๕.๕ ทบทวนการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ข้อเท็จจริง/ความเป็นมา :

ตามที่สภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในคราวประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มีมติเห็นชอบให้เสนอขอโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน ๑๑ ราย ต่อมาสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้มีหนังสือ (ที่ อว o๒๒๗.๕ (๒)/๗๙๘๐ ลงวันที่ 5 ธันวาคม ๒๕๖๒) แจ้งว่าได้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดํารงตําแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ปรากฏว่า นายประสาท สืบค้า ปัจจุบันดํารงตําแหน่งประธานกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) ได้เคยมีวินิจฉัยเพื่อการปฏิบัติตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๙/๒๕๕๕ เรื่อง การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา เห็นว่าโดยบทบาทของคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นองค์กรตามกฎหมายที่มีหน้าที่ในการกําหนดและกํากับติดตามให้การจัดการศึกษาซึ่งเป็นบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ รวมถึงบางกรณี คณะกรรมการการอุดมศึกษาคณะกรรมการการอุดมศึกษายังมีบทบาทอย่างมีนัยสําคัญในการออกคําสั่งทางปกครองตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่สภาสถาบันอุดมศึกษาก็เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการกํากับดูแลให้ การบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากําหนด หรือตามกฎหมายแล้วแต่กรณี ซึ่งบางครั้งสภาสถาบันอุดมศึกษายังอาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากการมีมติของคณะกรรมการการอุดมศึกษา

กรณีนี้จึงเห็นว่าบทบาทของคณะกรรมการการอุดมศึกษามีอํานาจและหน้าที่ในการให้คําแนะนําต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบัน คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) เพื่อออกคําสั่งหรือดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ได้โดยตรง ซึ่งอาจกระทบต่อการดํารงตําแหน่งของนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาด้วย ดังนั้น เพื่อให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาและสภาสถาบันอุดมศึกษาสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นกลาง จึงไม่ควรเสนอแต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งประธานกรรมการการอุดมศึกษาหรือกรรมการการอุดมศึกษาไปดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา เพราะอาจส่งผลต่อการขัดกันของอํานาจหน้าที่ ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้เคยพิจารณากรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเสนอขอโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีผู้ที่ดํารงตําแหน่งกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษาอยู่ด้วย และมีข้อสั่งการให้ส่งคืนเรื่องให้สภามหาวิทยาลัย พิจารณาทบทวนให้เป็นไปตามคําวินิจฉัยเพื่อการปฏิบัติตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๙/๒๕๕๔ ดังกล่าวข้างต้น

ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินการเสนอขอโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กฎหมายกําหนดและเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงขอส่งคืนเรื่องเพื่อให้สภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาพิจารณาทบทวนการเสนอขอโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามคําวินิจฉัยเพื่อการปฏิบัติตามคําสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๙/๒๕๕๙ เรื่อง การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาต่อไป

ในการนี้ มหาวิทยาลัยจึงเสนอเรื่องทบทวนการเสนอขอโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

จึงนำเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา

กฎหมาย/ข้อบังคับ/ระเบียบ/คำสั่ง/ประกาศ ที่เกี่ยวข้อง :

    • ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ว่าด้วย คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๒
    • คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๔/๒๕๕๙ เรื่อง การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา
    • หนังสือกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ ๐๒๐๑.๑/ ๓๙๕๓ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๙ เรื่อง แจ้งการวินิจฉัยเพื่อการปฏิบัติตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๓๕/๒๕๕๔ เรื่อง การจัด ระเบียบแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔
  • ประเด็นเพื่อพิจารณา :

๑. การเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

๒. ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ (ถ้ามี)

มติสภามหาวิทยาลัย

.............................................................................................................................................................................