เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์

รู้จักกับ ESP8266

ESP8266 คือโมดูล WiFi จากจีน ที่มีความพิเศษตรงที่ตัวมันสามารถโปรแกรมลงไปได้ ทำให้สามารถนำไปใช้งานแทนไมโครคอนโทรลเลอร์ได้เลย และมีพื้นที่โปรแกรมที่มากถึง 4MB ทำให้มีพื้นที่เหลือมากในการเขียนโปรแกรมลงไป

ESP8266 เป็นชื่อของชิปไอซีบนบอร์ดของโมดูล ซึ่งไอซี ESP8266 ไม่มีพื้นที่โปรแกรม (flash memory) ในตัว ทำให้ต้องใช้ไอซีภายนอก (external flash memory) ในการเก็บโปรแกรม ที่ใช้การเชื่อมต่อผ่านโปรโตคอล SPI ซึ่งสาเหตุนี้เองทำให้โมดูล ESP8266 มีพื้นที่โปรแกรมมากกว่าไอซีไมโครคอนโทรลเลอร์เบอร์อื่นๆ

ESP8266 ทำงานที่แรงดันไฟฟ้า 3.3V - 3.6V การนำไปใช้งานร่วมกับเซ็นเซอร์อื่นๆที่ใช้แรงดัน 5V ต้องใช้วงจรแบ่งแรงดันมาช่วย เพื่อไม่ให้โมดูลพังเสียหาย กระแสที่โมดูลใช้งานสูงสุดคือ 200mA ความถี่คริสตอล 40MHz ทำให้เมื่อนำไปใช้งานอุปกรณ์ที่ทำงานรวดเร็วตามความถี่ เช่น LCD ทำให้การแสดงผลข้อมูลรวดเร็วกว่าไมโครคอนโทรลเลอร์ยอดนิยม Arduino มาก


Blynk Application

Blynk Platform คืออะไร

        Blynk Platform เป็น Open Source แพลตฟอร์มอย่างหนึ่ง ซึ่งออกแบบมาสำหรับงาน IoT ที่จะทำให้อุปกรณ์ต่างๆเชื่อมต่อเข้ากับระบบผ่านอินเทอร์เน็ตได้โดยง่าย สามารถควบคุมการทำงานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จากระยะไกลผ่าน Application บน Smartphone ในส่วนของค่าบริการหากใช้งาน Blynk Server จะสามารถใช้งานฟรีสำหรับอุปกรณ์ Prototype และมีค่าบริการสำหรับเชิงธุรกิจ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ link) แต่ข้อดีของ Blynk Platform คือทางผู้ผลิตแจก Source Code สำหรับตั้ง Blynk Server ด้วยตนเองได้ด้วยดังนั้นถ้าใช้วิธีนี้ “*ฟรีค่าบริการ”


องค์ประกอบของ Blynk Platform 

Blynk มีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ส่วน ดังรูป ภาพแสดงการทำงานของ Blynk Platform ประกอบด้วย

– Blynk app คือ แอพลิเคชันใน Smartphone ที่มี widgets ต่างๆ สำหรับการแสดงผลและการควบคุมอุปกรณ์

– Blynk Server คือ ตัวกลางในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ทั้งหมด สามารถใช้ Blynk Cloud ของทาง Blynk platform หรือ ตั้ง Server เองผ่าน Single Board computer เช่น Raspberry Pi หรือ บอร์ดอื่นๆ ได้

– Blynk Libraries คือ ชุด Libraries สำหรับพัฒนาโปรแกรมใน platform ของอุปกรณ์ต่างๆ


อุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับเริ่มต้นใช้งาน Blynk

1. Hardware เนื่องจาก Blynk ทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต (LAN, 3G, 4G, Wi-Fi, อื่นๆ) ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ตัวอย่าง เช่น Arduino, ESP8266, ESP32, Raspberry Pi หรือบอร์ดอื่นๆ

2.Smartphone รองรับการทำงานใน iOS Platform และ Android Platform