Information

             รายละเอียดการแข่งขันแต่ละประเภท

Storytelling in English

การแข่งขันการเล่านิทาน (Storytelling)

คุณสมบัติของนักเรียนผู้เข้ารับการแข่งขัน

นักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่1-3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ฝ่ายมัธยม ที่มีบิดาหรือมารดา หรือผู้ปกครอง ถือสัญชาติไทย และต้องเป็นนักเรียนที่ไม่เคยไปศึกษา หรืออาศัยอยู่ ต่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ นานเกิน 6 เดือน

วิธีดําเนินการและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน

นิทานที่ใช้แข่งขัน สามารถเป็นนิทานพื้นบ้านของไทย นิทานของต่างประเทศ นิทานอีสป หรือเนื้อเรื่องจากวรรณกรรม

 เวลาในการแข่งขัน

ใช้เวลา 7-10 นาที (บวก/ลบ 30 วินาทีไม่ตัดคะแนน) หากใช้เวลาน้อยหรือเกินกว่าเวลาที่กําหนด จะทำการตัดนาทีละ 1 คะแนน

สิ่งที่ผู้เข้าแข่งขันต้องปฏิบัติ

1.       ผู้เข้าแข่งขันต้องส่งบทนิทาน จํานวน 3 ชุด ให้กรรมการตัดสินก่อนการแข่งขันล่วงหน้า 3 วัน นับหลังจากแจ้งวันแข่งขัน

2.       ขณะแข่งขัน ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขันใช้อุปกรณ์หรือเอกสารอื่น ๆ บันทึกช่วยจํา หรือข้อมูล ประกอบการเล่านิทาน และอปุกรณ์สื่อสารทุกชนิดที่เอื้อต่อการแข่งขัน

3.       ผู้เข้าแข่งขันเข้าห้องแข่งขันช้ากว่ากําหนดเวลา ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการเป็นสิทธิ์ขาด

เกณฑ์การให้คะแนน 100 คะแนน

1. เนื้อเรื่อง (Content) ประกอบด้วย

Ø เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัยรูปแบบการเล่าเรื่อง การนําเสนอ (Form & Organization)

Ø  ข้อคิดในการนําเสนอ (Moral)

2.  ความคล่องแคล่วด้านการใช้ภาษา (Language Competence) ประกอบด้วย

Ø ใช้ภาษาถูกต้องคําศัพท์ โครงสร้างคําสันธานและความเหมาะสมกับระดับช้ัน - ความสามารถด้านการออกเสียง (Pronunciation)

Ø การใช้น้ําเสียง และอารมณ์สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง (Tone)

3.  เล่าตามเวลาที่กําหนด (Time)

Ø 7-10 นาที

4.  การแต่งกาย

Ø แต่งกายเหมาะสมกับตัวละคร และเนื้อเรื่อง

จัดสถานที่แข่งขันเป็น 2 ห้อง ดังนี้

Ø ห้องที่ 1 ห้องเก็บตัว หลังจากผู้เข้าแข่งขันทุกคนลงทะเบียนและรายงานตัวเรียบร้อยแล้ว ให้จับสลากลําดับการแข่งขันแล้วนั่งรอในห้อง และมีผู้ประสานงานที่มีคุณสมบัติในการช่วยนักเรียนผ่อนคลายจากความตื่นเต้นกังวล

Ø ห้องที่ 2 ห้องสำหรับการแข่งขัน เป็นห้องที่ประกอบด้วยเวทีสำหรับผู้เข้าแข่งขัน และเปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้ามารับชมได้

รางวัลในการแข่งขัน

Ø รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล พร้อมเกียรติบัตร

Ø รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จำนวน 1 รางวัล พร้อมเกียรติบัตร

Ø รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จำนวน 1 รางวัล พร้อมเกียรติบัตร

Ø ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกคนจะได้รับเกียรติบัตรทุกคน

คณะกรรมการ :

1. ดร.แวววลี แววฉิมพลี

2. ผศ.อรสิริ วิมลธรรม์

3. ดร.จตุพล ภู่ละกอ

การแข่งขันบรรยายภาพจีน


ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน : จำนวน 7 คน โดยพิจารณาจากลำดับเวลาที่สถาบันภาษาได้รับใบสมัคร


คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน : นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาเท่านั้น


