ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
เรื่อ
การพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูง เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์ตามแนวทางการประเมิน PISA

ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ได้กำหนดคุณภาพ ของผู้เรียนที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ไว้ว่าจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระวิชาภาษาไทย มีทักษะกระบวนการ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาไทย มีความตระหนักในคุณค่าของวิชาภาษาไทย และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ผู้จัดทำข้อตกลงในฐานะที่เป็นครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในรายวิชาการอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง 1 รหัสวิชา ท20201ของนักเรียนชั้น 1 ที่ปฏิบัติการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565จากการศึกษาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งในระดับชั้นเรียน ระดับรายวิชา ระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับสถานศึกษา และระดับชาติ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนขาดทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์

โดยเฉพาะในสาระการเรียนรู้เรื่องการอ่านที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์/ค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้จากการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมายังพบว่าทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ในภาพรวมอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์/ค่าเป้าหมายที่กำหนด แสดงให้เห็นว่ามีปัญหาการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาการอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง 1 รหัสวิชา ท20201 ผู้จัดทำข้อตกลงได้พิจารณาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากนักเรียนขาดทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ซึ่งหากปัญหาเช่นนี้หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือพัฒนาจะก่อให้เกิดผลเสียต่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง 1 รหัสวิชา ท20201 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณภาพผู้เรียนไม่บรรลุเป้าหมายตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2560) และค่าเป้าหมายในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ได้กำหนดไว้

จากปัญหาข้างต้น ผู้จัดทำข้อตกลงได้ทำการศึกษาวิธีการแก้ปัญหาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า แบบฝึกทักษะการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนตามแนวทางประเมิน PISA เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ใน การแก้ไขปัญหา คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนได้ เพื่อให้การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในรายวิชา การอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง 1 รหัสวิชา ท20201 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคุณภาพตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนนครสวรรค์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติหรือคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ รวมถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตลอดจนเพื่อให้เป็นไปตามค่าเป้าหมายในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ได้กำหนดไว้

ผู้จัดทำข้อตกลง จึงขอเสนอประเด็นท้าทายที่แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามระดับการปฏิบัติ ที่คาดหวังของตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการ เรื่อง เรื่องการพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูง เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์ตามแนวทางการประเมิน PISA ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1. สร้างและพัฒนาหลักสูตรรายวิชาโดยวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนนครสวรรค์เพื่อนำไปจัดทำรายวิชาการอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง 1 และจัดทำหน่วยการเรียนรู้ เรื่องฝึกฝนทักษะสู่ความชำนาญเพื่อการแก้ไขปัญหาการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่องการพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูง เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์ตามแนวทางการประเมิน PISA ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาการอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง 1 รหัสวิชา ท20201 ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา นักเรียนและท้องถิ่น

2. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามประเด็นท้าทาย ดังนี้

1) ตัวอย่างการประเมินผลนานาชาติ PISA การอ่าน

2) การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านตามแนว PISA เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณชองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย

3) การพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะการรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) ตามแนวทางการประเมินของ PISA กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

4) การวิเคราะห์การสอบพิซ่าและโอเน็ตของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ เพื่อปฏิรูปการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

5) รายงานการพัฒนาการรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) : PISA

จากนั้นนำมาสรุปเพื่อกําหนดจุดประสงค์การเรียนรู้และขอบเขตที่จะนําไปใช้

3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ ตลอดจนสร้าง/พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และสร้าง/พัฒนาเครื่องมือการวัดและประเมินผลเพื่อการแก้ไขปัญหาการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่องการพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูง เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์ตามแนวทางการประเมิน PISA ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาการอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง 1 รหัสวิชา ท20201

4. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของกลุ่มภาษาไทยเพื่อร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหาและจุดประสงค์ การเรียนรู้ ในด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ที่เป็นนวัตกรรม และเครื่องมือการวัดและประเมินผล พร้อมทั้งนำข้อเสนอแนะจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาพัฒนาและปรับปรุงให้เกิดความสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้

5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ ในรายวิชาการอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง 1 ดำเนินการแก้ไขปัญหาการอ่านคิดวิเคราะห์ เรื่องการพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูง เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์ตามแนวทางการประเมิน PISA ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาการอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง 1 รหัสวิชา ท20201ในรูปแบบ Onsite / Online โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับผลที่ได้จากการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตลอดจนบริบทของโรงเรียนและเปิดชั้นเรียนให้สมาชิกในกลุ่ม PLC ได้เข้าร่วมสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันแล้วสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ของครู

6. วัดและประเมินผลการเรียนรู้หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ โดยจัดทำสารสนเทศข้อมูล ให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อให้นักเรียนปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองให้นักเรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

7. บันทึกผลการเรียนรู้ สรุปผลการวัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนในภาคเรียน/ปีการศึกษาต่อไป

8. รายงานผลการดำเนินการตามข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

เชิงปริมาณ

3.1.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 280 คน ที่เรียนในรายวิชาการอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง 1 รหัสวิชา ท20201 ได้รับการแก้ไขปัญหาเรื่องการพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูง เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์ตามแนวทางการประเมิน PISA ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระดับ 3 ร้อยละ 80 ขึ้นไป

3.1.2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 280 คน ที่เรียนในรายวิชาการอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง 1 รหัสวิชา ท20201 ได้รับการแก้ไขปัญหา เรื่องการพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูง เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์ตามแนวทางการประเมิน PISA ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระดับ 3 ร้อยละ 80 ขึ้นไป

เชิงคุณภาพ

3.2.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 280 คน ที่เรียนในรายวิชาการอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง 1 รหัสวิชา ท20201 มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรสูงขึ้น3.2.2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 280 คน ที่เรียนในรายวิชาการอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง 1 รหัสวิชา ท20201 ได้รับการแก้ไขปัญหาเรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์

3.2.3 ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหา เรื่องการพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูงเรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์ตามแนวทางการประเมิน PISA ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบันได 6 ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาการอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง 1 รหัสวิชา ท20201 ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดมีแรงบันดาลใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ตัวชี้วัด (Indicators)

ผู้เรียนร้อยละ 70 มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครู อยู่ในระดับมากขึ้นไป

แผนภูมิแสดงระดับความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครู

รายวิชาการอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง 2 ภาคเรียนที่ 2/2564 มีจำนวนผู้เรียน 280 คน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 4.59 อยู่ในระดับมาก