วิวัฒนาการการละคร

. สมัยน่านเจ้า

มีนิยายเรื่อง นามาโนห์รา เป็นนิยายของพวกไต หรือคนไทย ในสมัยน่านเจ้าที่มีปรากฏอยู่ ก่อนหน้านี้คือ การแสดงจำพวกระบำ เช่นระบำหมาก ระบำนกยุง

. สมัยสุโขทัย

พบหลักฐาน การละครและฟ้อนรำ ปรากฏอยู่ในศิลาจาลึก ของพ่อขุนรามคำแหง กล่าว่า เมื่อจักเข้ามาเรียงกันแต่อรัญญิกพู้นเท้าหัวลานด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ ใครจักมักเหล้น เหล้นใครจักมักหัว หัวใครจักมักเลื้อน เลื้อน

จึงทำให้รับวัฒนธรรมของอินเดีย ผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นใหม่ เพื่อนใช้เรียกศิลปะการแสดงของไทย ว่า โขน ละคร ฟ้อนรำ

.สมัยอยุธยา

มีการแสดงละครชาตรี ละครนอก ละครใน แต่เดิม ที่เล่นเป็นละครเร่ จะแสดงตามพื้นที่ว่างโดยไม่ต้องมีโรงละคร เรียกว่า ละครชาตรี ต่อมาได้มีการวิวัฒนาการ เป็นละครรำ เรียกว่า ละครใน ละครนอก โดยปรับปรุงรูปแบบ ให้มีการแต่งการที่ประณีตงดงามมากขึ้น มีดนตรีและบทร้อง และมีการสร้างโรงแสดง

ละครในแสดงในพระราชวัง จะใช้ผู้หญิงล้วน ห้ามไม่ให้ชาวบ้านเล่น เรื่องที่นิยมมาแสดงมี 3 เรื่องคือ อิเหนา รามเกียรติ์ อุณรุท ส่วนละครนอก ชาวบ้านจะแสดง ใช้ผู้ชายล้วนดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว

สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 เป็นสมัยที่โขนเจริญรุ่งเรื่องเป็นอย่างมาก มีละครเรื่องใหญ่ๆ อยู่ 4 เรื่อง คือ อิเหนา รามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลัง

. สมัยธนบุรี

สมัยนี้บทละครในสมัยอยุธยาได้สูญหายไป สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรวบรวมศิลปิน บทละคร ที่เหลือมาทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ อีก 5 ตอนได้แก่

๔.๑ ตอนอนุมานเกี้ยวนางวานริน

๔.๒ ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ

๔.๓ ตอนทศกันฐ์ตั้งพิธีทรายกรด

๔.๔ ตอนพระลักษมณ์ถูกหอกกบิลพัท

๔.๕ ตอนปล่อนม้าอุปการ

นอกจากทรงพระราชนิพนธ์ บทละครในเรื่องรามเกียรติ์ด้วยพระองค์เองแล้ว พระองค์ยังทรง ฝึกซ้อม ด้วยพระองค์เองอีกด้วย

. สมัยรัตนโกสินทร์

๕.๑ พระบาทสมเด็กพระพุทฑยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(รัชกาลที่1)

สมัยนี้ได้ฟื้นฟูและรวบรวม สิ่งที่สูญหายให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นและรวบรวม ตำราการฟ้อนรำ ไว้เป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดในประวัตืศาสตร์ พระองค์ทรงพัฒนาโขน โดยให้ผู้แสดงเปิดหน้าและสวมมงกุฎ หรือชฏา ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก

๕.๒ พระบาทสมเด็กพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่2)

สมัยนี้วรรณคดี และละครเจริญถึงขีดสุด พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงการแต่งกาย ให้เป็นการแต่งยืนเครื่อง แบบในละครใน ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นละครที่ได้รับการยกย่องจาก วรรณคดีสโมสร ว่าเป็นยอดของบทละครรำ คือแสดงได้ครบองค์ 5 คือ ตัวละครงาม รำงาม ร้องเพราะ พิณพาทย์เพราะ และกลอนเพราะ เมื่อปี พ.ศ.2511 ยูเนสโก ได้ถวายพระเกียรติคุณแด่พระองค์ ให้ในฐานะบุคคลสำคัญ ที่มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ระดับโลก

๕.๓ พระบาทสมเด็กพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่3)

สมัยนี้พระองค์ ให้ยกเลิกละครหลวง พระบรมวงศานุวงศ์ จึงพากันฝึกหัดโขนละคร คณะละครที่มีแบบแผนในเชิงฝึกหัดและแสดง ทางโขน ละครถือเป็นแบบแผนในการปฏิบัติสืบต่อมา ถึงปัจจุบันได้แก่

-ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักขณาคุณ

-ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์

-ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ

-ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์

-ละครของพระเข้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทรนกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์

-ละครของเจ้าพระยาบดินทรเดชา

-ละครของเจ้าจอมมารดาอัมพา

-ละครเจ้ากรับ

๕.๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่4)

