โครงการส่งเสริม
"การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมในการจัดการศึกษา"

ครือข่ายนักวิจัย   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครสวรรค์

 

หลักการและเหตุผล 

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฯ  หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 24 (5) กล่าวว่า "ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนการสอนและอำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้  รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ  " มาตรา 30 กล่าวว่า "ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา"นโยบายการศึกษาจากแผนการศึกษาระดับชาติ (2560-2579) ในยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัยและพัฒนาวัตกรรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มีเป้าหมายการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดนโยบายให้มีการวิจัยเพื่อด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ซึ่งเน้นการวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารการจัดการศึกษา การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การวิจัยในชั้นเรียนอันจะส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความรู้ มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 (3Rs8Cs) มีการเรียนรู้ที่ได้ปฏิบัติจริง (Active Learning) คิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหาและสร้างสรรค์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ถือเป็นหน่วยงานต้นสังกัดที่กำกับดูแลสถานศึกษาในสังกัดมีหน้าที่คำปรึกษา ช่วยเหลือและแนะนำสถานศึกษา จึงควรจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนกระตุ้นให้สถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนาการบริหารการจัดการศึกษา การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้  เพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ จึงได้กำหนดโครงการนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์

 เป้าหมาย

เชิงปริมาณ

ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการส่งเสริมให้ใช้กระบวนการวิจัยในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ

ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ด้านการใช้กระบวนการวิจัยในการปฏิบัติงานและ เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้


เชิงคุณภาพ

ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการส่งเสริมให้ใช้กระบวนการวิจัยในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


2. การยกย่องเชิดชูเกียรติ

ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ด้านการใช้กระบวนการวิจัยในการปฏิบัติงานและ เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้


 ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

1. ส่งเสริมให้ใช้กระบวนการวิจัย

ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษา
ได้รับการส่งเสริมให้ใช้กระบวนการวิจัยในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

2. ยกย่องเชิดชูเกียรติ

ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ด้านการใช้กระบวนการวิจัยในการปฏิบัติงานและเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

Research Process 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
นครสวรรค์ มีการส่งเสริม สนับสนุนให้ใช้กระบวนการวิจัย ในการพัฒนาการบริหารการจัดการศึกษา การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรกระบวน
การจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างองค์ความรู้ และชุมนุมทางวิชาชีพ

Good Practices

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
นครสวรรค์ มีงานวิจัยที่มีคุณภาพที่เป็นแบบอย่าง เผยแพร่ทางเว็บไซต์

PLC

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ มีเครือข่ายทีมนักวิจัย ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อสร้างองค์ความรู้ และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community: PLC)