รายละเอียดเกณฑ์การแข่งขัน : เป็นการแข่งขันการใช้ภาษาจีนบรรยายหรือเล่าเรื่องให้สอดคล้องกับภาพที่ได้ โดยใช้ระยะเวลาในการแข่งขันคนละไม่เกิน 5 นาที 


เกณฑ์การให้คะแนน (100 คะแนน) :

การออกเสียงถูกต้อง               30        คะแนน

การใช้ไวยากรณ์ภาษาจีนอย่างถูกต้อง       30        คะแนน

ความสัมพันธ์และความสอดคล้องกับภาพที่ได้ 30     คะแนน

การใช้เวลาตามกำหนด         10        คะแนน

 

เกณฑ์การตัดสิน :

คะแนนสูงสุดอันดับที่ 1 ได้รับรางวัลชนะเลิศ

คะแนนสูงสุดอันดับที่ 2 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1

คะแนนสูงสุดอันดับที่ 3 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2

ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

 

คณะกรรมการ :

1.     ดร. ธีรวัฒน์ การโสภา 

2.     อาจารย์พชรพล ชื่นจิตร 

3.     อาจารย์ Zhang Mingke

 

การอ่านร้อยแก้วภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ

ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน :

ประเภทเดี่ยวตามจำนวนการสมัคร

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน : เป็นนักศึกษาชาวต่างชาติทุกชั้นปี หรือนักศึกษาชาวต่างชาติที่มาเรียนในโครงการระยะสั้นที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยอาศัยอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศก็ได้

 

รายละเอียดเกณฑ์การแข่งขัน :

1. บทอ่านในการอ่านร้อยแก้วภาษาไทยเป็นบทอ่านแบบฉับพลัน โดยผู้เข้าแข่งขันจะมีเวลาเตรียมตัวก่อนอ่าน 5 นาที

2. ผู้เข้าแข่งขันอ่านบทอ่านภาษาไทยที่คณะกรรมการได้เตรียมไว้ให้บนเวทีการแข่งขันตามลำดับ

3. ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนสูงสุดจะได้เป็นผู้ชนะรางวัลที่ 1, 2 และ 3


เกณฑ์การให้คะแนน (100 คะแนน) :

การอ่านถูกต้องตามบทอ่าน                             20 คะแนน

การอ่านออกเสียงคำตามหลักการอ่านภาษาไทย        20 คะแนน

การออกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และคำควบกล้ำ  20 คะแนน

การใช้น้ำเสียงในการอ่าน                                    20 คะแนน

บุคลิกภาพ                                                20 คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน :

คะแนนสูงสุดอันดับที่ 1 ได้รับรางวัลชนะเลิศ

คะแนนสูงสุดอันดับที่ 2 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1

คะแนนสูงสุดอันดับที่ 3 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2

ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

คณะกรรมการ :

1. ผศ.ดร.ปทุมวดี ล้ำเลิศ

2. อาจารย์วุฒินันท์ ชัยศรี

3. อาจารย์ชมชนก ธนาวีราภรณ์

English Singing Contest

ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน :

แข่งขันประเภทรวม จำนวน 10 คน โดยพิจารณาจากลำดับวันเวลาที่สถาบันภาษาได้รับใบสมัคร

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน : นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาเท่านั้น

รายละเอียดเกณฑ์การแข่งขัน :

สิ่งที่ผู้เข้าประกวดต้องเตรียม

       1) ผู้เข้าประกวดทุกคนจะต้องเตรียมเพลงสำหรับการประกวด 1 เพลง โดยใช้เพลงช้าหรือเพลงเร็วก็ได้ในการประกวด โดยไม่ใช้เพลงที่มีลักษณะ เมดเลย์ (Medley) และ เพลงที่มี Melody Guide เพลงที่มีความยาวเกิน 5 นาที

 2) ผู้เข้าประกวดจะต้องเตรียมดนตรีที่ใช้ประกอบการขับร้อง (Sound) มาเองในรูปแบบแฟลชไดรฟ์ โดยดนตรีประกอบการขับร้องจะต้องไม่มีเสียงร้องและไม่มีเสียงดนตรีบรรเลงทำนอง (Melody guide) หรือเสียงร้องประสาน (Chorus) แทรกเข้ามา ถ้ามีกรรมการแต่ละคนจะตัดคะแนนในส่วนของทำนอง 5 คะแนน

