รายงานบทสรุปของการปฏิบัติงาน

ข้าพเจ้าในฐานะผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชลบุรี เขต 3 ข้าพเจ้าได้บริหารและพัฒนาการจัดการศึกษาตามกรอบภารกิจของสถานศึกษาอย่างเต็มความรู้ ความสามารถ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาอยู่ที่ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ข้าพเจ้ามองว่าการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบันจะต้องก้าวทันความเปลี่ยนแปลงและต้องเป็นกลไกสำคัญที่สุดที่เป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนภาคส่วนอื่น ๆ ให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ข้าพเจ้าจึงได้เสนอผลการบริหารการศึกษาที่ประสบผลสำเร็จ ดังนี้


วิสัยทัศน์

“มุ่งพัฒนาสู่ความเป็นสำนักงานเขตพื้นที่แห่งนวัตกรรมยุคใหม่ โดยน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน

“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มีการบริหารจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล สร้างโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ

อย่างเท่าเทียม ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในสังคม พัฒนาคุณภาพ

และมาตรฐานสู่การศึกษาไทย ๔.๐”


กระบวนการบริหาร

ข้าพเจ้าบริหารสำนักงานเขตพื้นที่โดยน้อมนำเอาพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่ว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ถือว่าเป็นหัวใจของการทำงานเพื่อรับใช้เบื้องพระยุคลบาทในฐานะข้าราชการ มาเป็นกรอบในการพัฒนา กล่าวคือ เข้าใจ หมายถึง ความเข้าใจแจ่มชัดในประเด็น จุดมุ่งหมาย ทิศทางของงานที่ทำ เข้าถึง หมายถึง การเข้าถึงปัจจัย เช่น องค์ความรู้ หลักคิดทฤษฎี แนวทาง ทรัพยากรการบริหารต่าง ๆ ของงานที่กำลังทำ พัฒนา หมายถึง การลงมือกระทำ และหาทางต่อยอดองค์ความรู้เดิมให้ดีขึ้น สิ่งที่ต่อยอดนี้เป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) เกิดวิธีคิดใหม่ (Paradigm) โดยการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล ขับเคลื่อนการพัฒนาโดยใช้วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Cycle) มีภารกิจหลัก ๔ ขั้นตอน ขั้นที่ ๑ การวางแผน (Plan–P) ขั้นที่ ๒ การปฏิบัติามแผน (Do–D) ขั้นที่ ๓ การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check – C) ขั้นที่ ๔ การแก้ไขปัญหา (Act – A) ขั้นตอนทั้ง ๔ นี้ จะต้องปฏิบัติต่อเนื่องกันเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นต่อไป โดยมีรูปแบบในการปฏิบัติสู่ความสำเร็จ ดังนี้


จากแผนภาพข้างต้น ข้าพเจ้าใช้วงจรคุณภาพ PDCA ขับเคลื่อนกระบวนการบริการจัดการศึกษาไปสู่การปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จ ซึ่งมีรายละเอียดและขั้นตอนดังนี้

1. วางแผน (Plan) โดยศึกษาวิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการ จุดอ่อนจุดแข็ง ของครู บุคลกรทางการศึกษา ทำความเข้าใจหลักการทฤษฎีต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการปฏิบัติราชการ ศึกษาผลการพัฒนาของโรงเรียนบ้านศรีธนในปีที่ผ่านมา วางแผนการปฏิบัติงาน โดยนำสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการดำเนินงาน มาวิเคราะห์เพื่อกำหนดเป้าหมาย และแนวทางในการพัฒนา

2. ปฏิบัติ (Do) โดยการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจขอความร่วมมือในการปฏิบัติงาน แก่บุคลากรในสังกัด และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภารกิจที่จะดำเนินการ เพื่อสร้างความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้วยกัน จัดทำแผนงานโครงการกิจกรรมต่าง ๆ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานฝ่ายต่าง ๆ ผู้รับผิดชอบกิจกรรมโครงการ งาน และแผนงานต่าง ๆ ดำเนินการตามแผน ที่กำหนดไว้ ในขั้นตอนการวางแผน จัดการพัฒนาบุคลากร โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน สนับสนุน งบประมาณ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา

3. ตรวจสอบ (Check) โดยการนิเทศ ติดตาม ให้คำปรึกษา เสนอแนะ ครูทุกคน มีการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานเป็น ระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามความก้าวหน้าหรือปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินงาน แล้วประเมิน และ วิเคราะห์ผลการประเมิน การบริหารและจัดการศึกษาโรงเรียน เป็นระยะ ๆ สรุป และรายงาน ผลการประเมินตนเอง เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนางานและสุดท้ายคือการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครูและบุคลากร

๔. ปรับปรุงแก้ไข (Act) โดยปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานของบุครูและคลากร ตามข้อเสนอแนะจากการประเมินการปฏิบัติงาน พัฒนาบุคลกรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการปฏิบัติงาน โดยใช้ผลการประเมินทางการศึกษาเพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาต่อไป

จากการบริหารโรงเรียนบ้านศรีธนสู่โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ส่งผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ทั้งในด้านผู้เรียน ครู สถานศึกษา ชุมชน และตัวผู้บริหารเอง ดังนี้

๑. ผลที่เกิดกับผู้เรียน ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เพิ่มขึ้น ผลการทดสอบระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ (O-Net) และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ (NT) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติ อยู่ในลำดับที่ ๑๑ และ ๓๑ ของเขตพื้นที่การศึกษา ตามลำดับ ผู้เรียนมีความเป็นเลิศในศิลปะหัตถกรรมนักเรียนในปีการศึกษา ๒๕๖๒ ได้เหรียญเงินระดับชาติกิจกรรม เครื่องร่อนเดินตาม ป.๑-๓

๒. ผลที่เกิดกับครู ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเนื่องในวันครูและมีผลงานระดับชาติ คือ ๑. นายโกวิทย์ วงค์ศรีชา และ ๒. นายนราธิป โชคชยสุนทร ผู้ฝึกสอนกิจกรรมเครื่องร่อนเดินตาม

๓. ผลที่เกิดสถานศึกษา ได้รับการยอมรับและการยกย่องจากต้นสังกัดและชุมชนในพื้นที่ว่ามีคุณภาพ ดังนี้

๓.๑ โรงเรียนบ้านปลาปากน้อย เป็นสถานศึกษาแบบอย่างพอเพียง ปี ๒๕๕๖, -รางวัล MOE Awards ประเภท สถานศึกษา ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี ๒๕๕๘

๓.๒ โรงเรียนบ้านศรีธน เป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล มีผลคะแนนระดับชาติ (O-Net) สูงกว่าระดับชาติ

๔. ผลที่เกิดกับชุมชน ให้ความไว้วางใจและให้การสนับสนุนกิจกรรมโรงเรียน สนับสนุนการพัฒนาผ่านการระดมทุนโดยจัดโครงการบุญกองข้าวทุกปี และสนับสนุนให้โรงเรียนก้าวสู่โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (อ้างอิง หน้า ๒๖-๒๗)

๕. ผลที่เกิดกับผู้บริหาร ๑. รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC Awards) ด้านบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก, ๒. ผู้บริหารสถานดีเด่น สพป.นครพนม เขต ๑ เนื่องในวันครู ๒๕๖๐, ๓. รางวัลคุรุชนคนคุณธรรม วันครูปี ๒๕๖๑, ๔. รางวัลครูดีของแผ่นดิน ปี ๒๕๖๒ ๕.รางวัลครูดีไม่มีอบายมุข วันครูปี ๒๕๖๓ ๖. เป็นคณะทำงานระดับ สพฐ. ในการประเมินรางวัลทรงคุณค่า (OBEC Awards) ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.ศรีสะเกษ