ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ
ให้นักเรียนศึกษาจากวิดีทัศน์แล้วบันทึกลงในสมุด
ระบบประสาท (Nervous System) เป็นศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ในการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยทำหน้าที่ประสานสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะสัมผัสกับอวัยวะมอเตอร์ ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ การทำงานของต่อมและระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อีกทั้งเป็นศูนย์ของความรู้สึกนึกคิดสติปัญญา การเรียนรู้ ความจำ ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
ระบบประสาทประกอบด้วย
1.สมอง (Brain)
เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีรูปร่างเป็นก้อนรูปไข่ประกอบด้วยเซลล์ประสาทมากมาย จำนวนประมาณพันล้านเซลล์อยู่ในกะโหลกศีรษะ เซลล์ประสาทในสมองแผ่กระจายกระแสไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง สมองมีน้ำหนักเพียง 2% ของร่างกาย ต้องการออกซิเจนไปเลี้ยง 20% ของออกซิเจนที่สูดเข้าไปใช้ในร่างกาย สมองของเด็กแรกเกิดมีน้ำหนักประมาณ 300 – 400 กรัม แล้วเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงอายุ 15 ปี มนุษย์ถือได้ว่าเป็นสัตว์โลกที่มีสมองใหญ่และมีคุณภาพมากที่สุด มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1,300 – 1,400 กรัม มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งมีความหนาและแข็งแกร่ง ทำหน้าที่ ป้องกันไม่ให้สมองได้รับความกระทบกระเทือน
สมองแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
-สมองส่วนหน้า ได้แก่ ซีรีบรัม (Cerebrum) ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) ทาลามัส (thalamus)
-สมองส่วนกลาง
-สมองส่วนท้าย ได้แก่ เซรีเบลลัม (Cerebellum) พอนส์ (pons) เมดุลลาออบลองกาตา (medulla oblongata)
สมองประกอบด้วยส่วนสำคัญ 8 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่
1.ซีรีบรัม (Cerebrum) เป็นส่วนของสมองที่อยู่บนสุดของศีรษะ มีรูปร่างเป็นพูย้อย ตั้งแต่หน้าผากไปตามรูปของกะโหลกศีรษะจนถึงบริเวณท้ายทอย มีขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ 80% ของสมองทั้งหมด บริเวณเปลือกนอกจะมีลักษณะเป็นรอยหยัก ยับย่นจีบ เป็นร่องลึก เรียกว่า คอร์เทกซ์ (Cortex) ซึ่งจัดว่าเป็นบริเวณที่สำคัญมาก ทั้งนี้เนื่องจากพบว่าคนที่มีความฉลาดมากและอัจฉริยะมักจะมีคอร์เทกซ์หรือรอยหยักส่วนนี้มากกว่าปกติ เนื่องจากจะทำให้มีพื้นที่ในการใช้งานของสมองมากตามไปด้วย
สมองเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นศูนย์กลางในการควบคุมพฤติกรรมการเรียนรู้ ความจำ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล เป็นต้น ในส่วนของสมองแบ่งออกได้อีก 4 ส่วนย่อย ซึ่งในแต่ละส่วนจะมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังนี้
-ูสมองส่วนหน้า (frontal lobe) ในบริเวณนี้จะแบ่งออกได้อีก 2 ซีก คือ ซีกซ้าย (left themisphere) และซีกขวา (right themisphere) โดยมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย แต่การสั่งงานจะกลับด้านกัน คือสมองซีกซ้ายจะควบคุมการทำงานของอวัยวะด้านขวาของร่างกาย ส่วนสมองซีกขวาจะควบคุมการทำงานของอวัยวะด้านซ้ายของร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของอารมณ์ การพูด ความคิด การจำ การเรียนรู้ และการใช้ภาษาอีกด้วย