 3) แฟลชไดรฟ์ ที่ใช้ประกอบการขับร้อง ตามข้อ 2) ให้ทำมา 1 แผ่น โดยไม่มีเพลง

อื่นร่วมอยู่ในแผ่น

 4) ผู้เข้าประกวดจะต้องเตรียมเนื้อเพลง โดยจัดพิมพ์และสำเนาจำนวน 3 ชุด ส่งที่คณะกรรมการ

จัดการประกวดในวันรายงานตัว ถ้าไม่เตรียม ตามที่กำหนดให้กรรมการแต่ละคนตัดคะแนนในส่วนของคะแนนรวม (5 คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน (100 คะแนน) :

1)  การใช้เสียง/น้ำเสียง หมายถึง การควบคุมและบังคับลมในการขับร้องดี มีการใช้เทคนิคการขับ

ร้อง อย่างครบถ้วนและถูกวิธี น้ำเสียงสดใสกังวาน มีพลังเสียง มีความกลมกลืนในการเอื้อนเสียง (30 คะแนน)

2) เนื้อร้อง/ อักขระ/ ภาษา หมายถึง คำร้องถูกต้องครบถ้วน (20 คะแนน)

3) ทำนอง หมายถึง ร้องถูกต้องตามระดับเสียงและคีย์เพลง เพลงที่ร้องมีการร้องโน้ตที่ยากและร้อง

ได้ดีไม่มีเสียงแกว่งหรือเสียงเพี้ยน (20 คะแนน)

4) จังหวะ หมายถึง ไม่ร้องคร่อมหรือหลงจังหวะ มีความมั่นใจในการเข้าจังหวะในวรรคตอนต่างๆ (20 คะแนน)

5) บุคลิกภาพ หมายถึง การใช้อารมณ์ ลีลา ท่าทาง ที่สอดคล้องกับบทเพลง (10 คะแนน)

เกณฑ์การตัดสิน :

- ทำการแข่งขันจำนวน 1 รอบ ผู้เข้าแข่งขันร้องเพลง 1 เพลง ผู้ที่ได้คะแนนรวมจากกรรมการสูงสุด 3 อันดับ ได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2

หมายเหตุ

1. ผู้เข้าประกวดจับฉลากและส่งซาวด์เพลงสำหรับใช้ประกวด เวลา 10.00 น. ณ บริเวณจุดลงทะเบียนข้างเวที

2. ให้ผู้เข้าประกวดรอคิวขึ้นประกวดบริเวณข้างเวทีด้านขวา หากประกาศเรียก 2 ครั้ง ไม่อยู่ถือว่าสละสิทธิ์

3. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือว่าเป็นที่สิ้นสุด

4. เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

คณะกรรมการ :

1. ดร.ธนเศรษฐ ชะวางกลาง

2. ผศ.พิชญาภา ชะวางกลาง

3. Mr.James Turnbull


Speech Contest

 ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน :  

แข่งขันประเภทเดี่ยว จำนวน 10 คน โดยพิจารณาจากลำดับวันเวลาที่สถาบันภาษาได้รับใบสมัคร 

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน : นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาเท่านั้น  

รายละเอียดเกณฑ์การแข่งขัน : 

เกณฑ์การตัดสิน : 

หมายเหตุ : ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด 

  

เกณฑ์การให้คะแนน (100 คะแนน) : 

1. ด้านเนื้อหา (Content) (40 คะแนน) 

- เนื้อหาถูกต้องตามหัวเรื่องที่กำหนด (Accuracy and Consistency)   15 คะแนน 

- ความถูกต้องของภาษาในรูปแบบสุนทรพจน์ (Form & Organizing of Speech)  15 คะแนน 

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) 10 คะแนน


2. ความคล่องแคล่วในทักษะภาษา (Language Competence and Fluency) (40 คะแนน) 

- การใช้คำเหมาะสมกับระดับชั้น (Difficulty Level Appropriateness)  10 คะแนน 

- ด้านศัพท์ (Vocabulary) โครงสร้าง และคำสันธาน (Structure & Connectors)   10 คะแนน 

- ความสามารถในด้านการออกเสียงการเน้นคำ การลงเสียงสูง เสียงต่ำ การเน้นคำสำคัญในประโยคและจังหวะการหยุดเมื่อจบประโยค (Pronunciation, stress, Intonation, rhythm, pausing and pace of speech)   10 คะแนน 

- การใช้น้ำเสียงสอดคล้องกับเนื้อหาที่พูด (Tone consistent with Content) 10 คะแนน 

3. ความสามารถในการถ่ายทอด (Presentation) (15 คะแนน) 

