ขอบข่าย/ภารกิจ

งานธุรการ

ขอบข่าย/ภารกิจ

1. ศึกษา วิเคราะห์ วางแผนจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ และการบริหารงานของกลุ่มให้สามารถดำเนินงานตามภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ศึกษา วิเคราะห์สภาพของกลุ่ม และออกแบบระบบงานสารบรรณให้เหมาะสมและสอดคล้องกับระบบงานสารบรรณของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 3

3. ดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมภายในกลุ่มบริหารงานบุคคล

4. ประสานงานกับกลุ่มงาน หน่วยงาน และสถานศึกษาในงานธุรการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของกลุ่ม

5. ประสานการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร และผลงานของกลุ่มให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไปทราบ

6. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานของกลุ่มงาน

งานวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง

ขอบข่าย/ภารกิจ

1. การวิเคราะห์และวางแผนอัตรากำลังคน

1.1 วิเคราะห์ภารกิจและแผนอัตรากำลังคน ของครูและบุคลากรทางการศึกษา

1.2 ประสานการดำเนินการและประเมินสภาพความต้องการกำลังคนกับภารกิจของหน่วยงานและสถานศึกษา

1.3 กำหนดจำนวนอัตรากำลังของสถานศึกษาตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด

1.4 จัดทำแผนอัตรากำลังของเขตพื้นที่การศึกษา

1.5 เสนอแผนอัตรากำลังเพื่อขอความเห็นจากอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา

1.6 ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดทำแผนอัตรากำลังของสถานศึกษา

1.7 นำแผนสู่การปฏิบัติ

1.8 ติดตามและประเมินผลการใช้อัตรากำลังตามแผน

2. การเกลี่ยอัตรากำลัง การตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน

2.1 ประสานการจัดทำระบบข้อมูล

2.2 การวิเคราะห์ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อตรวจสอบการใช้ตามความจำเป็น ความต้องการ ความขาดแคลนเทียบกับเกณฑ์และแผนอัตรากำลังสถานศึกษา

2.3 เสนอการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการเกลี่ยอัตรากำลังครูและบุคลากร ทางการศึกษา ต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา

2.4 เสนอการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนต่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพิจารณาอนุมัติ

3. การกำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะ

3.1 ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดทำภาระงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษา

3.2 นำแผนอัตรากำลังมากำหนดตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

3.3 รับคำขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง/ขอเลื่อนวิทยฐานะ/ขอเปลี่ยนแปลง เงื่อนไขตำแหน่ง/ขอกำหนดเพิ่มจากสถานศึกษา

3.4 ดำเนินการให้มีการประเมินเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ตำแหน่ง กำหนดตำแหน่งเพิ่ม

3.5 นำเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาและหรือ ก.ค.ศ. แล้วแต่กรณี พิจารณาอนุมัติ

3.6 ผู้มีอำนาจตามกฏหมายมีคำสั่งการปรับปรุงตำแหน่ง เลื่อนวิทยฐานะ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตำแหน่ง กำหนดตำแหน่งเดิม

3.7 เสนอแนะการพัฒนาแก่หน่วยงานตามความเหมาะสม

งานบำเหน็จความชอบและทะเบียนประวัติ

ขอบข่าย/ภารกิจ

1. งานบำเหน็จความชอบ

1. การเลื่อนขั้นเงินเดือน/ค่าจ้าง

(1) การเลื่อนขั้นเงินเดือน/ค่าจ้างกรณีปกติ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ ในการพิจารณาความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

2. คณะกรรมการเสนอหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการพิจารณาความดีความชอบของเขตพื้นที่การศึกษาให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาให้ความเห็นชอบ

3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แจ้งหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติให้สถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทราบและถือปฏิบัติ

4. ดำเนินรวบรวมข้อมูลผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่สมควรได้ รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน

เสนอขอความเห็นชอบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา

(2) การเลื่อนขั้นเงินเดือน/ค่าจ้างกรณีพิเศษ มี 4 กรณี ประกอบด้วย

1. กรณีกลับจากศึกษาต่อ

2. กรณีบรรจุใหม่

3. กรณีลาออกไปสมัครผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและกลับเข้ามาปฏิบัติราชการ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. รับเรื่องจากสถานศึกษา/ตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารหลักฐาน ( แบบขอเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ที่ขาดคุณสมบัติพร้อมผลการปฏิบัติงานในระดับ ดีหรือดีเด่น/คำสั่งให้ไปและกลับจากศึกษา/

คำสั่งบรรจุแต่งตั้ง คำสั่งลาออกและกลับเข้ารับราชการแล้วแต่กรณี รวมทั้งคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนสุดท้าย)

2. วิเคราะห์และเสนอความเห็นชอบผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการแล้วเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาอนุมัติ

3. แจ้งสถานศึกษาทราบ

4. บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงในทะเบียนควบคุมบัญชีถือจ่ายและทะเบียนประวัติ

4. กรณีการขอบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ เมื่อข้าราชการถึงแก่ความตายทุพพลภาพหรือพิการ เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

2. การดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีถือจ่าย

(1) การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือนข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ

ขั้นตอนและแนวปฏิบัติ

1. การจัดทำบัญชีถือจ่ายประจำปีชั่วคราว บัญชีถือจ่ายคือเอกสารที่ใช้ประกอบการเบิกจ่ายจึงกำหนดให้จัดทำแยกตามหน่วยเบิก

1.1 วิเคราะห์ผลการเลื่อนขั้นประจำปีและตรวจสอบความถูกต้อง

1.2 เสนอเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อขออนุมัติกรมบัญชีกลาง

1.3 เมื่อได้รับแจ้งผลการอนุมัติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งบัญชีถือจ่ายให้หน่วยเบิกดำเนินการเบิกจ่าย

2. การจัดทำบัญชีถือจ่ายประจำปี

2.1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำรวจข้อมูลการตัดอัตราข้ามหน่วยเบิก ตรวจสอบความถูกต้องระหว่างหน่วยเบิก และสรุปจำนวนอัตราของปีงบประมาณเดิมจำแนกอัตรา

2.2 จัดทำทะเบียนควบคุมบัญชีถือจ่ายของปีงบประมาณใหม่ซี่งมีลักษณะเป็นบัญชีถือ จ่ายรายตัวแสดงรายละเอียดของเงินถือจ่ายปีงบประมาณเดิม เงินถือจ่ายปีงบประมาณใหม่ เงินปรับลด

เงินเลื่อนขั้น

และเงินเพิ่มพิเศษต่าง ๆ

2.3 ประมวลผลข้อมูลและจัดทำบัญชีถือจ่าย บัญชีรายละเอียดประกอบบัญชีถือจ่ายตามรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด

2.4 ตรวจสอบความถูกตัองความต่อเนื่องของจำนวนอัตราที่ถือจ่ายปีงบประมาณเดิมและ ปีงบประมาณใหม่เป็นรายอัตรา/ความสอดคล้องของข้อมูลเงินถือจ่ายปีที่แล้วเงิน ถือจ่ายปีนี้ เงินปรับลด

และเงินเลื่อนขั้น

2.5 เสนอเรื่องไปยังคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐานเพื่อขออนุมัติการมปัญชีกลาง

2.6 เมื่อได้รับแจ้งผลการอนุมัติส่งบัญชีถือจ่ายให้หน่วยเบิกดำเนินการเบิกจ่าย

3. การจัดทำบัญชีถือจ่ายเพิ่มเติม

3.1 สำรวจและรวบรวมข้อมูลข้าราชการที่ได้ปรับอัตราเงินเดือนให้สูงขึ้นกรณีต่าง ๆ เช่น ปรับอัตราเงินเดือนให้ได้รับตามวุฒิที่สูงขึ้น ปรับอัตราเงินเดือนตามที่ได้รับโอน ปรับอัตราเงินเดือน

เนื่องจากเลื่อนระดับเลื่อนเงินเดือนเพิ่มเติม ฯลฯ

3.2 ประมวลผลข้อมูลและจัดทำบัญชีถือจ่ายตามรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด

3.3 เสนอเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐานเพื่อขออนุมัติกรมบัญชีกลาง

3.4 เมื่อได้รับแจ้งการอนุมัติส่งบัญชีถือจ่ายให้หน่วยเบิกดำเนินการเบิกจ่าย

(2) เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่ง

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. รวบรวมข้อมูลจ้าราชการครูที่มีสิทธิได้รับเงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐานจัดทำทะเบียนตำแหน่งส่งไปยังสำนักงาน ก.ค.ศ.เพื่อเสนอสำนักงบประมาณพิจารณา ให้ความเห็นชอบ ขอถือจ่ายไปยังกรมบัญชีกลาง

เมื่อได้รับแจ้งผลการอนุมัติ

ส่งบัญชีถือจ่ายให้หน่วยเบิกดำเนินการเบิกจ่าย

3. เมื่อได้รับแจ้งผลการอนุมัติ ส่งบัญชีถือจ่ายให้หน่วยงานเบิกดำเนินการเบิกจ่าย

3. งานขอรับเงินรางวัลประจำปี

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. แต่งตั้งคณะกรรมการการศึกษาหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการให้เงินรางวัลประจำปีของครูและ บุคลากรทางการศึกษา

2. คณะกรรมการเสนอหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการขอรับเงินรางวัลต่อผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา

3. สำนักงานเขตพิ้นที่การศึกษานำหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเสนอขอความเห็นชอบต่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา

4. สำนักงานเขตที่การศึกษาแจ้งหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติให้สถานศึกษาครูและบุคลากรทางการศึกษาทราบ

5. ผู้บริหารสถานศึกษาเสนอรายละเอียดครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับรางวัลประจำปีให้ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาทราบและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเสนอ อ.ก.ค.ศ. ให้ความเห็นชอบ

2. งานทะเบียนประวัติ

1. การควบคุมการเกษียณอายุราชการ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. เจ้าหน้าที่บันทึกวัน เดือน ปีเกิดลงใน

1.1 บัตรเกษียณอายุราชการ

1.2 เครื่องคอมพิวเตอร์

2. คำนวณผู้ที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และต้องพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น

2.1 วิธีคำนวณ

2.1.1 ผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม - 31 ธันวาคม ให้ใช้ 61 บวก พ.ศ.เกิด

2.1.2 ผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 1 ตุลาคม ให้ใช้ 60 บวก พ.ศ.เกิด

