ส่วนที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

ส่วนที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

2.1 ข้อมูลพื้นเกี่ยวกับสถานศึกษา

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วยสาระที่สําคัญ ดังนี้

วิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชม ไทย – เยอรมัน สระบุรี เดิมชื่อโรงเรียนแก่งคอยโปลีเทคนิค ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2542 มีนายเจตพล วอเพ็ชร เป็นผู้รับใบอนุญาต ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 116/2 หมู่ 10 ถนนแก่งคอย-บ้านนา ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เปิดสอนในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณธกรรมการการศึกษาเอกชนของกระทรวงศึกษาธิการ จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรสถาบันราชมงคล และอาชีวศึกษามี 2 คณะ คือคณะช่างอุตสาหกรรม ช่างไฟฟ้ากำลัง ช่างยนต์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ และคณะพาณิชยกรรม แผนกบัญชี แผนกคอมพิวเตอร์ แผนกมีจำนวนนักศึกษาประมาณ 200 คน

ต่อมาปี พ.ศ. 2543 ได้เปลี่ยนผู้รับใบอนุญาตและผู้บริหารชุดใหม่มีนายมนูญ ชื่นชมเป็นผู้รับใบอนุญาตและผู้อำนวยการและได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนแก่งคอยโปลีเทคนิคเป็นโรงเรียนเทคโนโลยีชื่นชม ไทย – เยอรมัน สระบุรีและได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2543 เปิดสอนในหลักสูตรสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลและอาชีวศึกษา

ในปีการศึกษา 2546 วิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชม ไทย – เยอรมัน สระบุรี ได้เปลี่ยนแปลงผู้อำนวยการจากนายมนูญ ชื่นชมเป็นนายอดิศักดิ์ เพ็งตา ซึ่งเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีศักยภาพเป็นนักวิชาการด้านการศึกษา และมีประสบการณ์ในการจัดระบบการศึกษาเป็นระยะเวลามาประมาณ 25 ปี ให้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

ต่อมาในปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชม ไทย – เยอรมัน สระบุรีได้เปลี่ยนแปลงผู้อำนวยการจากนายอดิศักดิ์ เพ็งตา เป็นนางพร้อมพงษ์ ชื่นชม ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้คู่คุณธรรม จบปริญญาโท ด้านบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และเฉียบคม รอบรู้ด้านวิทยาการต่างๆ เป็นผู้มีอุดมการณ์ รักงานด้านการศึกษา ประสบการณ์ด้านบริหารการศึกษากว่า 30 ปี

ในปัจจุบันวิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชม ไทย – เยอรมัน สระบุรี เปิดสอนระบบเในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และวิทยาลัยเทคโนโลยีชื่น ชื่นชม ไทย – เยอรมัน สระบุรี มีนโยบายนำนักศึกษาไปศึกษาต่อต่างประเทศและมีนักศึกษาแลกเปลี่ยนกับประเทศอาเซียนอาทิเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศพม่า ประเทศสาธารณรัฐประชาชนชาติลาว และเน้นภาษาต่างประเทศโดยมีครูจากต่างประเทศมาสอนอาทิเช่น ภาษาจีน ภาษาเยอรมัน ภาษาเกาหลี

จากแผนและยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อสร้าง ภาพลักษณ์ที่ดีให้กับอาชีวศึกษา สร้างความนิยมในการเรียนการสอนวิชาชีพให้กับสังคม มีเป้าหมายเพิ่มปริมาณผู้เรียน และให้ใช้กิจกรรมบริการสังคม ในโครงการวาระพิเศษต่าง ๆ เพื่อให้สังคมได้รับรู้ถึงศักยภาพของผู้เรียนอาชีวศึกษา จากการดำเนินงานดังกล่าว วิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชม ไทย – เยอรมันสระบุรี ได้ขยายบทบาทการอาชีวศึกษาสำหรับผู้เรียนให้มีคุณภาพตา มาตรฐานการอาชีวศึกษา ด้นคว้า พัฒนา เผยแพร่นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสร้างและพัฒนาอาชีพให้เกิดประโยชน์ ใน ปี 2548 วิทยาลัยได้รับรางวัลสถานศึกษารางวัลพระราชทาน และผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบสามจาก สมศ. ระดับคุณภาพดีมาก ระดับคะแนน 85.75