-ูสมองส่วนกลาง (Parietal lobe) เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกต่าง ๆ ทั่วไปของร่างกาย เช่น ร้อน หนาว เจ็บปวด เป็นต้น หรือเรียกส่วนนี้อีกอย่างหนึ่งว่าเขตรับสัมผัส -สมองส่วนข้าง (temporal lobe) เป็นส่วนที่อยู่บริเวณด้านข้างของสมองตรงขมับ มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับรู้ในด้านรส กลิ่น เสียง และความเข้าใจด้านภาษา หรืออาจเรียกส่วนนี้อีกอย่างหนึ่งว่าเขตการฟัง
-ูสมองส่วนหลัง (occipital lobe) เป็นบริเวณที่อยู่ท้ายสุดของสมองตรงท้ายทอย มีหน้าที่ควบคุมการรับรู้ทางสายตาให้เกิดการมองเห็นภาพต่าง ๆ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน หรืออาจเรียกบริเวณส่วนนี้ว่า เขตการเห็น
2. สมองเล็ก (cerebellum) เป็นสมองส่วนที่อยู่บริเวณท้ายทอยใต้สมองแท้ลงมา รูปร่างเหมือนใบไม้มีลักษณะเป็นรอยหยักย่นเช่นกันแต่น้อยกว่าสมองแท้ ชั้นนอกเป็นสีเทา (gray matter) ส่วนชั้นในเป็นสีขาว (white matter) มีหน้าที่สำคัญคือช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของสมองสามารถทำงานประสานกันได้เป็นจังหวะเดียวกันเพื่อทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เช่น การเล่นเทนนิสจะตีลูกให้ถูกได้ อวัยวะหลายส่วนจะต้องทำงานประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ตา หู แขน ขา มือ ฯลฯ หน้าที่อีกประการหนึ่งคือควบคุมการทรงตัวของร่างกาย เนื่องจากสมองเล็กเป็นตัวรับกระแสประสาทจากอวัยวะรับสัมผัสที่ใช้ควบคุมการทรงตัวซึ่งอยู่บริเวณหูชั้นใน ทำให้เกิดความสมดุลในขณะที่ร่างกายกำลังอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ เช่น ขณะยืน เดิน หมุนตัว กระโดด เป็นต้น นอกจากนี้ยังควบคุมการเกร็งตัวของร่างกายอีกด้วย
3.ทาลามัส (thalamus) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากสมองซีรีบรัมลงมา ทำหน้าที่เป็นศูนย์รับกระแสประสาทความรู้สึกที่ถูกส่งมาจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่ไขสันหลัง ผ่านก้านสมอง (medulla oblongata) พอนส์ และสมองส่วนกลาง (midbrain) ตามลำดับ จนถึงทาลามัส จากนั้นทาลามัสจะจัดการแยกกระแสประสาทเหล่านั้นเพื่อเข้าสู่สมองเขตต่าง ๆ อีกทอดหนึ่ง และเมื่อสมองสั่งการเช่นใด ทาลามัสจะรับคำสั่งนั้นส่งเข้าสู่สมองส่วนกลาง พอนส์ ก้านสมอง และสู่ไขสันหลัง เพื่อส่งคำสั่งนั้นให้ไปมีผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เท่ากับว่าทาลามัสเป็นสถานีสุดท้ายในการจ่ายกระแสประสาทให้กับสมอง และเป็นสถานีแรกที่รับคำสั่งจากสมองเพื่อจ่ายไปสู่อวัยวะต่าง ๆ นอกจากนี้ทาลามัสยังทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กแรกเกิดในขณะที่สมองซีรีบรัมยังทำงานได้ไม่เต็มที่อีกด้วย
4.ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) อยู่ใต้ทาลามัสลงมาใกล้กับต่อมไร้ท่อพิทูอิทารี (pituitary gland) ไฮโปทาลามัสถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญ และมีหน้าที่สำคัญในการสร้างความสมดุลให้กับระบบการทำงานของร่างกาย เช่น ควบคุมการทำงานของต่อมพิทูอิทารี รักษาระดับความสมดุลของอุณหภูมิร่างกาย การหายใจ การหลับ การตื่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด ควบคุมความสมดุลในการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมแรงขับ (drive) ต่าง ๆ เช่น ความหิว ความกระหายความต้องการทางเพศ เป็นต้น ความสำคัญของไฮโปทาลามัสนี้เองบางครั้งจึงได้รับสมญาว่าผู้พิทักษ์ร่างกาย
