สัปดาห์ที่ 1

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ทำงานได้เร็ว สะดวก และแม่นยำ มากขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานอย่างได้มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ และเข้าใจส่วนประกอบ รวมไปถึงวิธีการทำงานของคอมพิวเตอร์

การทำงานของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มีขั้นตอนการทำงานสำคัญ 4 ขั้นตอนคือ

1. การรับข้อมูลและคำสั่ง

คอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคำสั่ง ผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล

คือ เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ไมโครโฟน ฯลฯ


2. การประมวลผลหรือคิดคำนวณ

ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รับเข้ามา จะถูกประมวลผลโดยการทำงาน

ของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU : Central Processing Unit)

ตามคำสั่งของโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ การประมวลผลข้อมูล เช่น นำข้อมูลมาบวก ลบ คูณ หาร ทำการเรียงลำดับข้อมูล
นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาผลรวม เป็นต้น



3. การเก็บข้อมูล



จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

4. การแสดงผลลัพธ์


คอมพิวเตอร์จะ แสดงผลลัพธ์ของข้อมูลที่ป้อน หรือแสดงผลจากการประมวลผล

ทางจอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) หรือลำโพง




องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์

ที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด รวมทั้งอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ โมเด็ม ฯลฯ

2. ซอฟต์แวร์ (Software) หรืออาจเรียกว่าโปรแกรม หมายถึงชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น

โดยโปรแกรมเมอร์ เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จะช่วยใน

การแก้ปัญหาจากต้นจนจบ จะถูกอ่านจากหน่วยบันทึกข้อมูล ไปเก็บไว้ช่วยคราว

ที่หน่วยความจำแรม แล้วถูกส่งต่อไปยังซีพียู เพื่อควบคุมการประมวลผล และคำนวณ

(1) ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software)

เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของฮาร์ดแวร์ เช่น

1.1 ดอส (DOS : Disk Operating System) ดอส (DOS)

เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาประมาณ ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) การทำงานจะใช้วิธีการพิมพ์ชุดคำสั่งแบบคอมานด์ไลน์ (Command Line) การใช้คำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามจุดประสงค์ของผู้ใช้นั้นจะต้องป้อนข้อมูลลงไปทีละบรรทัด

1.2 วินโดวส์ (Windows)

วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาต่อมาจาก DOS โดยนำรูปแบบกราฟิกมาใช้เป็นหลักการในการสร้างเมนูคำสั่งหรือปุ่มคำสั่งการทำงานต่างๆเข้ามาใช้แทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ระบบปฏิบัติการ Windows แบ่งการทำงานออกเป็นส่วนๆ และการปฏิบัติงานของ Windows ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ รูปแบบของคำสั่งในการสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานจะใช้รูปแบบของกราฟิก โดยใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเลือกคำสั่งจากเมนูที่ได้จัดแบ่งเป็นหน้าต่างของคำสั่งแต่ละส่วน แทนการใช้วิธีการพิมพ์คำสั่งลงไปทีละบรรทัด จึงทำให้การใช้งานบนระบบปฏิบัติการ Windows นั่นใช้งานง่าย ได้รับความนิยมจากผู้ใช้มากใจปัจจุบัน

1.3 ยูนิกซ์ (Unix)

ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นมานับตั้งแต่การนำไปใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี และระบบปฏิบัติการ Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (Open System) เป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับระบบใดระบบหนึ่ง หรือการใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ออกแบบมาเพื่อการนำไปใช้งานในรูปแบบของ Multi-User คือ ผู้ใช้หลายคนสามารถทำงานพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ สามารถนำไปใช้กับการทำงานได้หลายๆงานในเวลาเดียวกัน ที่เรียกว่า Multi-Tasking ปัจจุบันระบบปฏิบัติการ Unix ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการใช้งานระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวและระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย

1.4 ลีนุกซ์ (Linux)