ทำเนียบผู้บริหาร

1. ดร.มนูญ ชื่นชม เป็นผู้รับใบอนุญาต

2. นางพร้อมพงษ์ ชื่นชม เป็นผู้อำนวยการ

สถานศึกษาและหลักสูตรแบบเรียนร่วมกับสถานประกอบการที่เรียกว่า ระบบทวิภาคี ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ตามรายละเอียดดังนี้

1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม

1.1 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3 สาขางานได้แก่

1.สาขาวิชาช่างยนต์ งานยานยนต์

2.สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขางานไฟฟ้ากำลัง

3.สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานอิเล็กทรอนิกส์

1.2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) บริหารธุรกิจ 4 สาขาได้แก่

4. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

5. สาขาวิชาบัญชี สาขางานบัญชี

6. สาขาวิชาการตลาด สาขางานตลาด

7. สาขาวิชาการโรงแรมและท่องเที่ยว สาขาการโรงแรมและท่องเที่ยว

2. ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ

1.1 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 3 สาขางาน ได้แก่

1.สาขาวิชาช่างยนต์ สาขางานเทคนิคยานยนต์ (ปวช/ม.6)

2.สาขาวิชาไฟฟ้า สาขางานไฟฟ้ากำลัง (ปวช./ม.6)

3.สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานอิเล็กทรอนิกส์(ปวช./ม.6)

1.2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 4 สาขางาน ได้แก่

4. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ปวช./ม.6)

5. สาขาวิชาบัญชี สาขางานการบัญชี(ปวช./ม.6)

6. สาขาวิชาการตลาด สาขางานตลาด(ปวช./ม.6)

7. สาขาวิชาการโรงแรมและท่องเที่ยว สาขาการโรงแรมและท่องเที่ยว(ปวช./ม.6)

ข้อมูลด้านอาคารสถานที่

ชื่อสถานศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชม ไทย-เยอรมัน สระบุรี

ชื่อภาษาอังกฤษ CHUENCHOM THAI-GERMAN COLLEGE OF TECHNOLOG

ที่ตั้งสถานศึกษา เลขที่ 116/2 หมู่ที่ 10 ถนน แก่งคอย-บ้านนา ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

โทรศัพท์ โทร. 036-358311-4 โทรสาร โทร. 036 -358313

สีประจำวิทยาลัย นํ้าเงิน-'ขาว ต้นไม้ประจำวิทยาลัย พญาสัตบรรณ

เว็บไซต์ www.g-tech.ac.th อีเมล gtech2014@hotmail.com

What is g-tech ?

g-tech หมายถึง วิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชม ไทย-เยอรมัน สระบุรี CHUENCHOM THAI-GERMAN COLLEGE OF TECHNOLOG

D: Dual Vocational Education and Training หมายถึง การจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยความ ร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชม ไทย-เยอรมัน สระบุรีกับสถานประกอบการ

T: Technology หมายถึง การน่าเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน

Teamwork หมายถึง การทางานเป็นทีม

Trust หมายถึง มีความไว้วางใจและให้เกียรติกัน

E: Ethics หมายถึง คุณธรรม จริยธรรม Environment หมายถึง การรักษาสิ่งแวดล้อม

Efficiency หมายถึง การทำงานที่เน้นประสิทธิภาพ

Effectiveness หมายถึง การทำงานที่ประสิทธิผล English หมายถึง พัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษ

C: Culture หมายถึง การใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องกล่อมเกลาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนนักศึกษา

Community หมายถึง ความร่วมมือกับชุมซน

Credit หมายถึง มีความภาคภูมิใจในเกียรติภูมิ ศักดิ์ศรีของการประพฤติตนเป็นคนดี

สภาพเศรษฐกิจ

  ลักษณะเศรษฐกิจของประชากรในอำเภอแก่งคอย พบว่า ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรมและปศุสัตว์ นอกจากนี้ในบริเวณพื้นที่อื่นๆของอำเภอแก่งคอยยังเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ประชาชนจึงมีรายได้จากการใช้แรงงานอยู่ในชั้นดี เกษตรกรส่วนใหญ่ได้ขายที่ดินซึ่งใช้ทำการเกษตรไปมากแล้ว จึงทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างดีขึ้น  