5.สมองส่วนกลาง (midbrain) เป็นส่วนที่มีความยาวประมาณ 1 นิ้ว ตั้งอยู่ใต้ทาลามัส โดยมีเซลล์ประสาทเป็นตัวเชื่อมต่อกัน
6.พอนส์ (pons) เป็นส่วนที่อยู่ถัดลงมาจากสมองส่วนกลาง ด้านขวาของพอนส์จะอยู่ติดกับสมองเล็ก (cerebellum) โดยมีใยประสาทเป็นตัวเชื่อม จึงทำให้พอนส์เป็นทางผ่านของกระแสประสาทที่มาจากส่วนล่างเข้าสู่สมอง
ซีรีบรัมและสมองเล็ก เพื่อให้เกิดการประสานงานกันระหว่างสมองทั้งสองชนิด เช่น สามารถเคลื่อนไหวได้พร้อมกับการทรงตัวที่ดี เป็นต้น
7.ก้านสมอง (medulla oblongata) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากพอนส์ลงมา และเป็นส่วนสุดท้ายของสมอง โดยก้านสมองจะทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างสมองกับไขสันหลัง ภายในก้านสมองประกอบด้วยเส้นประสาทเป็นมัด เพื่อส่งกระแสประสาทที่ได้รับจากสมองผ่านส่วนต่าง ๆ ลงมาตามลำดับเพื่อส่งเข้าสู่ไขสันหลังและรับกระแสประสาทที่ส่งขึ้นมาจากไขสันหลังส่งต่อไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของสมองตามลำดับเช่นกัน เท่ากับว่าก้านสมองเป็นสถานีรับส่งกระแสประสาทสุดท้ายที่เชื่อมต่อระหว่างสมองกับไขสันหลัง แต่เนื่องจากมัดของเส้นประสาทที่อยู่ภายในก้านสมองนั้นมีลักษณะไขว้กันเป็นรูปกากบาท จึงทำให้เส้นประสาทชุดที่มาจากร่างกายซีกขวาจะไปเชื่อมต่อกับเส้นประสาทที่จะเข้าสู่สมองซีกซ้าย และเส้นประสาทชุดที่มาจากร่างกายซีกซ้ายจะไปเชื่อมต่อกับเส้นประสาทที่จะเข้าสู่สมองซีกขวา จึงมีผลทำให้สมองซีกขวาควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกซ้ายและสมองซีกซ้ายจึงควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกขวา นอกจากนี้ก้านสมองยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในบางชนิดอีกด้วย เช่น การเต้นของหัวใจ การขยายและหดตัวของปอด การย่อยอาหาร การยืดและหดตัวของเส้นเลือด เป็นต้น
8.เยื่อหุ้มสมอง
-เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (Dura mater) เหนียว แข็งแรงมากโดยมีหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน
-เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Arachoid mater) เป็นเยื่อบางๆ
เยื่อหุ้มสมองชั้นใน (Pia mater) มีเส้นเลือดแทรกมากมายทำหน้าที่ส่งอาหารไปเลี้ยงสมอง ในระหว่างชั้นกลางกับชั้นในจะมีการบรรจุของเหลวที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงสมองไขสันหลัง โดยจะทำหน้าที่ให้สมองและไขสันหลังเปียกชื้นอยู่เสมอ
2.ไขสันหลัง โครงสร้างของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง
1.ปีกบน (dorsal horn) เป็นบริเวณรับความรู้สึก
2.ปีกล่าง (ventral horn) เป็นบริเวณนำคำสั่ง
3.ปีกข้าง (lateral horn) เป็นบริเวณระบบประสาทอัตโนมัติ
3.เส้นประสาท (Nerve Fiber) เป็นกลุ่มของเส้นใยบาง ๆ จำนวนมากซึ่งเกิดจากเซลล์ประสาทหลายตัว รวมกันเข้าเป็นมัด เส้นประสาทอาจเป็นมัดของแอกซอน หรือมัดของเดนไดรท์ หรือทั้งสองชนิดรวมกันก็ได้
เส้นประสาทในร่างกายสามารถจำแนก ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1.เส้นประสาทที่ออกจากสมอง เส้นประสาทประเภทนี้ มีทั้งสิ้น 12 คู่มีศูนย์กลางอยู่ที่สมอง บางคู่จะเป็นเส้นประสาทที่เกี่ยวกับการสัมผัส บางคู่จะเป็นเส้นประสาทที่ใช้ควบคุมการเคลื่อนไหวแยกเป็นทางซีกซ้ายและซีกขวา เพื่อรับส่งความรู้สึกและคำสั่งตั้งแต่ลำคอขึ้นไป