ลีนุกซ์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการ Unix ตระกูลหนึ่งที่ได้รับการพัฒนามาเพื่อเป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์ประเภทแจกฟรี (Freeware) นอกจากเป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ดาวน์โหลดเพื่อนำไปใช้งานได้ฟรีแล้วยังเผยแพร่โค้ดคำสั่ง (Source Code) ของโปรแกรมต้นฉบับเพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำไปพัฒนาต่อหรือแก้ไขระบบต่างๆได้ตามต้องการ ที่เรียกว่า “โอเพนซอร์ซ (Open Source)” จึงมีการผลิตออกมาหลายชื่อแตกต่างกันไป

1.5 Mac (Macintosh) OS เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทแอปเปิ้ลโดยเฉพาะเท่านั้น ซึ่งเน้นการใช้งานประเภทสิ่งพิมพ์ กราฟิก และศิลปะเป็นหลัก เป็นระบบปฏิบัติการแบบเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ได้รับการพัฒนามาจากระบบปฏิบัติการแบบ UNIX แต่ก็ยังเป็นแบบเฉพาะตัวอยู่ คือเครื่องของบริษัทอื่นหรือที่ประกอบขึ้นมาเองไม่สามารถที่จะใช้ระบบปฏิบัติการตัวนี้ได้ เนื่องจากใช้ระบบการประมวลผลที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้รูปแบบและการทำงานต่าง ๆ ของ Mac OS X จะมีระบบสนับสนุนแบบ GUI เช่นเดียวกันกับระบบปฏิบัติการ Windows (และความจริงใช้มาก่อน Windows เสียด้วยซ้ำ)

1.6 Symbian OS เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone นอกจากนั้นยังสนับสนุนการทำงานแบบหลาย ๆ งานในเวลาเดียวกันได้ด้วย (multi-tasking ) ซึ่งทำให้โทรศัพท์มือถือมีความสามารถที่นอกเหนือจากแค่รับสายพูดคุยในแบบทั่วไปเพียงอย่างเดียว เช่น การบันทึกการนัดหมาย ท่องเว็บ ล่งและรับอีเมล์รวมถึงรับแฟกซ์ได้ในเวลาเดียวกัน ผลิตโดย บริษัทซิมเบียน ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมทุนระหว่างผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่หลายค่าย นำโดย Nokia และ Sony ปัจจุบันมีบริษัทยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ได้เอา OS ชนิดนี้ไปใช้งานแล้วในโทรศัพท์มือถือของตน เช่น Sony Ericsson, Motorola, Nokia และ Samsung เป็นต้น

1.7 Android OS คือระบบปฏิบัติการบนมือถือ (Operating System)ระบบปฏิบัติการ Android ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยค่าย Google ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ OpenSource

1.8 iOS มีชื่อที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้จะใช้ชื่อว่า iPhone OS เป็นระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์พกพาของ Apple ที่ทำขึ้นเพื่อ สมาร์ทโฟน , แท็บเล็ต และ เครื่องฟังเพลง และอุปกรณ์อื่นๆ โดยรูปแบบของ iOS คือเป็นระบบปฏิบัติการ ที่ครวบคุม แอพลิเคชั่น การทำงานด้านต่างๆ สามารถดาวน์โหลดแอพจาก App Store ของ Apple เพิ่มเติมได้ เป็นระบบปฏิบัติการปิด ที่สามารถใช้งานได้เฉพาะอุปกรณ์ของ Apple เท่านั้น

(2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น

2.1 ไมโครซอฟท์ เวิร์ด

โปรแกรมประมวลผลคำที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณสร้างเอกสารที่มีคุณภาพระดับมืออาชีพ ด้วยเครื่องมือจัดรูปแบบเอกสารที่ดีที่สุด Word จะช่วยให้คุณจัดระเบียบและเขียนเอกสารของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น Word ยังมีเครื่องมือการแก้ไขและการตรวจทานที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้คุณสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่าย

