ซื่อสัตย์สุจริต

คนมีความสัตย์ ต้องมีความจริง 5 ประการ

ซื่อสัตย์สุจริต มีความหมายว่า ความประพฤติดี ความประพฤติชอบ ประพฤติตรงและจริงใจไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกง และไม่หลอกลวง

คนจะได้ชื่อว่ามีความสัตย์ ต้องมีความจริง 5 ประการ คือ

1. จริงต่อการงาน หมายถึง ทำอะไรทำจริง มุ่งให้งานสำเร็จเกิดประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนรวมได้จริงๆ

2. จริงต่อหน้าที่ หมายถึง ทำจริงในงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเรียกว่า หน้าที่ ทำงานเพื่องาน ทำงานให้ดีที่สุด ไม่เลินเล่อ ไม่หละหลวม ไม่หลีกเลี่ยงบัดพลิ้ว คือ หลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ต้องเอาใจใส่หน้าที่ให้งานสำเร็จเกิดผลดี

3. จริงต่อวาจา หมายถึง การพูดความจริง ไม่กลับกลอก รักษาวาจาสัตย์อย่างเคร่งครัดพูดจริงทำจริงตามที่พูด

4. จริงต่อบุคคล หมายถึง มีความจริงใจต่อคนที่เกี่ยวข้อง ต่อมิตรและผู้ร่วมงานจริงใจต่อเจ้านายของตน เรียกว่า มีความจงรักภักดี จริงใจต่อผู้มีพระคุณ เรียกว่า มีความกตัญญูกตเวที

5. จริงต่อความดี หมายถึง มุ่งประพฤติแต่ความดีจนติดเป็นนิสัย เป็นบุคคลที่ประกอบด้วยคุณธรรม คือ หิริ ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำชั่ว โอตตัปปะ ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่ว

ความสรุปเรื่องความสัตย์สุจริต ขออัญเชิญ พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ได้อ่านเพื่อเป็นมงคลแก่ชีวิต ดังนี้

“ ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่น

คง ”