3. แจ้งรายชื่อข้าราชการดังกล่าวไปส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

4. ตรวจสอบและยืนยันพร้อมแจ้งรายชื่อผู้ที่จะเกษียณอายุราชการให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ

5. ประกาศรายชื่อผู้เกษียณอายุราชการ

6. ส่งประกาศให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบแล้วดำเนินการ

2. การแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด ของข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้าง

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ผู้มีความประสงค์ขอแก้ไข วันเดือนปีเกิด ยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดโดยแนบเอกสารต่อผู้บังคัญบัญชาขั้นต้นประกอบด้วย ทะเบียนราษฎร หลักฐานทางการศึกษา หลักฐานทางราชการ

แสดง วัน เดือน ปีเกิด หลักฐานอื่น ๆ ของทางราชการที่ระบุ วัน เดือน ปีเกิด โดยชัดเจน

2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง

3. นำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นถึงผู้มีอำนาจ

4. ดำเนินการแก้ไขในทะเบียนประวัติ ถ้าได้รับอนุญาต

5. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไข

3. การจัดทำและเก็บรักษาทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและลูกจ้าง

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. เจ้าของประวัติกรอกรายละเอียดข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติของตนเองพร้อมลงลายมือชื่อ

2. เจ้าหน้าที่ตรวจรายละเอียดความถูกต้อง

3. เก็บรักษาทะเบียนประวัติไว้เป็นความลับในที่ปลอดภัย

4. เปลี่ยนแปลง บันทึกข้อมูลลงใน ก.พ. 7 / สมุดประวัติ / แฟ้มประวัติ

5. ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดเสียหาย / ทำขึ้นใหม่ตามสภาพ

4. การจัดทำข้อมูลทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและลูกจ้าง

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. เจ้าหน้าที่ดำเนินการ

1.1 ให้ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้างกรอกรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ

1.2 เจ้าหน้าที่นำข้อมูลที่ได้เก็บไว้ในแฟ้มปกติ / เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์

2. เจ้าหน้าที่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงประวัติบันทึกรายการเกี่ยวกับประวัติที่เกิดขึ้น

3. เก็บข้อมูลไว้เป็นความลับในที่ปลอดภัย

4. นำข้อมูลไปใช้ในการบริหารงานบุคคล

5. การขออนุญาตการลา และเบิกจ่ายเงินเดือนระหว่างลาในส่วนที่เกิน 60 วันทำการ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ผู้มีสิทธิขออนุญาตเสนอใบลาพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการพิจารณาอนุญาตโดยนำใบลา ทุกฉบับ (ฉบับจริง) พร้อมเอกสารประกอบ เช่นใบรับรองแพทย์ นำเสนอผู้บังคับบัญชาขั้นต้นเสนอ

ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไป

2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่เกี่ยวข้องใบลา ตรวจนับวันลา ใบรับรองแพทย์ ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงสุด นำเสนอผู้มีอำนาจ อนุมัติการลาและเบิกจ่ายในส่วนที่เกิน 60 วันทำการ

6. การดำเนินการเกี่ยวกับแฟ้มประวัติของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ลาออกจากราชการและถึงแก่กรรม

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับการรองรับข้อมูลประวัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

2. เจ้าหน้าที่เสนอผู้บังคับบญชาลงนามในเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับการรับรองข้อมูลประวัติทะเบียนประวัติ ของครูและบุคลากรทางการศึกษา

3. เจ้าหน้าที่มอบเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับการรับรองขัอมูลประวัติทะเบียนประวัติ และแฟ้มประวัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผู้บังคับบัญชาลงนาม รับรองข้อมูลแล้วให้ส่วนราชการ

ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเรื่องเงินบำเหน็จบำนาญและเงินอื่น ๆ ต่อไป

7. การบันทึกวันลาประจำปีในแฟ้มประวัติข้าราชการ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. สถานศึกษาและหน่วยงานในสังกัดจัดทำบัญชีรายงานการลาประเภทต่าง ๆ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยนับตามปีงบประมาณ (1 ตุลาคม - 30 กันยายน) เสนอเขตพื้นที่การศึกษา

2. สถานศึกษาและหน่วยงานในสังกัดจัดส่งบัญชีรายงานการลงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษาตามลำดับชั้น

3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องและรายงานผู้บังคับบัญชา

4. เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามาลงปกแฟ้มประวัติ ข้าราชการของแต่ละคน

8. การให้บริการสำเนาทะเบียนประวัติและ ก.พ. 7

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. เจ้าของประวัติและยื่นความจำนงในการขอสำเนาทะเบียนประวัติและ ก.พ.7 ด้วยตนเองหรือเจ้าของประวัติมอบฉันทะให้บุคคลอื่นยื่นเสนอขอการจัดทำสำเนา ทะเบียนประวัติและ ก.พ.7

โดยเจ้าของประวัติทำหนังสือมอบฉันทะพร้อมแนบบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ของเจ้าของประวัติและผู้รับมอบฉันทะด้วย

2. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตรวจดูความถูกต้อง

3. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทำการจัดทำสำเนาทะเบียนประวัติและ ก.พ.7พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และส่งมอบให้ผู้ยื่นความจำนง หรือผู้ได้รับมอบฉันทะ