2.2 ไมโครซอฟท์ เอ็กเซล

Excel เป็นโปรแกรมประเภท สเปรดชีต (Speadsheet) หรือโปรแกรมตารางงาน ซึ่งจะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ลงบนแผ่นตารางงาน คล้ายกับการเขียนข้อมูลลงไปในสมุดที่มีการตีช่องตารางทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งช่องตารางแต่ละช่องจะมีชื่อประจำแต่ละช่อง ทำให้ง่ายต่อการป้อนข้อมูล การแก้ไขข้อมูล สะดวกต่อการคำนวณและการนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ สามารถจัดข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเป็นหมวดหมู่และเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น

2.3 ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์

ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ เป็นโปรแกรมนำเสนอผลงาน สามารถนำเสนอผลงานในแบบต่างๆ รวมถึงมีแม่แบบที่ช่วยผู้ใช้ใช้งานอย่างง่ายดาย และมีแอฟเฟ็คแบบต่างๆ ช่วยตกแต่งให้งานนำเสนอมีความสวยงาม

2.4 ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Software)
เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยทำงานด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดีย เช่น ตกแต่งภาพ วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อภาพเคลื่อนไหว สร้างสรรค์งานสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมถึงการสร้างและออกแบบพัฒนาเว็บไซต์ ให้มีรูปแบบสวยงาม ทันสมัย เหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภท เป็นโปรแกรมที่ง่ายต่อการศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง มีลูกเล่นหลากหลาย สามารถสั่งงานตามความต้องการได้ง่าย ซึ่งถือเป็นโปรแกรมหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานทุกระดับ

2.5 ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บไซต์และการติดต่อสื่อสาร (Web Site and Communications Software) เป็นโปรแกรมที่พัฒนาเพื่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งการเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้มีผู้พัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้งานเฉพาะอย่างเพิ่มขึ้น เช่น โปรแกรมสำหรับตรวจสอบอีเมล การท่องเว็บไซต์ การจัดการและดูแลเว็บไซต์ การส่งข้อความ รวมถึงการประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย เป็นต้น

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

เคสหรือตัวถัง

หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นเป็นเพียงวัสดุที่ทำเพื่อให้เราสามารถติดตั้ง อุปกรณ์ต่างๆ ประกอบกันได้เป็นระเบียบ แล้วก็ช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ด้วย ภายในเคสก็จะมีพื้นที่สำหรับติดตั้งเมนบอร์ด ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ติดตั้งซีดีรอม มีพัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย

พาวเวอร์ซัพพลาย

ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้า ให้กับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพ่วงเยอะ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เช่น 450 วัตต์ เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแส ไฟได้เพียงพอ

หน่วยประมวลผลกลาง

เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประมวลผลและควบคุมระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยทำงานสอดคล้องสัมพันธ์กัน

ชุดพัดลมและฮีตซิงก์

ใช้ติดตั้งบนตัวซีพียู เพื่อช่วยระบายความร้อนออกจากซีพียู โดยพัดลม กับฮีตซิงค์นั้นจะมีขายให้พร้อมกับซีพียู หรือจะซื้อแยกต่างหากก็ได้ พัดลมจะมีความเร็วในการหมุน หากมีความเร็วรอบสูงๆ จะช่วยให้การระบายความร้อนทำได้ดี แต่ก็ทำให้เกิดเสียงดังรบกวน

เมนบอร์ด หรือแผงวงจรหลักที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ การจะให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานได้นั้น ต้องติดตั้งหรือเชื่อมต่อ สายเข้ากับเมนบอร์ด แม้แต่ซีพียูก็ต้องติดตั้งเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดถูกผลิตออกมาเพื่อใช้กับซีพียูต่างรุ่นต่างแบบ และยัง มีผู้ผลิตหลายรายด้วยกัน เช่น ASUS, GIGABYTE, INTEL เป็นต้น

