ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์

Center for Continuing Pharmaceutical Education

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Faculty of Pharmaceutical Sciences

สถาบันหลัก ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


วิชาชีพ เภสัชกรรมเป็นวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพและ ชีวิตของประชาชน เนื่องจากองค์ความรู้เกี่ยวกับยามีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการ ประกอบวิชาชีพอยู่ในมาตรฐานและมีความทันสมัยอยู่เสมอ คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมจึงมีมติในวาระที่ 3 (พ.ศ. 2544-2546) เห็นชอบให้มีการจัดระบบการศึกษาต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดระบบการศึกษาต่อเนื่องขึ้น ตามคำสั่งสภาเภสัชกรรมที่ 10/2544 วันที่ 23 มีนาคม 2544 นั้น

สถาบันหลัก การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากสภาเภสัชกรรมให้เป็นผู้จัดการศึกษาต่อเนื่องแก่ผู้ประกอบวิชาชีพ

เภสัชกรรมเป็นการประจำ โดยมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้

1. เป็นแหล่งผลิตกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง โดยมีการประเมินคุณภาพเชิงวิชาการจากผู้เข้าร่วมทุกครั้งเพื่อให้กิจกรรมที่จัดขึ้นมีมาตรฐาน

2. ขึ้นทะเบียน กำกับติดตามการดำเนินงาน และเพิกถอน หน่วยงานในเครือข่าย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ที่สภาเภสัชกรรมประกาศกำหนด

3. กำหนดหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องของกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง ที่สถาบันหลักและหน่วยงานในเครือข่ายเป็นผู้จัดตามหลักเกณฑ์

วิธีการที่สภาเภสัชกรรมประกาศกำหนด

4. ออกหนังสือรับรองการได้รับหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องแก่ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องที่สถาบันหลัก

และหน่วยงานในเครือข่ายได้จัดหรือดำเนินการ

5. บันทึกข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องโดยเคร่งครัดและถูกต้อง และบันทึกข้อมูลรายชื่อผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับหน่วยกิต

การศึกษาต่อเนื่องและจำนวนหน่วยกิตที่ได้รับ

6. ส่งรายงานกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องและข้อมูลตาม ข้อ 5 แก่สภาเภสัชกรรมภายใน 30 วัน ภายหลังการดำเนินการแล้วเสร็จ

7. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหน่วยงานในเครือข่าย รวมทั้งประเมินหน่วยงานในเครือข่าย และประเมินคุณภาพของกิจกรรมเป็นระยะ ๆ หลัง

การขึ้นทะเบียนเพื่อให้กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องที่จัดขึ้นมีมาตรฐาน

8. กำกับดูแลการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของหน่วยงานในเครือข่าย

9. หน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมมอบหมาย


ดังนั้น การศึกษาต่อเนื่องจึงเป็นทั้งกลยุทธในการให้หลักประกันว่าประชาชนจะได้รับ บริการทางเภสัชกรรมจากผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่มีความรู้

ความสามารถที่ทันสมัยและมีมาตรฐาน และยังเป็นกลยุทธในการพัฒนา คุณภาพของวิชาชีพให้เจริญเติบโตก้าวหน้าต่อไปอีกด้วย และระบบการศึกษาต่อเนื่องนี้จะสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในโอกาสต่อไป