ได้ฟื้นฟูละครหลวง ขึ้นใหม่อนุญาตให้ราษฎรฝึกละครในได้ ซึ่งแต่เดิมละครในจะแสดงได้แต่เฉพาะในพระราชวังเท่านั้น ด้วยเหตุที่ละครแพร่หลายไปสู้ประชาชนมากขึ้น จึงมีการบัญญัติข้อห้ามในการแสดงลำครที่มิใช่ละครหลวง ดังต่อไปนี้

.ห้ามฉุดบุตรชาย-หญิง ผู้อื่นมาฝึกละคร

.ห้ามใช้รัดเกล้ายอดเป็นเครื่องประดับศีรษะ

.ห้ามใช้เครื่องประกอบการแสดงที่เป็นพานทอง หีบทอง

.ห้ามใช้เครื่องประดับลงยา

.ห้ามเป่าแตรสังข์

.หัวช้างที่เป็นอุปกรณ์ในการแสดงห้ามใช้สีเผือก ยกเว้นช้างเอราวัณ

๕.๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5)

ในสมัยนี้สถาพบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า และขยายตัวอย่างรวดร็ว เพราะได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตก ทำให้ศิลปะการแสดงละครได้มีวิวัฒนาการขึ้นอีกรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้ ยังกำเนิดละครดึกดำบรรพ์ และละครพันทางอีกด้วย นอกจากพระองค์ทรงส่งเสริมให้เอกชนตั้งคณะละครอย่างแพร่หลายแล้ว ละครคณะใดที่มีชื่อเสียงแสดงได้ดี พระองค์ทรงเสด็จมาทอดพระเนตร และโปรดเกล้าฯ ให้แสดงในพระราชฐานเพื่อเป็นการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองอีกด้วย

๕.๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่6)

ในสมัยนี้เป็นสมัยที่โขน ละคร ดนตรี ปี่พาทย์เจริญถึงขีดสุด พระองค์ทรงเป็นราชาแห่งศิลปิน แม้ว่าจะมีประสมการณ์ด้านละครพูดแบบตะวันตก แต่ก็ทรงมีพระราชปณิธานอันแรงกล้า ที่จะทรงไว้ซึ่ง “ความเป็นไทย “ และดนตรีปี่พาทย์ ทั้งยังทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้แก่ศิลปินโขนที่มีฝีมือให้เป็นขุนนาง เช่น พระยานัฏกานุรักษ์ พระยาพรหมาภิบาล เป็นต้น

๕.๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(ราชกาลที่7)

สมัยนี้ประสมภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การเมืองเกิดการคับขัน จึงได้มีการปรับปรุงระบบบริหาร ราชการกระทรวงวังครั้งใหญ่ ให้โอนงานช่างกองวังนอก และกองมหรสพไปอยู่ในสังกัดของกรมศิลปากร และการช่างจึงย้ายมาอยู่ในสังกัดของกรมศิลปากร ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2478 โขนกรมมหรสพ กระทรวงวังจึงกลายเป็น โขนกรมศิลปากร มาแต่ครั้งนั้น ในสมัยนี้มีละครแนวใหม่เกิดขึ้น ที่เรียกว่า ละครเพลง หรือที่รู้จักกันว่า ละครจันทโรภาส

๕.๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล(รัชกาลที่8)

ในสมัยนี้การแสดงนาฎศิลป์ โขน ละคร จัดอยู่ในการกำกับดูแลของกรมศิลปากร หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากรได้ฟื้นฟู เปลี่ยนแปลงการแสดงโขน ละครในรูปแบบใหม่ โดยจัดตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้น เพื่อให้การศึกษาทั้งด้านศิลปะและสามัญ และเพื่อยกระดับศิลปินให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ในสมัยนี้ได้เกิดละครรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า ละครหลวงวิจิตรวาทการ เป็นละครที่มีแนวคิดปลุกใจให้รักชาติ บางเรื่องเป็นละครพูด เช่น เรื่องราชมนู เรื่องศึกถลาง เรื่องพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นต้น

๕.๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช(รัชกาลที่9)

ในสมัยนี้พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บันทึกภาพยนตร์สีส่วนพระองค์ บันทึกท่ารำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ท่ารำเพลงหน้าพาทย์ของพระ นาง ยักษ์ ลิง และโปรดเกล้าฯ ให้จักพิธีไหว้ครู อีกทั้งยังมีการปลูกฝังจิตสำนึกในการร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน สืบทอด และพัฒนาศิลปะการแสดงของชาติผ่านการเรียนการสอนในระดับการศึกษาทุกระดับ มีสถาบันที่เปิดสอนวิชาการละครเพิ่มมากขึ้นทั้งของรัฐและเอกชน มีรูปแบบในการแสดงลำครไทยที่หลากหลายให้เลือกชม เช่น ละครเวที ละครพูด ละครร้อง ละครรำ เป็นต้น


ขอขอบคุณข้อมาูล จาก

ที่มาข้อมูล : https://sites.google.com/site/bluestampnew/home

ที่มาวีดีโอ : https://www.youtube.com/watch?v=wu6sHNUDEv4