สภาพสังคม

  อำเภอแก่งคอยมีประชากรรวมประมาณ 82,106 คน เป็นชาย 40,936 คน เป็นหญิง 41,170 คน อัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 2.5 ต่อปี

2.2 แผนภูมิบริหารสถานศึกษา

(รูปด้านล่างค่ะ)

2.3 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ได้แก่

2.3.1 ข้อมูลด้านผู้เรียนและผู้สําเร็จการศึกษา

ปวช.3 เเรกเข้า 256 คน สำเร็จการศึกษา 222 คน คิดเป็นร้อยละ 86.71

.1 เเรกเข้า 106 คน สำเร็จการศึกษา 98 คน คิดเป็นร้อยละ 86.71

รวม เเรกเข้า 362 คน สำเร็จการศึกษา 320 คน คิดเป็นร้อยละ 88.39

2.3.2 ด้านบุคลากรของสถานศึกษา

ผู้บริหาร/ ผู้รับใบอนุญาตผู้จัดการ/ ผู้อำนวยการ/ รองผู้อำนวยการ/ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ

จำนวน 6 คน

มีใบประกอบวิชาชีพ 5 คน

**************************************************************************

ครู

จำนวน 36 คน

มีใบประกอบวิชาชีพ 20 คน

สอนตรงสาขา 36 คน

**************************************************************************

เจ้าหน้าที่

จำนวน 3 คน

บุคลากรอื่นๆ (นักการภารโรง/ ยามรักษาการ/ พนักงานขับรถ/ ฯ)

จำนวน 3 คน

***************************************************************************

รวมครู 36 คน มีใบประกอบวิชาชีพ 25 คน สอนตรงสาขา 36 คน

รวมทั้งสิ้น 48 คน มีใบประกอบวิชาชีพ 25 คน สอนตรงสาขา 36 คน

****************************************************************************

2.3.3 ด้านหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ---> 3 สาขาวิชา(ปวช.) 3 สาขาวิชา(ปวส.) รวม 6 สาขาวิชา

ประเภทวิชาพานิชยกรรม ---> 3 สาขาวิชา(ปวช.) 3 สาขาวิชา(ปวส.) รวม 6 สาขาวิชา

ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ---> 1 สาขาวิชา(ปวช.) 1 สาขาวิชา(ปวส.) รวม 2 สาขาวิชา

รวมทั้งสิ้น 7 สาขาวิชาระดับปวช. 7 สาขาวิชาระดับ ปวส. 14 สาขาวิชารวมทั้งหมด

2.3.4 ด้านอาคารสถานที่

1.อาคารเรียน จำนวน 7 หลัง

2.อาคารปฏิบัติการ จำนวน 4 หลัง

รวมทั้งสิ้น 11 หลัง

2.3.5 ด้านงบประมาณ

  • งบบุคลากร จำนวน 6,752,550.00 บาท

  • งบดำเนินงาน จำนวน 5,430,000.00 บาท

  • งบลงทุน จำนวน 21,687,752.38 บาท

  • งบเงินอุดหนุน จำนวน 11,493,157.96 บาท

  • งบรายจ่ายอื่น จำนวน 1,260,449.00 บาท

รวมทั้งสิ้น 46,623,909.34

2.4 ปรัชญา อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ของสถานศึกษา

  ปรัชญา

  “เทคโนโลยีเด่น เน้นคุณธรรม นำสังคม”

  อัตลักษณ์

  “คุณภาพและประสิทธิภาพ”

  เอกลักษณ์

  “ความเป็นหนึ่งเดียวและมีความสุข”

2.5 วิสัยทัศน พันธกิจ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ และกลยุทธการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

วิสัยทัศน์

  “มุ่งจัดการศึกษาเพื่อผลิตกำลังคน ด้านวิชาชีพได้มาตรฐานการอาชีวศึกษาสู่สากล ด้วนนวัตกรรมและ เทคโนโลยี มีคุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน”

  พันธกิจ

กำหนดพันธกิจเพื่อให้บรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ดังนี้

พันธกิจที่ 1 จัดการศึกษาวิชาชีพให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน

พันธกิจที่ 2 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม

พันธกิจที่ 3 สร้างนวัตกรรม พัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม

พันธกิจที่ 4 สร้างความร่วมมือในทุกด้านต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

พันธกิจที่ 5 พัฒนาระบบการจัดการบริหารองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล

พันธกิจที่ 6 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนออนไลน์

พันธกิจที่ 7 จัดมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19ในสถานศึกษา

เป้าประสงค์

1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. สูงขึ้น

2.พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.พัฒนาผู้เรียนระดับ ปวช. และ ปวส. ให้เป็นระเบียบวินัยและมีคุณธรรมจริยธรรม

4.ชุมชนและองค์กรท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาโรงเรียน

5.พัฒนาและบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้

6.นักเรียน-นักศึกษาได้เรียนออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

7.วิทยาลัยมีมาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

ยุทธศาสตร์

ประเด็นยุทธศาสตร์ 1 ปฏิรูปด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา

ประเด็นยุทธศาสตร์ 2 ปฏิรูปด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา

ประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ปฏิรูปด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ประเด็นยุทธศาสตร์ 4 ปฏิรูปด้านการบริการและวิชาชีพ

ประเด็นยุทธศาสตร์ 5 สนับสุนส่งเสริมการพัฒนาและสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ การประกอบอาชีพอิสระและงานวิจัย

ประเด็นยุทธศาสตร์ 6 สนับสนุนส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก

ประเด็นยุทธศาสตร์ 7 ปฎิรูปการณ์จัดการฝึกการอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น

ประเด็นยุทธศาสตร์ 8 ส่งเสริมและพัฒนาประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

กลยุทธ์

ประเด็นยุทธศาสตร์ 1 ปฏิรูปด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา

เป้าประสงค์ เพิ่มจำนวนผู้เรียนและพัฒนาผู้เรียนผู้สำเร็จการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตราฐานและตรงกับความต้องการของสถานประกอบการและการประกอบอาชีพอิสระ

แผนยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพและมาตราฐานตามเกณฑ์มาตราฐานวิชาชีพของผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา

กลยุทธ์ 1.1 พัฒนาผู้เรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ

กลยุทธ์ 1.2 พัฒนาผู้เรียนผ่านเกณฑ์การทดสอบการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวะศึกษา

กลยุทธ์ 1.3 พัฒนาผู้เรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของสถาบัณคุณวุฒิวิชาชีพ

กลยุทธ์ 1.4 พัฒนาครูให้มีความชำนาญและเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา

กลยุทธ์ 1.5 พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่ทันสมัย เช่น E-Learning , CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน , E-Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

แผนยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มจำนวนผู้เรียน

กลยุทธ์ 2.1 พัฒนาระบบกลไกลเทียบโอนประสบการณ์

กลยุทธ์ 2.2 สร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

กลยุทธ์ 2.3 แนะแนวเชิงรุก เช่น Open House

กลยุทธ์ 2.4 เร่งประชาสัมพันธ์ความเป็นเลิศและเปลี่ยนภาพลักษณ์

ประเด็นยุทธศาสตร์ 2 ปฏิรูปด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา

เป้าประสงค์ หลักสูตรฐานสมรรถนะและการจัดการเรียนการสอนมีการพัฒนาคุณภาพตรงตามความต้องการ ของสถานประกอบการณ์หรือประชาคมอาเซียน

แผนยุทธศาสตร์ 1 การัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ

กลยุทธ์ 1.1 สำรวจและวิเคาระห์ข้อมูลความต้องการในการพัฒนาหลักสูตร

กลยุทธ์ 1.2 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรและจัดทำแผนการเรียนรู้

กลยุทธ์ 1.3 พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ

กลยุทธ์ 1.4 จัดทำแผนจัดการเรียนรู้รายวิชาสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แผนยุทธศาสตร์ 2 การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน

กลยุทธ์ 2.1 นิเทศการจัดการเรียนการสอนและการนำหลักสูตรฐานสมรรถนะไปใช้

กลยุทธ์ 2.2 พัฒนากระบวนการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนรายวิชา

กลยุทธ์ 2.3 พัฒนาระบบการฝึกงานในสถานประกอบการและศูนย์ฝึกในสถานศึกษา

กลยุทธ์ 2.4 ยกระดับคุณภาพด้านการใช้ภาษาอังกฤษของผู้เรียน

กลยุทธ์ 2.5 นำผลงานวิจัยไปใช้แก้ไขปัญหาการเรียนการสอน

กลยุทธ์ 2.6พัฒนาสื่อการเรียนการสอนออนไลน์

ประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ปฏิรูปด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

เป้าประสงค์ ระบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาการพัฒนาและมีประสิทธิภาพ

แผนยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบบริหารจัดการ

กลยุทธ์ 1.1 ส่งเสริมสนับสนุนการปฎิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษา

กลยุทธ์ 1.2 จัดทำแผนและพัฒนาการบริหารจัดการตามอัตลักษณ์ของสถานศึกษา

กลยุทธ์ 1.3 พัฒนาระบบการบริหารงานและภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา

กลยุทธ์ 1.4 พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา

กลยุทธ์ 1.5 จัดระบบและกลไกลการบริหารความเสี่ยง

แผนยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบดูแลให้คำปรึกษาช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษา

กลยุทธ์ 2.1 สร้างกลไกลและวางระบบดูแลให้คำปรึกษาช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษา

กลยุทธ์ 2.2 ดูแลให้คำปรึกษาช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาของครูที่ปรึกษาและผู้ปกครอง

กลยุทธ์ 2.3 ป้องกันการทะเลาะวิวาท ยาเสพติด ในสถานศึกษา

กลยุทธ์ 2.4 ช่วยเหลือให้คำปรึกษาการหารายได้ระหว่างผู้เรียนและทุนการศึกษา

แผนยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา

กลยุทธ์ 3.1 พัฒนาสภาพแวดล้อมภูมิทัศน์ของสถานศึกษา

กลยุทธ์ 3.2 พัฒนาอาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติติการ ของสถานศึกษา

กลยุทธ์ 3.3 เร่งจัดหาจัดการวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์และคอมพิวเตอร์

แผนยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาและการระดมทรัพยากรในการจัดการอาชีวศึกษา

กลยุทธ์ 4.1 พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาร่วมกับเครือข่าย

กลยุทธ์ 4.2 บริหารการเงินและงบประมานสอดคล้องกับแผนพัฒนาของสถานศึกษา

กลยุทธ์ 4.3 ระดมทรัพยากรในการจัดการอาชีวศึกษากับเครือข่ายในประเทศและต่างประเทศ

กลยุทธ์ 4.4 อมรมพัฒนาศักยภาพครูให้เกิดความชำนาญในเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่

กลยุทธ์ 4.5 อบรมและพัฒนาครูในการทำสื่อการเรียนการสอนออนไลน์และการสอนแบบออนไลน์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ปฎิรูปด้านการบริการและวิชาชีพ

เป้าประสงค์ การบริการและวิชาชีพสู่สังคมชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมได้มาตรฐานสากล

กลยุทธ์ 1 วิเคราะห์ความต้องการรับบริการและวิชาชีพเฉพาะชองชุมชน

กลยุทธ์ 2 ร่วมมือกับเครือข่ายในการบริการวิชาการและวิชาชีพเฉพาะให้กับชุมชน

กลยุทธ์ 3 จัดหาศูนย์ฝึกอบรมยานยนต์เคลื่อนที่บริการวิชาการและวิชาชีพเฉพาะให้กับชุมชน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 สนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาและสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ การประกอบวิชาชีพอิสระและงานวิจัย

เป้าประสงค์ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ การประกอบอาชีพอิสระ งานวิจัยได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้มีคุณภาพและมาตราฐานสากล

แผนยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และงานวิจัยให้มีคุณภาพและมาตราฐานสากล

กลยุทธ์ 1.1 พัฒนาระบบกลไกลการบริหารจัดการการสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และงานวิจัย

กลยุทธ์ 1.2 สร้างและพัฒนาคุณภาพ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และงานวิจัย

กลยุทธ์ 1.3 จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนและประชาสัมพันธ์เผยแผ่ความเป็นเลิศ