2.เส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง เป็นเส้นประสาทที่แยกออกมาจากบริเวณไขสันหลัง จากกึ่งกลางลำตัวแยกกระจายออกไปทางซีกซ้ายขวาของร่างกาย เรียกว่าเส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง (spinal nerve) ทำหน้าที่รับส่งความรู้สึกและคำสั่งตั้งแต่บริเวณลำคอลงไปตลอดทั้งร่างกายจนถึงปลายเท้า มีหน้าที่รับความรู้สึกและควบคุมการเคลื่อนไหวมีทั้งสิ้น 31 คู่ โดยจะแยกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 เป็นเส้นประสาทส่วนของการรับความรู้สึก เข้าสู่ไขสันหลังทางด้านหลัง ส่วนอีกชุดหนึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เข้าสู่ไขสันหลังบริเวณช่วงท้อง
เส้นประสาทแต่ละเส้นจะมีเซลล์ประสาท (Neuron) หลาย ๆ เซลล์เรียงต่อกัน เซลล์ประสาทกระจายไปเลี้ยงทั้งร่างกาย มีประมาณ 12,000 ล้านเซลล์ ในไขสันหลังและสมองมีเซลล์ประสาทมากที่สุด
ระบบประสาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1.ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervoussystem หรือ CNS) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง
2.ระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบประสาทรอบนอก ( peripheral nervous system หรือ PNS) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง (cranial nerve) และเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) และระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS)
วิธีการดูแลรักษาระบบประสาทให้ทำงานตามปกติ
การบำรุงรักษาระบบประสาท
แนวทางการบำรุงรักษาประสาท มีดังนี้
1. ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ เพราะว่าหากสมองส่วนซีรีบรัมได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจทำให้ความจำเสื่อม หรือไม่สามารถจำสิ่งที่พบเห็นใหม่ ๆ ได้ และหากบริเวณที่ได้รับความกระทบกระเทือนเป็นบริเวณที่เกี่ยวกับการ
เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจทำให้ส่วนนั้นเป็นอัมพาตได้
2. ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคสมองอักเสบในเด็กตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด หรือรีบให้แพทย์ตรวจสอบเมื่อเกิดความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับสมอง
3. หลีกเลี่ยงยาชนิดต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมอง รวมทั้งยาเสพติดและเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ อาจทำให้เกิดเป็นโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) ได้
4. พยายามผ่อนคลายความเครียด หากปล่อยให้ความเครียดสะสมเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อร่างกายและจิตใจ จึงควรหาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย พบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ทำตัวให้ร่าเริงแจ่มใส พักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะการนอนหลับ เพราะเป็นการพักผ่อนสมองและร่างกายที่ดี โดยขณะที่เรานอนหลับ ประสาททุกส่วนที่อยู่ในอำนาจของจิตใจจะได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจก็จะทำงานน้อยลง
5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่ให้วิตามินบี 1 สูง ได้แก่อาหารพวกข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ถั่วลิสง เครื่องในสัตว์เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น เพราะวิตามินบี 1 จะช่วยให้ระบบประสาทแขน ขา และศีรษะทำงานปกติ ช่วยป้องกันโรค
