงออก ความสามัคคีจากการทำงานเป็นทีม  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความสนใจเพราะการเรียนนั้นแปลกใหม่ มีความสนุกสนาน น่าสนใจมากยิ่งขึ้น  และที่สำคัญยังช่วยสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนวิชาภาษาจีนของผู้เรียนมากขึ้นอีกด้วย