แผนยุทธศาสตร์ที 2 การพัฒนางานสร้างสรรค์และการประกอบอาชีพอิสระ

กลยุทธ์ 2.1 พัฒนาระบบการพัฒนาสร้างสรรค์และการประกอบอาชีพอิสระ

กลยุทธ์ 2.2 ร่วมมือกับเครือข่ายดำเนินการของศูนย์บ่มเพาะในสถานศึกษา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 สนับสนุนส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก

เป้าประสงค์ นักเรียนนักศึกษามีจิตสำนึกและเสริมสร้างเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกที่ดี

แผนยุทธศาสตร์ 1 การพัฒนานักเรียนนักศึกษามีจิตสำนึกและเสริมสร้างเป็นพลเมืองไทยที่ดี

กลยุทธ์ 1.1 ปลูกจิตสำนึกด้านการรักชาติเทิดทูนพระมหากษัตริย์และส่งสริมปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

กลยุทธ์ 1.2 บำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม

กลยุทธ์ 1.3 ปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์ 1.4 ส่งเสริมด้านการกีฬาและนันทนาการ

กลยุทธ์ 1.5 ปลูกฝังจิตสำนึกด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แผนยุทธศาสตร์ 2 การพัฒนาครูและนักเรียนนักศึกษาเตรียมพร้อมเป็นพลเมืองโลกที่ดี

กลยุทธ์ 2.1 พัฒนาครูและนักเรียน นักศึกษา การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษไอที

กลยุทธ์ 2.2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการศึกษาศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของอาเซียน

กลยุทธ์ 2.3 แลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาระหว่างกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ 2.4 จัดส่งนักเรียน นักศึกษาฝึกงานประสบการณ์ในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ประเด็นยุทธศาสตร์ 7 ปฎิรูปการณ์จัดการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น

เป้าประสงค์ การบริการจัดการและการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ

แผนยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาหลักสูตร

กลยุทธ์ 1.1 พัฒนาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้

กลยุทธ์ 1.2 ร่วมมือกับเครือข่ายช่วยพัฒนาและสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาเฉพาะเจาะจง

กลยุทธ์ 1.3 ร่วมมือกับเครือข่ายพัฒนาและสร้างหลักสูตรวิชาชีพเฉพาะทางพิเศษ (6-12 ชั่วโมงต่อหลักสูตร)

แผนยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบการฝึกอบรม

กลยุทธ์ 2.1 จัดหาวัสดุครุภัณฑ์แต่ละสาขาวิชาชีพที่ทันสมัย

กลยุทธ์ 2.2 จัดเตรียมและจัดหาพื้นที่ฝึกอบรมที่ทันสมัย

กลยุทธ์ 2.3 พัฒนาและจัดเตรียมเอกสารการฝึกอบรม ใบความรู้ ใบความรู้ ใบสั่งงาน ใบประเมินผลภาคปฎิบัติ

แผนยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาครูบุคลากรและระดมทรัพยากรในการฝึกอบรม

กลยุทธ์ 3.1 ร่วมมือกับเครือข่ายและภูมิปัญญท้องถิ่น

กลยุทธ์ 3.2 พัฒนาครูฝึกอบรมมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพ

กลยุทธ์ 3.3 จัดทำฐานข้อมูลเครือข่ายและภูมิปัญญาท้องถิ่น

แผนยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบบริการจัดการฝึกอบรม

กลยุทธ์ 4.1 จัดทำแผนบริหารฝึกอบรม

กลยุทธ์ 4.2 บริหารเงินงบประมาณสอดคล้องกับแผนพัฒนาสถานศึกษา

กลยุทธ์ 4.3 เร่งประชาสัมพันธ์เชิงรุก เปลี่ยนภาพลักษณ์

แผนยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบการประเมินผลและติดตามการฝึกอบรม

กลยุทธ์ 5.1 จัดระบบฐานข้อมูลและการสืบค้นผู้รับการฝึกอบรมและผู้สำเร็จการฝึกอบรม

กลยุทธ์ 5.2 จัดระบบฐานข้อมูลและการสืบค้นผู้สำเร็จการฝึกอบรมนำความรู้ความสามารถไปใช้ประโยชน์

กลยุทธ์ 5.3 เร่งพัฒนาปรับปรุงกระบวนการฝึกอบรมตามข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ประเด็นยุทธศาสตร์ 8 ส่งเสริมและพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