เหน็บ ชาป้องกันโรคเหน็บชา ป้องกันอาการเหนื่อยง่าย
ศึกษาจากวีดีทัศน์แล้วบันทึกลงในสมุด
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
ระบบต่อมไร้ท่อมีความสำคัญต่อกระบวนการเผาผลาญอาหารและดูดซึมสารอาหารนำไปใช้ ซึ่งทำให้เกิดพลังงานในร่างกาย ควบคุมปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ หรือการนำพลังงานเข้า-ออกภายในเซลล์อันจะเกิดผลต่อการเจริญเติบโต การตอบสนองทางอารมณ์ ต่อมไร้ท่อจะผลิตสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน(hormone) ซึ่ง มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต โดยฮอร์โมนจะซึมเข้าสู่กระแสเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ ฮอร์โมนแต่ละชนิดจะมีหน้าที่เฉพาะอย่างและอิทธิพลต่ออวัยวะต่างๆ แตกต่างกันไป เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมไทมัส ต่อมหมวกไต ตับอ่อน ต่อมเพศ
โครงสร้างของระบบต่อมไร้ท่อ
1.1) ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) เป็นต่อมที่มีขนาดเล็กอยู่ใต้สมอง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้าและต่อมใต้สมองส่วนหลัง
1.2 ต่อมใต้สมองส่วนหน้า มีหน้าที่ดังนี้
ผลิตฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย ถ้าผลิตมากเกินไปจะทำให้ร่างกายสูงใหญ่ผิดปกติ ถ้าผลิตน้อยเกินไปทำให้เตี้ย แคระแกร็น
- ผลิตฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานปกติ
- ผลิตฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไต ให้ต่อมหมวกไตส่วนนอกทำงานได้ปกติ
- ผลิตฮอร์โมนเพศ ควบคุมและกระตุ้นการเจริญเติบโตการทำงานของต่อมเพศ
- ผลิตฮอร์โมนแลกโตจีนิกหรือโปรแลกติน กระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนมในขณะตั้งครรภ์และการเติบโตของเต้านม
1.2 ต่อมใต้สมองส่วนหลัง มีหน้าที่ดังนี้
- ผลิตฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อการบีบตัวของมดลูกขณะคลอดและช่วยการหลั่งของน้ำนม
- ผลิตฮอร์โมนวาโซเพรสซิน เป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อการทำงานของไต ควบคุมน้ำในร่างกายกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย และเพิ่มความดันโลหิต ถ้าขาดฮอร์โมนนี้จะทำให้เป็นโรคเบาหวานทำให้ปัสสาวะมาก กระหายน้ำ
2) ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มี 2 ข้างอยู่ด้านข้างของหลอดลมส่วนบน บริเวณลูกกระเดือกข้างละต่อม ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxin) ซึ่งต้องใช้สารไอโอดีนที่ดูดซึมจากสารอาหารในกระบวนการผลิต ซึ่งฮอร์โมนไทรอกซินควบคุมการเผาผลาญในร่างกาย แลกเปลี่ยนน้ำและเกลือแร่ ควบคุมกรดไขมัน เปลี่ยนกรดอะมิโนเป็นกลูโคส ถ้าร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอกซินมากเกินไป จะทำให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ หากผลิตน้อยเกินไปจะทำให้ระบบเผาผลาญอาหารในร่างกายผิดปกติ ร่างกายจะเตี้ย แคระแกร็น ผิวหนังหยาบกร้านหากร่างกายได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอจำทำให้เกิดโรคคอพอก ทำให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้นและการผลิตฮอร์โมนไทรอกซิน ก็จะน้อยลง
3) ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Glad) เป็นต่อมไร้ท่อที่เล็กที่สุด มี 2 คู่ อยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ ทำ หน้าที่ผลิตพาราไทรอยด์ฮอร์โมนเพื่อควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแส เลือด ถ้าต่อมพาราไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไปจะไปละลายแคลเซียมออกจากกระดูกเข้า สู่กระแสเลือดทำให้เลือดมีระดับแคลเซียมสูงขึ้น อาจทำให้เกิดนิ่วในไต กระดูกพรุน ปวดกระดูกและข้อ แต่ถ้ามีฮอร์โมนต่ำ ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ เกิดผลต่อกล้ามเนื้อและระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อกระตุก
4) ต่อมหมวกไต (Adrenal Glad) มี 2 ต่อม อยู่ข้างบนและข้างหน้าที่ปลายด้านบนของไตทั้ง 2 ข้าง ไตข้างซ้ายจะมีขนาดใหญ่และอยู่สูงกว่า ต่อมหมวกไตชั้นนอกมีหน้าที่ควบคุมความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ต่อมหมวกไตชั้นในทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน อะดรีนาลีนหรือฮอร์โมนฉุกเฉิน ที่มีผลจากการกระตุ้น เช่น ตกใจ ตื่นเต้น
5) ตับอ่อน (Pancreas) เป็นได้ทั้งต่อมที่มีท่อและต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยที่ใช้ในการย่อยอาหาร และสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งควบคุมการดูดซึมของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ถ้าร่างกายขาดฮอร์โมนนี้ จะทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ กรดไขมันในเลือดเพิ่ม ทำให้ปัสสาวะมากกว่าปกติ ตับอ่อนยังสร้างฮอร์โมนกลูคากอน (glucagon) ที่ทำหน้าที่กระตุ้นไกลโคเจนในตับให้เปลี่ยนกลูโคส
6) ต่อมเพศ (Gonad Gland) ในเพศชาย คือ อัณฑะ ในเพศหญิง คือ รังไข่
7) ต่อมไทมัส (Thymus Glad) เป็นต่อมที่รูปร่างคล้ายพีระมิด 2 พู (lobe) ติดกันขนาดและรูปร่างจะแตกต่างกันไปตามอายุ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
หน้าที่ระบบต่อมไร้ท่อ
ต่อมไร้ท่อจะควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของร่างกาย เมื่อต่อมไร้ท่อทำงานปกติจะหลั่งฮอร์โมนหลายชนิดพร้อมๆ กัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพของระบบต่อมไร้ท่อ
1) รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดอาหารที่มีรสหวาน เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน
2) ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพราะน้ำช่วยในการผลิตฮอร์โมน
3) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะช่วยให้ต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติทำงานได้อย่างสมดุล
4) งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพราะจะทำให้ต่อมไร้ท่อบางต่อมทำงานด้อยประสิทธิภาพลง
5) พัก ผ่อนให้เพียงพอมีความคิดสร้างสรรค์ คิดในเชิงบวกรู้จักผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ซึ่งจะส่งผลให้ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนที่ดี ทำให้มีสุขภาพกายและจิตใจดี
การดำรงชีวิตของมนุษย์เกิดจากการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยระบบประสาททำหน้าที่สำคัญในการรับรู้ความรู้สึกของร่างกาย และสั่งการหน่วยปฏิบัติงานต่างๆ ในขณะที่ระบบสืบพันธุ์จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์และฮอร์โมนเพศให้เห็นความแตก ต่างกันระหว่างเพศ ส่วนระบบต่อมไร้ท่อจะควบคุมการผลิตฮอร์โมนและการทำงานของร่างกาย ปัจจัยที่จะช่วยในการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบทั้ง 3 ระบบ คือ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ระบบทั้ง 3 ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