ข้อมูลผู้ประเมิน 

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแหน่งครู (ชำนาญการ)  ซึ่งเป็นตำแหน่ง ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 14 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

     กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รายวิชา ฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1     จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 1             จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 2,3     จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์


กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3     จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมชุมนุม เครื่องบินพลังยาง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3             จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์


1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้   จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา  จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น   จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

               ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การแก้ปัญหา การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)

              ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ (ว 23102) เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ กระแสไฟฟ้าและความต้านทาน  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2566

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

        จากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน เพื่อวัดความรู้และความคิดรวบยอดของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในสาระเทคโนโลยี มาตรฐานที่ 2.3 พบว่า ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 3 ของโรงเรียนปากท่อพิทยาคม มีค่าเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ  ขั้นพื้นฐาน ระดับโรงเรียน 25.51 คะแนน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับประเทศ ที่ได้ 25.91 คะแนน

                       ซึ่งการจัดการเรียนการสอนในสาระวิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐานที่ 2.3 ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ของโรงเรียนปากท่อพิทยาคม

 ในปีการศึกษา 2566 ต้องเรียนรู้ตามตัวชี้วัด ม.3/1 คือ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และต้านทาน และคำนวณปริมาณที่เกี่ยวข้องโดยใช้สมการ V = IR จากหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้จัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการในการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ สอดคล้องกับการประเมินผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 แต่การจัดการเรียนการสอนยังขาดกระบวนการคิดขั้นสูง ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงได้ รวมไปถึงการเพิ่มพูนทักษะในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น และยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

                       ผู้จัดทำข้อตกลงประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จึงจะดำเนินการจัดรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning โดยใช้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS  5 Steps) เพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในปีการศึกษา 2566 ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปากท่อพิทยาคม ในสาระเทคโนโลยี มาตรฐานที่ 2.3 ตัวชี้วัด  ม.3/1 ให้มีค่าเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน สูงขึ้นจากปีการศึกษา 2563

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1  วัตถุประสงค์ในการดำเนินการ

              เพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)    ในปีการศึกษา 2566 ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปากท่อพิทยาคม ในสาระวิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐานที่ 2.3 ตัวชี้วัด ม.3/๑ ให้มีค่าเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานสูงขึ้น  จากปีการศึกษา 2563

2.2  วิธีการดำเนินการ

              การยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)    ในปีการศึกษา ๒๕๖๖ ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปากท่อพิทยาคม ในสาระวิทยาศาสตร์กายภาพ  มาตรฐานที่ 2.3 ตัวชี้วัด  ม.3/1 ผู้จัดทำได้นำกระบวนการ PDCA ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ มาใช้ในการดำเนินการ ดังนี้

1.     การวางแผน (Plan)

1)    ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ ในสาระวิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐานที่ 2.3 ตัวชี้วัด ม.3/1

2)    ออกแบบการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Cycle : 5 Es)

3)    สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และต้านทาน

4)    สร้างแบบประเมินผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และต้านทาน

2.     การปฏิบัติ (Do)

1)    ประเมินผลการเรียนรู้ก่อนเรียน เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และต้านทาน

2)    ดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และต้านทาน  ที่ออกแบบการเรียนรู้

ตามแนวทาง Active Learning โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Cycle : 5 Es)

2.1) สร้างความสนใจในการเรียนรู้ (engagement) โดยทั่วไปแล้ว ผู้เรียนจะมี  พื้นฐานความรู้ ความเข้าใจในเรื่องราวบางอย่างติดตัวมาบ้างไม่

มากก็น้อย บางเรื่องก็เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเรียน บางเรื่องก็ไม่เกี่ยวข้อง และที่เกี่ยวข้องก็อาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือมีบางส่วนที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็น

โอกาสที่ผู้สอน จะได้ค้นหาว่าผู้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสที่ผู้เรียนจะได้ทบทวนความรู้ ความเข้าใจของตนในเรื่องนั้นไปพร้อมกัน 

ที่สำคัญผู้สอนจะต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้สึกสนใจและกระตือรือร้นในเรื่องที่จะเรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายหรือท้อแท้เมื่อทราบว่าสิ่งที่ตนเข้าใจมาแต่เดิมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

2.2) การค้นหาความรู้ (exploration) ผู้เรียนจะค้นหาคำตอบให้กับคำถามที่ผู้สอนได้ตั้งเป็นโจทย์ไว้ใน ลำดับที่หนึ่ง (engagement) โดยอาศัย

ความรู้เท่าที่มี ผู้เรียนจะป้อนคำถามระหว่างผู้เรียนด้วยกัน แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแสวงหาคำตอบกันภายในกลุ่ม วัตถุประสงค์หลักของการเรียนการสอน