เป้าประสงค์ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

แผนยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบกระบวนการประกันคุณภาพภายใน

กลยุทธ์ 1.1 กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

กลยุทธ์ 1.2 จัดทำแผนพัฒนาการจัดการของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตราฐานโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

แผนยุทธศาสตร์ที่ 2 การประเมินผลและติดตามผลการประกันคุณภาพภายใน

กลยุทธ์ 2.1 จัดทำแผนประเมินผลและติดตามผลการประกันคุณภาพภายใน

กลยุทธ์ 2.2 ครู/หัวหน้าแผนก จัดทำ SAR ตามตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้อง

กลยุทธ์ 2.3 รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาและแผนการประเมินผล และติดตามผลการประกันคุณภาพภายใน

แผนยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานอาชีวศึกษา

กลยุทธ์ 3.1 จัดทำเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลแต่ละตัวบ่งขี้

กลยุทธ์ 3.2 นำข้อเสนอแนะผลจากการประกันคุณภาพภายในและภายนอกมาพัฒนาสถานศึกษา

ประเด็นยุทธศาสตร์ 9 ส่งเสริมการเรียนรู้ Online learning

เป้าประสงค์ เน้นการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเสริมทักษะทางเทคโนโลยีและลดอัตราการเสี่ยงไวรัส โควิด-19 และเพื่อพัฒนาและการสร้างสื่ออนไลน์

แผนยุทธศาสตร์ 1 การเรียนรู้ออนไลน์ Learning

กลยุทธ์ 1.1 กำหนดมาตรฐานของการจัดทำสื่อออนไลน์

กลยุทธ์ 1.2 จัดทำคู่มือโปรแกรมที่ใช้ทำสื่อออนไลน์

แผนยุทธ์ศาสตร์ 2 มุ่งเน้นการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนออนไลน์

กลยุทธ์ 2.1 การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยโปรแกรมต่างๆ

กลยุทธ์ 2.2 พัฒนาและอบรมครู-อาจารย์เรื่องการเรียนการสอนและการพัฒนาสื่อการเรียนออนไลน์

แผนยุทธศาสตร์ 3 มุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้สื่อการเรียนการสอนออนไลน์

กลยุทธ์ 3.1 อบรมนักเรียนในเรื่องการใช้สื่อการเรียนการสอนออนไลน์

กลยุทธ์ 3.2 สนับสนุนให้นักเรียนเรียนรู้และฝึกปฎิบัติจากสื่อการเรียนออนไลน์

ประเด็นยุทธศาสตร์ 10 มาตรการส่งเสริมการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

เป้าประสงค์ เน้นให้นักเรียนนักศึกษารู้เท่ากันโรคและรู้จักวิธิการที่จะลดโอกาสที่จะเสี่ยงติดเชื้อ

แผนยุทธศาสตร์ 1 รณรงค์ให้นักเรียนนักศึกษาทำความเข้าใจความร้ายแรงของโรคระบาดนี้

กลยุทธ์ 1.1 จัดทำสื่อในรูปแบบต่างๆให้นักเรียนนักศึกษาเกิดความเข้าใจในความร้ายแรงของโรค กลยุทธ์ 1.2 จัดทำสื่อวิธีป้องกันห่างไกลจากโรคระบาดนี้

2.6 เกียรติประวัติของสถานศึกษา ได้แก่ รางวัลและผลงานของสถานศึกษาปีการศึกษาที่จัดทํารายงานผลการประเมินตนเอง

2.6.1 รางวัลและผลงานของสถานศึกษา

2.6.2 รางวัลและผลงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา

1.นางสาวสมัญญา บุตรศรี

ผู้บริหารดีเด่น

ระดับ จังหวัด

ให้โดย อศจ.สระบุรี


2.นายชะลอ พิมพ์ทอง

ครูดีเด่น

ระดับ จังหวัด

ให้โดย อศจ.สระบุรี


3.นางสาวอรทัย พิมพ์ทอง

ครูดีเด่น

ระดับ จังหวัด

ให้โดย อศจ.สระบุรี


2.6.3 รางวัลและผลงานของผู้เรียน

ไม่ส่งนักศึกษาเข้าแข่งขันเนื่องจากสภานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

แผนภูมิบริหารสถานศึกษา ปี 2563