9. การจัดส่งทะเบียนประวัติและ ก.พ.7 ของข้าราชการครูบุคลากรทางการศึกษาที่ย้ายไปสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาอื่นหรือส่วนราชการอื่น

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. เจ้าหน้าที่เสนอผู้บังคับบัญชารับรองข้อมูลในทะเบียนประวัติและ ก.พ.7 และแฟ้มประวัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ย้ายไปสังกัดเขต พื้นที่การศึกษาอื่นหรือส่วนราชการอื่น

2. เจ้าหน้าที่จัดทำหนังสือนำส่งแฟ้มประวัติทะเบียนและ ก.พ.7 ถึงเขตพื้นที่การศึกษาหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

10. การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในทะเบียนประวัติ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติเสนอคำร้องตามลำดับชั้น

2. ผู้บังคับบัญชาเสนอผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไป

3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง

3.1 ทะเบียนสมรส( คร.3)

3.2 ทะเบียนหย่า (คร.7)

3.3 เอกสารการขอเปลี่ยนชื่อ (ทร.3)

3.4 เอกสารการขอเปลี่ยนชื่อสกุล (ท.4)

3.5 ทะเบียนบ้าน (ทร.14)

3.6 ใบรับรองคุณวุฒิ หรือปริญญาบัตร

4. เปลี่ยนแปลง บันทึกข้อมูลลงใน ก.พ.7 / สมุดประวัติ / แฟ้มประวัติ

5. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ

11. การรายงานบุคลากรทางการศึกษาถึงแก่กรรม

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ส่วนราชการรายงานการถึงแก่กรรมของบุคลากรทางการศึกษาตามลำดับชั้น

2. เจ้าหน้าที่รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น

3. ตอบรับทราบหน่วยงานที่รายงานการถึงแก่กรรม

4. ออกหนังสือแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้ถึงแก่กรรม

5. รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3. งานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ตรวจสอบผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน สมควรได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

2. ดำเนินการในการเสนอขอพระราชทารเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาแก่ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฏหมายกำหนด

3. จัดทำทะเบียนผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์และผู้คืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์

4. งานบริการบุคคล

1. การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ผู้มีสิทธิได้รับการยกเว้น กรอกรายละเอียดตามแบบที่กำหนดก่อนเดือนเมษายนของปี

2. แนบเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ, ตารางการสอน/สัปดาห์, จำนวนนักเรียนที่รับผิดชอบ, สำเนา สด.35., สด.9

3. เจ้าหน้าที่นำเสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อลงนามนำเสนอผู้มีอำนาจ

4. ผู้มีอำนาจออกในสำคัญยกเว้น แล้วแจ้งท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของผู้นั้น, แจ้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

2. การขอมีบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ผู้ขอมีบัตรกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ โดยมีเอกสารหลักฐาน ดังนี้

1.1 ติดรูปถ่ายในแบบขอมีบัตร 3 รูป

1.2 สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ

1.3 ใบรับรองหมู่โลหิต 1 ฉบับ

1.4 เสนอผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับ

2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารความถูกต้อง

3. เจ้าหน้าที่นำเสนอผู้มีอำนาจลงนามในบัตรประจำตัว โดยผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับ โดยคุมทะเบียนประวัติไว้

3. งานขอหนังสือรับรอง

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ผู้ขอหนังสือรับรองแจ้งเหตุผลและความจำเป็นในการขอหนังสือ

2. เสนอต่อผู้บังคับบัญชาขั้นต้น

3. เจ้าหน้าที่ตรวจรายงานเหตุผล ความจำเป็น

4. นำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติลงนามหนังสือรับรอง

5. ส่งหนังสือรับรอง

4. งานขออนุญาตให้ข้าราชการไปต่างประเทศ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ผู้มีความประสงค์จะเดินทางไปต่างประเทศ กรอกรายละเอียดตามแบบที่กำหนด

2. ในกรณีที่เดินทางอยู่ในระหว่างเปิดภาคเรีน ต้องแนบใบลาที่ได้รับการอนุญาต

3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ

- แบบขออนุญาต

- บัญชีประมาณการค่าใช้จ่าย

- ใบลากิจ หรือลาพักผ่อน หนังสือเชิญจากองค์การ หน่วยงาน

4. นำเสนอผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจลงนามนำเสนอผู้มีอำนาจ

5. งานขออนุญาตลาอุปสมบท

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ผู้มีความประสงค์จะอุปสมบทกรอกรายละเอียดตามแผนที่กำหรดผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับ

2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ

3. นำเสนอผู้มีอำนาจ

- อนุญาตการลาอุปสมบท

- เสนอพระอุปัชฌาย์ เพื่อขออนุญาตให้ไปอุปสมบท

6. การลาไปประกอบพิธีฮัจย์

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. รับใบลาไปประกอบพิธีฮัจย์ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยของใบลาและเอกสารประกอบ

2. เสนอใบลาให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั่นพื้นฐานหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจพิจารณา อนุญาต และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ลาทราบ

7. งานขอพระราชทานเพลิงศพ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. เจ้าภาพแจ้งวัตถุประสงค์ของการขอพระราชทานเพลิงศพ