- ความสามารถในการสื่อถึงผู้ฟัง (Communication to Audience) 10 คะแนน 

- บุคลิก ท่าทาง (Gestures and Body Language) 5 คะแนน 

4. พูดในระยะเวลาที่กำหนด (Within Time Limit) 5 คะแนน 


คณะกรรมการ :  


การเขียนตามคำบอกภาษาฝรั่งเศส (Dictation)

ชื่อการแข่งขัน : การแข่งขันเขียนตามคำบอกภาษาฝรั่งเศส (Dictation)

ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน :

 ประเภททีม ทีมละ 2 คน

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน : นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาเท่านั้น

 

รายละเอียดเกณฑ์การแข่งขัน :

การดำเนินการแข่งขัน มีรายละเอียด ดังนี้

1. ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาเตรียมตัว 5 นาที ก่อนเริ่มการแข่งขัน

2. คณะกรรมการดำเนินการแข่งขันโดยการอ่านคำศัพท์ภาษาฝรั่งเศส คำละ 2 ครั้ง โดยคำศัพท์ที่ใช้ในการแข่งขัน จะมาจากคำศัพท์ในระดับ A1 (ระดับพื้นฐาน)

3. ผู้เข้าแข่งขันเขียนคำศัพท์จำนวน 20 คำ คำละ 5 คะแนน ลงในกระดาษที่กรรมการเตรียมไว้ให้ โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการเขียนคำศัพท์ 30 วินาที ต่อ 1 คำ

4. หากมีผู้เข้าแข่งขันได้คะแนนเท่ากัน คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะใช้คำศัพท์สำรอง หากมีผู้เข้าแข่งขันคนใดตอบผิดในแต่ละข้อ จะถือว่าตกรอบทันที

5. ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนสูงสุดจะได้เป็นผู้ชนะรางวัลที่ 1, 2 และ3

เกณฑ์การให้คะแนน (100 คะแนน) :

คณะกรรมการดำเนินการแข่งขันตรวจสอบการสะกดคำของผู้เข้าแข่งขัน ทั้งหมด 20 คำ คำละ 5 คะแนน โดยมีเกณฑ์ ดังนี้

1. ผู้เข้าแข่งขันเขียนคำศัพท์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน ได้ 5 คะแนนต่อ 1 คำศัพท์

2. หากผู้เข้าแข่งขันเขียนคำศัพท์ผิด/ไม่ครบถ้วน ได้ 0 คะแนน ต่อ 1 คำศัพท์

เกณฑ์การตัดสิน :

คะแนนสูงสุดอันดับที่ 1 ได้รับรางวัลชนะเลิศ

คะแนนสูงสุดอันดับที่ 2 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1

คะแนนสูงสุดอันดับที่ 3 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2

หมายเหตุ : ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

คณะกรรมการ :

1. อาจารย์มยุรี แคนตะ

2. อาจารย์วิจิตรภรณ์ จันทร์พงษ์

3. ดร.ธนากร ประพฤทธิพงษ์

การแข่งขันตอบปัญหา ภาษา สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ชื่อการแข่งขัน : การแข่งขันตอบปัญหา ภาษา สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน : 

 

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน : นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาเท่านั้น

 

แบ่งออกเป็น 3 รอบ 

รอบที่ 1  ถ้านักศึกษาทีมใดตอบผิดเมื่อใดจะคัดนักศึกษากลุ่มนั้นออก จนกว่าจะเหลือ 6 กลุ่มสุดท้าย

รอบที่ 2 ให้นักศึกษาแข่งขันกันตอบคำถามเพื่อหากลุ่มที่ทำคะแนนได้มากที่สุด 3 กลุ่มสุดท้ายเพื่อเข้ารอบถัดไป

รอบที่ 3 แข่งขันตอบคำถามจนได้ผู้ที่มีคะแนนสูงสุดจะนับเป็นชนะเลิศ ลำดับที่สองจะเป็นรองชนะเลิศ และลำดับที่สาม จะได้รางวัลที่ 3

เกณฑ์การตัดสิน :

ผู้ที่ตอบคำถามได้ถูกต้องที่สุด / ผู้ที่ตอบคำถามได้เร็วและถูกต้องที่สุด 


คณะกรรมการ : 

1. อาจารย์พุทธรักษ์ เกตุเอม 

2. อาจารย์ Yumi Ueda 

3. อาจารย์ Iori Yoneda