ในลำดับที่สองนี้ คือ ให้นักเรียนได้เก็บเกี่ยวความรู้และแนวคิดโดยใช้การเรียนรู้จากประสบการณ์ อาจให้ผู้เรียนทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ หาประสบการณ์

จากกรณีศึกษา หรือการแสดงบทบาทสมมุติ และนำสิ่งที่สังเกตหรือศึกษาได้มา แลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้เรียน ผู้สอนควรทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง (facilitator) 

ให้คำแนะนำและให้ผู้เรียนได้ค้นหา สิ่งที่ตนสนใจด้วยตนเองให้มากที่สุด

2.3) การอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง (explanation) เป็นขั้นที่ผู้สอนเปิด

โอกาสให้ผู้เรียนแสดง ความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ด้วยการนำประสบการณ์ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนรวมทั้งข้อสมมุติฐานที่ผู้เรียนและเพื่อนๆ มี มาใช้ประกอบการอธิบาย ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความ คิดเห็นต่อประเด็นปัญหาและทางออกของปัญหาด้วยตนเองให้มากที่สุด และให้ความคิดเห็นเสริมเป็นระยะ เมื่อผู้เรียนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันจนอาจบานปลายเป็นความขัดแย้ง หากผู้สอนมีสื่อการสอน เช่น วิดีโอ คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ หรือสื่ออื่นๆ 

ที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจและเป็นประสบการณ์การเรียนรู้มาใช้ในขั้นตอนนี้ ด้วย ก็จะช่วยให้การเรียนการสอนได้ผลดียิ่งขึ้น

2.4) การขยายความ (elaboration) มาถึงขั้นนี้ ผู้เรียนน่าจะมีความเข้าใจพื้นฐานที่ดี

พอสมควรในเรื่องที่เรียน ผู้สอนจึงควรขยาย ความรู้ความความเข้าใจของผู้เรียนด้วยการให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ช่วยเสริมเติมความรู้ความเข้าใจนั้นให้หนักแน่น มากที่สุดด้วยการนำสิ่งที่เรียนรู้นั้นไปปรับใช้กับสถานการณ์ที่คล้ายกันซึ่งผู้เรียนมีโอกาสพบได้ในโลกแห่งความเป็นจริงการใช้ตัวอย่างมาประกอบเข้ากับแนวคิดจะช่วยให้

ผู้เรียนมีข้อสมมุติฐานที่เกี่ยวกับตนเองและผู้อื่น (mental model) ที่ชัดเจน สามารถเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้ดีขึ้น

2.5) การประเมินผล (evaluation) ควรมีการประเมินผลเป็นระยะในทุกๆ ลำดับ

ขั้นตอนที่กล่าวมา เพื่อให้ทราบว่าการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้และไม่มีความเข้าใจผิดใดเกิดขึ้นในระหว่างการเรียนรู้นั้น ในการประเมินผลอาจใช้คำชี้แจง (rubric), แบบตรวจประเมิน (checklist), การสอบถาม (interview), การสังเกต (observation) หรือเครื่องมือการประเมินผลอื่นๆ หากผู้ประเมินมีความสนใจ

ในเรื่องใดเป็นพิเศษก็ อาจสอบถามผู้เรียนเป็นการเพิ่มเติมและอาจนำวงจรการเรียนรู้มาใช้เพื่อต่อยอดเรื่องที่ให้ความสนใจนั้น

3.  การตรวจสอบ (Check)

1)  ประเมินผลการเรียนรู้หลังเรียน เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และต้านทาน

2) บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้า  และต้านทาน

3) ที่ออกแบบการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Cycle : 5 Es)

4) วิเคราะห์ผลการจัดการเรียนรู้ร่วมกับวิเคราะห์ผลการประเมินก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้

(Inquiry Cycle : 5 Es)

                            4.  การปรับปรุง (Act)

      1)  นำผลการวิเคราะห์ที่ได้ มาปรับปรุงและพัฒนาการออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ในเรื่องเดิมและเรื่องอื่น ๆ ต่อไป

 

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1  เชิงปริมาณ

ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในปีการศึกษา ๒๕๖๖ ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปากท่อพิทยาคม 

ในสาระเทคโนโลยี มาตรฐานที่ 2.3 ตัวชี้วัด   ม.3/๑ มีค่าเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน สูงขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๖๓ คิดเป็นร้อยละ 26

3.2  เชิงคุณภาพ

ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง มีทักษะในการเรียนรู้ และมีวิธีการเรียนรู้  ที่ดีขึ้น ตามแนวทางของกระบวนการสืบเสาะหาความรู้

(Inquiry Cycle : 5 Es)  ในระดับ ดี


ลงชื่อ

 (นางสาวขนิษฐา  เกษแก้ว)
ตำแหน่ง  ครู คศ.2
ผู้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
....................../.................../...................