ผู้จัดทำข้อตกลง

นายสมบูรณ์  ดวงแก้ว

ตำแหน่ง  ครู     ไม่มีวิทยฐานะ  

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 24 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- รายวิชาารออกแบบและเทคโนโลยี 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาารออกแบบและเทคโนโลยี 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 3(พต) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิก (เบื้องต้น) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาออกแบบโดยคอมพิวเตอร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาโปรแกรมประมวลผลคำ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6 จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- กิจกรรมนักศึกษาวิชาทหาร/ชุมนุม จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม จำนวน  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

#############################################################

คำสั่งแต่งตั้งครูเข้าสอนภาคเรียนที่ 1/2566

#############################################################

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

- การจัดทำแผนการเรียนรู้ การสร้างสื่อ การสร้างเครื่องมือประเมินผล วิจัยในชั้นเรียน       

- งานที่ปรึกษา งานระบบดูแลนักเรียน งานเยี่ยมบ้าน กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

- การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

- หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน

งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

- เลขานุการวิชาการระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

- ครูประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5

- กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- คณะกรรมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา

- คณะกรรมการหลักสูตรฐานสมรรถนะ

- เลขานุการโปรแกรมนวัตกรรมสื่อ

- คณะดำเนินงานกิจการนักศึกษาวิชาทหาร (นศท.)

- หัวหน้าคณะกรรมการฝ่ายจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน

#############################################################

คำสั่ง การปฏิบัติหน้าที่ตามขอบข่ายสายงานแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566

#############################################################

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เรื่อง การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา ด้วยการสอนแบบ Active Leaning โดยใช้แบบฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

จากการจัดการเรียนรู้วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 3 พบว่านักเรียนไม่เข้าใจถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง

ครูผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Leaning โดยเน้นการเสริมเนื้อหาและประสบการณ์ให้กับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความสนใจ และเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และพัฒนาความสามารถต่าง ๆ นำไปสู่การเรียนรู้เทคโนโลยีอย่างมีความหมาย

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1)  ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2566

2) ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based Learning : PBL)

3) นำจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหามาสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based Learning : PBL) ซึ่งประกอบด้วย หน่วยการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ เขียนแผนการสอนที่มีองค์ประกอบครบถ้วน

4) หาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พิจารณาประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยพิจารณาจากความเหมาะสมภาษา และเวลาที่ใช้ในการเรียน เพื่อนำมาปรับปรุงและแก้ไข

5) ปรับปรุง/พัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้

6) นำกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการปรับปรุงแล้วไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย

7) บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้

8) วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบเป็นระยะ

9) ปรับปรุงแก้ไขกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ม.3

10) เมื่อประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหา นำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพแก่ครูผู้สอนโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ร้อยละ 65 เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบการสอนแบบ Active Leaning มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เรื่อง การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด   

เชิงคุณภาพ 

    - มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เรื่อง การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา ของผู้เรียน

    - นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ปีการศึกษา 2566 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เรื่อง การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา สูงขึ้น

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

นางศิรภัสสร ชุมพูเทพ

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  ผู้อำนวยการชำนาญการ       พิเศษ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ  4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม    ศึกษาตาก เขต 2

นายณฐวรรฏ เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ  4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นางสาวสุพัฒนา ทวีเดช

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ  4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นางนีรชา ทับประดิษฐ์

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ  4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2