2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ

- หลักเกณฑ์คุณสมบัติ

- วันเดือนปีที่จะขอพระราชทานเพลิงศพ

- สถานที่

- นำเสนอผู้มีอำนาจลงนาม เสนอเลขาธิการพระราชวัง

- ติดต่อประสานงาน (เลขาธิการพระราชวัง เจ้าภาพ)

3. ดำเนินการตามขั้นตอนของสำนักพระราชวัง

งานสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง

ขอบข่าย/ภารกิจ

1. งานสรรหาและบรรจุ

1. การสอบแข่งขัน สอบคัดเลือกและการคัดเลือก

1.1 สำรวจอัตราว่างข้าราชการครูและบุคลากรในสถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา

1.2 วางแผนจัดทำโครงการและงบประมาณค่าใช้จ่ายในการสอบแข่งขันสอบคัดเลือก การคัดเลือก

1.3 ประสานการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินการ

1.4 อนุมัติดำเนินการเปิดรับสมัครสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก คัดเลือกต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา

1.5 ดำเนินการสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก การคัดเลือก

1.6 ขออนุมัติประกาศผลการสอบแข่งขันฯ สอบคัดเลือก การคัดเลือก และ การเรียกตัวบรรจุแต่งตั้งหรือเลื่อนและแต่งตั้ง

2. การแต่งตั้ง หรือ เลื่อน และ แต่งตั้งจากผู้สอบคัดเลือกหรือผู้ได้รับการคัดเลือก

2.1 มีหนังสือเรียกตัวผู้สอบคัดเลือกหรือผู้ได้รับการคัดเลือกมาเลือกสถานศึกษา

2.2 ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้บริหารสถานศึกษาแล้วแต่กรณีลงนามคำสั่งแต่งตั้ง

2.3 ส่งตัวผู้ได้รับการแต่งตั้งหรือเลื่อนและแต่งตั้งไปรายงานตัวในสถานศึกษา หรือหน่วยงานทางการศึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งหรือเลื่อน และแต่งตั้งสถานศึกษารายงานตัวเข้ารับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งหรือเลื่อน และแต่งตั้ง

3. การบรรจุเข้ารับราชการใหม่

3.1 มีหนังสือเรียกตัวผู้สอบแข่งขันได้มาเลือกสถานศึกษา

3.2 ส่งตัวผู้สอบแข่งขันได้ไปรายงานตัวที่สถานศึกษา

3.3 สถานศึกษารับรายงานตัว ปฐมนิเทศ และรายงานสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาทราบ

3.4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นำเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาอนุมัติ ให้ผู้บริหารสถานศึกษาบรรจุและแต่งตั้งและแจ้งสถานศึกษาทราบ

3.5 ผู้บริหารสถานศึกษาออกคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาอนุมัติ

3.6 ผู้บริหารสถานศึกษารายงานและส่งคำสั่งให้สำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษา

3.7 ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาหรือดำเนินการทดลองปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนดและรายงานผลการดำเนินการต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

2. งานแต่งตั้ง ย้าย โอนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

1. การแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

1.1 ศึกษา วิเคราะห์กฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

1.2 เสนอหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง ต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา

1.3 สำรวจความต้องการและความจำเป็นในการแต่งตั้ง ตามที่หน่วยงานทางการศึกษาเห็นสมควร รวมทั้งตรวจสอบตำแหน่งว่างและอัตราเงินเดือนที่ใช้รับย้าย และรวบรวมข้อมูลตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประสงค์ที่จะให้มีการแต่งตั้ง

1.4 จัดทำข้อมูลรายละเอียดของผู้ประสงค์แต่งตั้ง ให้ อ.ก..ศ. เขตพื้นที่การศึกษาให้ความเห็นชอบ

2. การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

2.1 การย้ายผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ศึกษา วิเคราะห์กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

2. เสนอหลักเกณฑ์การย้าย ต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา

3. สำรวจความต้องการและความจำเป็นในการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาหรือย้ายตามที่หน่วยงานทางการศึกษาเห็นสมควร รวมทั้งตรวจสอบตำแหน่งว่างและอัตราเงินเดือนที่ใช้

รับย้าย

4. เขตพื้นที่การศึกษารวบรวมข้อมูล ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประสงค์ขอย้ายและจัดทำรายละเอียดข้อมูลของผู้ประสงค์ขอย้าย

5. จัดทำข้อมูลรายละเอียดของผู้ประสงค์แต่งตั้ง ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาให้ความเห็นชอบ

2.2 การย้ายผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาต่างเขตพื้นที่การศึกษา

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุลากรทางการศึกษาแจ้งความประสงค์และเหตุผลความจำเป็นในการ ขอย้ายไปยังเขตพื้นที่การศึกษาที่ประสงค์ขอย้าย

2. เขตพื้นที่การศึกษาที่รับย้ายตรวจสอบคุณสมบัติข้อมูลรายละเอียดตรวจสอบตำแหน่งว่างและอัตราเงินเดือนที่ใช้รับย้าย

3. เสนอข้อมูลรายละเอียดต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาท่รับย้ายพิจารณาอนุมัติ

4. แจ้งผลการพิจารณาให้เขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดทราบ

5. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแล้วแต่กรณีลงนามแต่งตั้ง (ย้าย )

3. การรับโอนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. รวบรวมรายชื่อ ข้อมูล และรายละเอียดของผู้ประสงค์ขอโอน

2. ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอโอน และตรวจสอบตำแหน่งว่างและอัตราเงินเดือนที่ใช้รับโอน

3. เสนอข้อมูลรายละเอียดให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณารับโอนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด

4. การบรรจุกลับเข้ารับราชการ

ขั้นตอนและแนวปฏิบัติ

1. ตรวจสอบวิเคราะห์กฎหมาย ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

2. ผู้ประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการยื่นความประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการ

3. ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการ

4. เสนอข้อมูลรายละเอียดให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาอนุมัติ

5. การรักษาราชการแทน

ขั้นตอนและแนวปฏิบัติ

1. ให้สถานศึกษาเสนอรองผู้อำนวยการสถานศึกษาเพื่อแต่งตั้งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

2. กรณีสถานศึกษาไม่มีรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ให้สถานศึกษาเสนอครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเหมาะสมเพื่อแต่งตั้ง เป็นผู้รักษาราชการแทน

3. เสนอผู้มีอำนาจแต่งตั้งครูหรือบุคลากรทางการศึกษาให้รักษาราชการแทน

3. งานออกจากราชการ

1. การออกจากราชการ

ขั้นตอนและแนวปฏิบัติ

1. ประสานการดำเนินการตรวจสอบรายชื่อผู้ที่จะเกษียณอายุราชการในแต่ละปี

2. ส่งรายชื่อให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ประกาศในเดือนมีนาคมของทุกปี

3. แจ้งประกาศรายชื่อผู้เกษียณอายุราชการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเจ้าตัวทราบ

2. การลาออกจากราชการ

ขั้นตอนและแนวปฏิบัติ

1. รับเรื่องการลาออกจากราชการของครูและบุคลากรทางการศึกษา

2. เสนอผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งพิจารณาอนุญาตการลาออกจากราชการของข้า ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด

3. การให้ออกจากราชการ

ขั้นตอนและแนวปฏิบัติ

1. ตรวจสอบข้อมูลของผู้ออกจากราชการ

2. เสนอผู้มีอำนาจพิจารณาออกคำสั่ง

3. แจ้งสถานศึกษาและผู้ออกให้ลงนามรับทราบคำสั่งและแจ้งกลุ่มงานบริหารการเงินและสินทรัพย์

4. สถานศึกษาส่งคำสั่งที่รับทราบกลับคืนพร้อมบัตรประจำตัวข้าราชการ 11.5. รายงาน ก.ค.ศ. ให้ทราบ

4. การออกจากราชการกรณีถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

ขั้นตอนและแนวปฏิบัติ

1. รับข้อมูลการไม่ผ่านการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาม พ.ร.บ. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

2. ตรวจสอบข้อมูลและเสนอผู้มีอำนาจสั่งบรรจุให้มีคำสั่งให้ออกจากราชการ

3. แจ้งสถานศึกษาและผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ลงนามรับทราบคำสั่งและแจ้งกลุ่มงานบริหารการเงินและบริหารสินทรัพย์

งานพัฒนาบุคลากร

ขอบข่าย/ภารกิจ

1. งานฝึกอบรมและลาศึกษาต่อ

1.1 การฝึกอบรม

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยสภาพความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม พัฒนา (Training need)

2. จัดทำแผนงาน/โครงการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร

3. จัดทำพัฒนาหลักสูตร คู่มือ นวัตกรรมและจัดหาเทคโนโลยี

4. ประสานและส่งเสริมการดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกตำแหน่ง ทั้งกรณีเตรียมเข้าสู่ตำแหน่ง (Pre service Training) และพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (In service Training)

รวมทั้งการอบรมลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวกรณีเข้าสู่ตำแหน่งใหม่และกรณีประจำการ

5. การประเมินผลการฝึกอบรม

6. ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบและกระบวนการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ

7. ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเสริมสร้างขวัญกำลังใจ ปกป้องคุ้มครองระบบคุณธรรมและยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษาในหน่วยงานทางการศึกษา

8. ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษามีการอบรมหรือประสานการฝึกอบรมและพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งในวิชาชีพ

9. สร้างเครือข่ายประสานการฝึกอบรมกับสถาบันการศึกษาและสถานศึกษา

10. ประสานกับหน่วยงานทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้มีการเทียบโอนประสบการณ์ในการฝึกอบรมกับการพัฒนาวิทยฐานะของบุคลากร ในสถาบันอุดมศึกษา

1.2 การลาศึกษาต่อ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ศึกษาความจำเป็นและดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาที่มีวุฒิและไม่มีวุฒิได้มีโอกาสศึกษาต่อตามความต้องการของตนและ หน่วยงานทางการศึกษา

โดยให้สอดคล้องกับนโยบายและหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือกระทรวงศึกษาธิการ และตามข้อตกลงในการส่งไปศึกษาต่อกับสถาบันอุดมศึกษา

2. ดำเนินการวางแผนและส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลาศึกษาต่อทุกประเภทงานส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ

2. งานส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ประสานการดำเนินการจัดสรรงบประมาณ สนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพเป็นมืออาชีพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิชาชีพและคุณภาพ การศึกษา

2. เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ เพื่อพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์