แบตเตอรี่เบอร์ CR2032

เป็นแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟให้กับ CMOS เพื่อเก็บข้อมูลในไบออส เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม วันเวลา ถ้าหากแบตเตอรี่หมดอายุ จะทำให้ข้อมูลในไบออสหายไป ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถ ตรวจสอบ ได้ว่ามีฮาร์ดดิสก์ มีซีดีรอมต่อพ่วงอยู่หรือเปล่า ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานประมาณสองหรือสามปี หากต้องการเปลี่ยนก็หาซื้อได้ตามร้านนาฬิกาหรือร้านถ่ายรูป

แรม (RAM; Random Access Memory)

เป็นหน่วยความ จำที่สามารถเก็บข้อมูล และคำสั่งจากหน่วยรับข้อมูล แต่ข้อมูลและคำสั่งเหล่านั้นสามารถหายไปได้ เมื่อมีการรับข้อมูลหรือคำสั่งใหม่ หรือปิดเครื่อง หรือกระแสไฟฟ้าขัดข้อง หน่วยความจำแรม เป็นหน่วย ความจำที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ จำเป็นจะต้องเลือกซื้อให้มีขนาดใหญ่พอสมควร มิฉะนั้นจะทำงานไม่สะดวก

ฮาร์ดดิสก์ Hard Disk

เป็นที่สำหรับเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ มีความจุสูงถึงหน่วย เมกะไบต์ จนถึง กิกะไบต์ และมีความเร็วสูงในการทำงาน จะประกอบไปด้วยจาน Disk หรือที่เรียกว่า Platters หลายๆ แผ่นมารวมกัน ซึ่งแต่ละด้านของ Platter จะถูกปกคลุมไปด้วยสารประกอบ Oxide เพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลได้ ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)) ส่วนมากจะอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย บางทีถูกเรียกว่า Fixed Disk

การ์ดเสียง

ช่วยให้ฟังเพลง ดูหนัง เล่นเกม บันทึกเสียงเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ แม้เมนบอร์ดส่วนใหญ่ จะรวมเอาการ์ดเสียงเป็นชุดเดียวกับเมนบอร์ด (Sound on Board) แต่ถ้าหากต้องการคุณภาพเสียงที่ดีกว่า หรือต้องการใช้งานด้านตนตรี ตัดต่อวิดีโอ ฟังเพลง ดูหนัง ที่ได้อารมณ์สุดๆ ก็ควรเลือกการ์ดเสียงที่ทำเป็นการ์ด แยกต่างหาก ตัวอย่างการ์ดที่ได้รับความนิยมก็เช่น Creative SoundBlaster Live, Audigy

การ์ดแสดงผลหรือการ์ดจอ

หรือเรียกอีกอย่างก็คือ VGA Card (Video Graphic Array) ถ้าเป็นการ์ดรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้สำหรับเล่นเกมก็จะเรียกว่า 3D Card ซึ่งเป็นการ์ดที่ช่วยให้การแสดงรูปภาพที่เป็นภาพสามมิติทำได้เร็วขึ้น การ์ดแสดงผลจะส่งสัญญาณภาพไปแสดงที่จอคอมพิวเตอร์ การ์ดบางรุ่นจะแสดงผลได้สองจอพร้อมกัน เรียกว่า Dual Head เนื่องจากมีพอร์ตสำหรับต่อสายจากจอมอนิเตอร์ได้สองจอ และการ์ดบางรุ่นจะมีช่องส่งสัญญาณภาพ ออกไปที่โทรทัศน์ได้ด้วย เรียกว่า TV-Out

Combo Drive

หรือไดรฟ์ที่รวมความสามารถของดีวีดี และซีดีอาร์ดับบลิวเข้าด้วยกัน เรียกว่าจะเขียนแผ่นซีดีอาร์ หรือจะดูหนังฟังเพลงผ่านทางดีวีดีก็ย่อมได้ ข้อดีของมันก็คือราคาจะถูกกว่าการซื้อไดรฟ์แยกตัวใดตัวหนึ่ง แถมยังประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งไดรฟ์ไปได้หนึ่งช่อง

CD-RW (Rewriteable CD)