3. ประกาศแจ้งสถานศึกษาดำเนินการพิจารณาคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

4. เขตพื้นที่ตั้งคณะกรรมการพิจารณาและนำเสนอ อ.ก.ค.ศ. ให้ความเห็นชอบ

5. ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและมอบเกียรติบัตร โล่รางวัล พร้อมเผยแพร่ ยกย่องอย่างกว้างขวาง

6. ให้นำผลงานไปประกอบการพิจารณาความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษงานพัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ

3. งานพัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ

3.1 การขอรับใบอนุญาตและการขอต่อใบอนุญาตวิชาชีพ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาและมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

2. เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา ตรวจสอบ และนำเสนอตามที่ผู้มีอำนาจหรือองค์กรวิชาชีพ มอบหมาย

3. จัดทำทะเบียนควบคุม กำกับ ดูแล ผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ

4. ประสานองค์กรวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาและ พัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเป็นมืออาชีพ

5. ส่งเสริมการดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ประพฤติตามระเบียบ วินัย มาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ

3.2 การส่งเสริมความมั่นคง ผดุงความเป็นธรรมในการประกอบวิชาชีพ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. วิเคราะห์งานความมั่นคงและความเป็นธรรมในการประกอบวิชาชีพ

2. กำหนดหลักเกณฑ์การส่งเสริมความมั่นคง และผดุงความเป็นธรรมในการประกอบวิชาชีพ

3. วางแผนดำเนินการส่งเสริมความมั่นคง และผดุงความเป็นธรรมในการประกอบวิชาชีพ

4. ประเมินผลและรายงานงานประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคล

4. งานประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลล

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับการจัดทำและ พัฒนาฐานข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษา

2. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีประเมินผลการปฏิบัติงานด้านพัฒนาระบบบริหารงานบุคคล

3. พัฒนามาตรฐานคุณภาพ โดยให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดภาระงานขั้นต่ำและเกณฑ์การประเมินผลงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของเขตพื้นที่การศึกษา

4. ส่งเสริมและจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคล

5. ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงาน

6. นำผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ไปใช้ประโยชน ์ในการบริหารงานบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ

7. จัดทำรายงานการบริหารงานบุคคลเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอ ก.ค.ศ.

งานวินัยและนิติการ

ขอบข่าย/ภารกิจ

1. งานวินัย

1.1 การส่งเสริมวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ศึกษาวิเคราะห์วิจัยสาเหตุการกระทำผิดวินัย การเสริมสร้างวินัย จริยธรรมให้ข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษามีวินัยและจริยธรรม

2. ให้คำปรึกษาแนะนำเรื่อเสริมสร้างและพัฒนาวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษาส่งเสริมให้สถานศึกษา มีการเสริมสร้างและพัฒนาวินัยข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา

3. จัดทำและสนับสนุนการจัดทำเอกสาร คู่มือ สื่อเกี่ยวกับการรักษาวินัยและการป้องกันการกระทำผิด วินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

4. ติดตามประเมินผลการพัฒนาวินัย จริยธรรมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

1.2. การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ

1.2.1 การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. รับเรื่องร้องเรียนเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง

2.ร่วมเป็นคณะกรรมการสืบสวน/สอบสวนวินัย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด

3. ตรวจสอบสำนวนการสืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานและเสนอความเห็นเพื่อให้มีการ พิจารณาสั่งลงโทษทางวินัยหรือให้ความเห็นในระดับโทษทางวินัยที่ผู้บังคับ บัญชาสั่งลงโทษ วินัยไม่ร้ายแรง

4. ประสานกับหน่วยงานหรือเขตพื้นที่การศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยในกรณี ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากระทำผิดร่วมกัน

5. ให้คำปรึกษาแนะนำ อบรม และพัฒนาผู้บริหารข้อราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยว กับกระบวนการดำเนินการทางวินัย

6. จัดทำสรุปรวบรวมเอกสารหลักฐานการดำเนินการทางวินัยไม่ร้ายแรงข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาเสนอต่อองค์คณะบุคคลผู้มีอำนาจพิจารณาหรือหน่วยงาน บังคับบัญชา

7. ดำเนินการออกคำสั่งลงโทษตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด

1.2.2 การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. รับเรื่องร้องเรียนและสืบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้น ตามกรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย

2. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเมื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นแล้วปรากฏ กรณีมีมูลการ กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง

3. ร่วมเป็นคณะกรรมการสอบสวนและพิจารณา

4. ตรวจสอบสำนวนการสอบสวนพิจารณาพยานหลักฐานและเสนอความเห็นเพื่อให้มีการ พิจารณาสั่งลงโทษ ทางวินัยหรือให้ความเห็นในระดับโทษทางวินัยที่ผู้บังคับ บัญชาสั่งลงโทษ วินัยอย่างร้ายแรง

5. ประสานงานกับหน่วยงานหรือเขตพื้นที่การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัย กรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากระทำผิดร่วมกัน

6. จัดทำสรุปรวบรวมเอกสารหลักฐาน การดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อ เสนอองค์คณะผู้มีอำนาจพิจารณาหรือหน่วยงานบังคับบัญชา

7. ดำเนินการออกคำสั่งลงโทษตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด

1.2.3 การสั่งพักราชการ สั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนการกระทำผิดอย่างร้ายแรงและมีสาเหตุให้สั่งพักราชการไว้ก่อน

2. เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนการกระทำผิดวินัยอย่างร้างแรงและมีสาเหตุให้ออกจากราชการไว้ก่อน

1.2.4 การรายงานการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ผู้สั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนจัดทำรายงานผลการดำเนินการเมื่อมีการดำเนินการ ทางวินัยและการลงโทษทางวินัยไม่ร้ายแรง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เสนอให้ผู้มีอำนาจ ตามกฏหมายพิจารณา

2. จัดทำรายงานผลการดำเนินการเมื่อมีการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เสนอให้ผู้มีอำนาจตามกฏหมายพิจารณา

2. งานอุทธรณ์และร้องทุกข์

2.1 การอุทธรณ์

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย กฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ กรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษ เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบและการใช้สิทธิทางกฏหมายและการรักษาสิทธิ

2. รับเรื่องอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยไม่ร้ายแรงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ตรวจพิจารณา และเสนอให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายพิจารณา

3. ให้คำปรึกษาแนะนำสิทธิการอุทธรณ์และการฟ้องร้องต่อศาลปกครองตรวจสอบคำอุทธรณ์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

2.2 การร้องทุกข์

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ กรณี ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ร้องทุกข์เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ

เกี่ยวกับระเบียบและการใช้สิทธิทางกฎหมายและรักษาสิทธิบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบและการใช้สิทธิทางกฎหมายและรักษา สิทธิ

2. ให้คำปรึกษาแนะนำการร้องทุกข์และตรวจสอบคำร้องทุกข์ของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา

3. รับเรื่องร้องทุกข์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาตรวจ สอบพิจารณาและเสนอให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายพิจารณา

3. งานด้านกฎหมายและการดำเนินคดีของรัฐ

3.1. การดำเนินงานด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับที่ใช้ในหน่วยงาน

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งการจัดระบบการจัดเก็บให้บริการทาง กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ

2. ให้คำปรึกษาข้อเสนอแนะและตอบข้อหารือเกี่ยวกับข้อกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ กรณีที่เป็นปัญหาทางกฎหมายให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและหน่วยงานในสังกัด

3. ส่งเสริม อบรม แนะนำให้ความรู้และพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบวินัย

3.2. การดำเนินงานด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

1. ตรวจสอบการดำเนินการจัดทำนิติกรรม หรือ เอกสารมีผลผูกพันทางกฎหมาย ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานในสังกัดมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาจ้าง สัญญาเช่า สัญญาลาศึกษาต่อ

สัญญาค้ำประกัน หนังสือรับสภาพหนี้ หนังสือมอบอำนาจ การบอกเลิกสัญญา ฯลฯ

2. ดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการทางคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลาย คดีล่วงละเมิดสิทธิเด็ก คดีปกครอง ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานในสังกัด ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เป็นผู้เสียหาย หรือมีส่วนได้ส่วนเสีย และประสานกับพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดี

3. พิจารณาดำเนินการหาตัวผู้รับผิดชอบทางละเมิด และการใช้สิทธิเรียกร้องติดตาม ทวง ถามให้ผู้ต้องรับผิดชำระหนี้แก่ทางราชการ

4. ให้ความช่วยเหลือแนะนำ ปรึกษา แนวทางต่อสู้คดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลาย คดีล่วงละเมิดสิทธิเด็ก คดีปกครอง รวมทั้งการเรียกค่าสินไหมทดแทน ในกรณี สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา หน่วยงานในสังกัด

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา ถูกจับกุมคุมขัง ถูกฟ้องคดีแพ่ง ถูกฟ้องคดีอาญา ถูกฟ้องคดีปกครอง หรือถูกกระทำละเมิด

5.ร่วมปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับ มอบหมายและปฏิบัติงาน อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

งานเลขานุการ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา

ขอบข่าย/ภารกิจ

1. วิเคราะห์อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา จัดกลุ่มงานให้เป็นหมวดหมู่ และกำหนดบุคลากรรับผิดชอบ

2. ออกแบบจัดทำทะเบียน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ให้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการปฏิบัติงาน และประสานงานได้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

3. ร่างระเบียบสำหรับใช้บริหารบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณากำหนด

4. วางแผนการประชุม

5. ประสานงานรวบรวมเรื่องที่จะนำเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำเอกสารการประชุม

6. เสนอประธาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา กำหนดนัดประชุม จัดทำหนังสือเชิญประชุม และส่งเอกสารการประชุมให้กรรมการพร้อมหนังสือเชิญประชุม

7. ประสานงานการจัดสถานที่ประชุม การจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์สำหรับใช้ในการประชุม เบี้ยประชุมกรรมการ เอกสารหลักฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการประชุมตลอดจนเครื่องดื่มและอาหารว่าง

8. ดำเนินการประชุมและจดบันทึกผลการประชุม

9. จัดทำรายงานการประชุมส่งให้อนุกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามมติที่ประชุม

10. ประสานงาน ติดตาม กำกับ และรวบรวมผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามมติที่ประชุม

11. ประเมินผลการดำเนินการประชุมนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุง แก้ไขให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น