แผ่น CD ที่สามารถบันทึกซ้ำได้ คล้ายกับ Hard Disk หรือแผ่นดิสก์ทั่ว ๆ ไป ราคาจะแพงกว่าแผ่น CD-R ข้อสังเกตว่าแผ่นไหนเป็น CD-RW ให้ดูคำว่า CD-RW บนแผ่น CD สำหรับการบันทึกของแผ่น CD-RW จะเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า multi-sessions เทคโนโลยีของ CD-RW นั้นจะแตกต่างจาก CD-R เนื่องจากต้องมีการบันทึกซ้ำ โดยสารเคมีที่เคลือบบนแผ่น CD-RW นั้นจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อได้รับความร้อนถึงจุด ๆ หนึ่ง

แผ่นดีวีดี

ไม่ต่างไปจากแผ่นซีดีเพียงแต่ว่ามันมีความจุที่มากกว่ามากๆ โดยมาตรฐานของแผ่นดีวีดีแล้ว มันจะมีความจุมากกว่าแผ่นซีดีถึงเจ็ดเท่าทีเดียว ซึ่งด้วยขนาดความจุที่มากมายขนาดนี้นี่เอง ที่ทำให้แผ่นดีวีดีสามารถที่จะบันทึกข้อมูลภาพยนตร์ที่เข้ารหัสแบบ MPEG-2 ได้เต็มๆ

จอภาพ

หรือจะเรียกทับศัพท์ว่ามอนิเตอร์ ที่ด้านหลังของจอจะมีสายเอาไว้ต่อเข้ากับ การ์ดจอ จอภาพก็มีขนาดให้เลือกใช้งานเช่นเดียวกับจอทีวี เริ่มตั้งแต่เล็กๆ 15 นิ้ว 17, 19, 20, 21, 24 มีทั้งแบบจอแบบ CRT หรือจะเล่นจอแอลซีดี LCD ที่มีดีไซน์หรู บางเฉียบ ขนาด 17 นิ้ว ที่สำคัญก็คือช่วยให้คุณทำงานได้สะดวกขึ้น เพราะโปรแกรมเกม ส่วนใหญ่มีเครื่องมือเยอะ ทำให้การแสดงผลบนจอ 15 นิ้วเกะกะจนแทบไม่เหลือหน้าจอสำหรับทำงาน

แป้นพิมพ์

การพิมพ์ข้อความ การสั่งงานคอมพิวเตอร์ และการทำงานหลายๆ อย่างต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ดจะต่อสายเข้ากับพอร์ต PS/2 ของเมนบอร์ด นอกจากนี้ยังมีคีย์บอร์ดที่เป็นแบบ USB คือต้องต่อเข้าที่พอร์ต USB ของเมนบอร์ด และยังมีคีย์บอร์ดไร้สายอีกด้วย

เมาส์

ทำให้คุณสั่งงานคอมพิวเตอร์ ด้วยการชี้และกดเลือกคำสั่งที่ต้องการได้ง่ายกว่า การใช้แป้นพิมพ์ และเม้าส์ยังใช้กับการวาดภาพ เล่นเกม ได้อีกด้วย เม้าส์จะมีให้เลือกใช้งานหลายแบบหลายราคา หลายยี่ห้อ ตั้งแต่ราคาไม่กี่ร้อยจนถึงหลักพัน โดยเม้าส์จะมีแบบที่เชื่อมต่อแบบ PS/2 (ปลายสายจะมีขั้วต่อแบบกลมเล็ก มีเข็มหกอัน ข้างใน) หรือจะเป็นเม้าส์แบบ USB ที่มีขั้วต่อเป็นทรงสี่เหลี่ยมแบนๆ

สแกนเนอร์

เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่อ่านข้อมูลที่อยู่ในรูปของรหัสแท่ง (Bar Code) แล้ว แปลงเป็นข้อมูล ที่อยู่ในรูปที่คอมพิวเตอร์ สามารถรับรู้และนำไปประมวลผลได้ สแกนเนอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

1.แบบแท่นนอน (flatbed scanner)

2.แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-fed scanner)

3.แบบมือถือ