ชุมชนดีวิถีพอเพียงบ้านหนองยาง

ชุมชนดีวิถีพอเพียงบ้านหนองยาง

หมู่ที่ 6 บ้านหนองยาง ตำบลดงบัง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

ประวัติความเป็นมาบ้านหนองยาง

บ้านหนองยางเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของตำบลดงบัง เป็นเขตการปกครองหมู่ที่ 6 มีจำนวนครัวเรือน 100 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น 372 คน พื้นที่ทั่วไปประมาณ 1,660 ไร่ การตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านมีประวัติความเป็นมาจากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา ดังนี้

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2452 นายลือ มีครอบครัวเดิมอยู่ที่บ้านปลาค้าวได้มาสำรวจพบบริเวณนี้เป็นภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ดี เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานใหม่เพราะตั้งอยู่ใกล้ลำห้วยแซวและหนองน้ำธรรมชาติ ซึ่งเต็มไปด้วยดอกบัวแดงบ้านสะพรั่งเต็มหนองสวยงามตลอดปี ส่วนบริเวณรอบๆมีไม้ยางนาขนาดสูงใหญ่หลายต้นแผ่กิ่งก้านสาขาให้ความร่มรื่นเย็นสบาย จึงเป็นศูนย์รวมของฝูงนกกา พากันบินมาทำรังอยู่อาศัยเป็นประจำ นายลือ จึงอพยพครอบครัวมาปักหลักอาศัยอยู่ทางเนินทิศตะวันออกของหนองน้ำเป็นครอบครัวแรก ภายหลังจึงมีผู้คนจากหลายหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงกันทยอยอพยพเข้ามาอยู่เพิ่มเติม เช่น นายโงน เทพชมพู จากบ้าน ไม้กลอน นายมี ผิวบาง จากบ้านจิก
นายเพลีย บุญนูน จากบ้านไร่ขี และนายปลา โมราชาติ จากบ้านดงบัง ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นชุมชนหมู่บ้านขึ้นและอาศัยเค้าเดิมของสถานที่ตั้งอยู่ใกล้หนองน้ำและมีไม้ยางหลายต้นล้อมรอบ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อของหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “บ้านหนองยาง” สืบเท่าจนทุกวันนี้

เนื่องจากหมู่บ้านหนองยางเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงทำการผลิต ผ้าซิ่น ผ้าขิด และปลอกหมอนจนเป็นสินค้าทำรายได้และมีประเพณีแห่รดน้ำหลักธรรมในกลางเดือนเมษายนทุกปี จึงเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของหมู่บ้านแห่งนี้

คำขวัญหมู่บ้าน

เศรษฐกิจพอเพียง ชื่อเสียงทอผ้าขิด สร้างชีวิตเป็นสุข ประยุกต์ด้วยบวร

ประชากรเกื้อหนุน ค้ำจุนด้วยหลักธรรม เลิศล้ำความสามัคคี

การนับถือศาสนา

บ้านหนองยาง หมู่ที่ 6 ตำบลดงบัง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดบ้านหนองยาง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2426 ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ปัจจุบันมีพระอาจารย์สุชาติ รตนโชโต เป็นเจ้าอาวาส

คณะกรรมการบ้านหนองยาง

การบริหารรจัดการของบ้านหนองยาง

บ้านหนองยางบริหารจัดการหมู่บ้านในรูปแบบคณะกรรมการหมู่บ้านโดยแบงออกเป็นคุ้มจำนวน 4 คุ้ม และแต่งตั้งหัวหน้าคุ้มในการรบริหารจัดการดูแลและนำปัญหาเข้ามาปรึกษาหาลือแก้ไขในกลไกลคณะกรรมการหมู่บ้านดังนี้

คุ้มที่ 1 คุ้มทอผ้าขิด

คุ้มที่ 2 คุ้มส่างกกพอก

คุ้มที่ 3 คุ้มเกษตรอินทรีย์

คุ้มที่ 4 คุ้มแก้วมังกร

การน้อมนำแนวทางปรัชญาของเศรรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชุมชน

มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในครัวเรือน ครัวเรือนมีกิจกรรมการลดรายจ่ายด้วยการ ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ไว้กินเอง ปลูกเพื่อจำหน่ายเพิ่มรายได้ เช่นกล้วย หอม พริก ถั่วฝักยาว เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลา การทำปุ๋ยอินทรีย์ กิจกรรมการคัดแยกขยะ(ธนาคารขยะ)
มีกิจกรรมการเพิ่มรายได้ การทอผ้า การทอเสื่อ การจักสานไม้ไผ่ การเลี้ยงวัว

ทำให้ชาวบ้านหนองยางมีความสุขมีรายด้ายจากการจำหน่ายผลผลิตที่ปลูกขึ้นเองสรร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวคู่ไปกับการทำนาก่อเกิดการสร้างงานสร้างอาชีพและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในชุมชน

มีการร่วมกลุ่มตามแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน

ครัวเรือนมีการรวมกลุ่มอาชีพตามแนวทางสร้างสัมมาชีพ จำนวน ๖ กลุ่ม คือกลุ่มแม่บ้านทอผ้าขิดบ้านหนองยาง กลุ่มจักสานไม้ไผ่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านหนองยาง (นาแปลงใหญ่) กลุ่มธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ กลุ่มเลี้ยงโคพันธุ์ดี กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลาตะเพียน

การค้นหาและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างคุณค่า/บันทึก รวบรวม สืบทอดฯ

บ้านหนองยาง หมู่ที่ ๖ เป็นหมู่เก่าแก่ที่มีประวัติยาวนาน มีการสืบทอดอาชีพและภูมิปัญญาของคนรุ่นหลังไว้เป็นอย่างดี และมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ว่าจะเป็นการทอผ้าขิต การจักสานไม่ไผ่ ซึ่งได้มีการบันทึกและถ่ายทอดความรู้ไว้หลายเรื่อง เช่น การทอผ้า การจักสานไม่ไผ่ และการถ่ายทอดให้เด็กนักเรียนด้วย

มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน

บ้านหนองยาง หมู่ที่ ๖ มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๔ แห่ง คือศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองยาง ศูนย์เรียนรู้การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนพอเพียง และการทำเกษตรผสมผสานตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ ของคนในหมู่บ้านอีก จำนวน ๑๖ แห่ง

การสร้างความมั่นคงทางอาหาร

1. มีการปลูกพืชผักสวนครัว

บ้านหนองายาง หมู่ที่ ๖ มีกิจกรรมการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ซึ่งทุกครัวเรือนมีการปลูกพืชผักสวนครัวตามบริเวณรั้วหน้าบ้าน บริเวณบ้านและปลูกตามที่สวน
ไร่นา ครบทุกครัวเรือน ซึ่งชาวบ้านหนองยางมีการปลูกมาตลอดจนเป็นวิถีชีวิตของตนครัวเรือน

2. มีการเลี้ยงสัตว์ที่เป็นอาหารของครัวเรือน

บ้านหนองายาง หมู่ที่ ๖ มีกิจกรรมการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ซึ่งทุกครัวเรือนมีสัตว์ที่เป็นอาหาร และเลี้ยงเพื่อจำหน่าย ซึ่งชุมชนทุกครัวเรือนจะมีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ เป็นต้น และเลี้ยงสัตว์เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มรายได้ก็จะมีการเลี้ยงวัว เลี้ยงปลา เลี้ยงสุกร ซึ่งจะมีทั้งเลี้ยงในบริเวณบ้านและตามไร่นาเป็นส่วนใหญ่

3. มีการแปรรูปผลผลิตในบ้านเพื่อการถนอมอาหาร

บ้านหนองยาง หมู่ที่ ๖ มีกิจกรรมการแปรรูปผลผลิตเพื่อเป็นการถนอมอาหารสำหรับการบริโภคในครัวเรือน และเพื่อจำหน่าย คือ การแปรรูปหน่อไม้ เป็นหน่อไม้ดอง การแปรรูปปลาตะเพียน เป็นปลาส้ม และปลาแห้ง

จึงขอเชิญเชิญทุกท่านมาอุดหนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนเยี่ยมชมวิถีพอเพียงของชาวบ้านหนองยางแล้วคุณจะชื่นชอบ

ตําแหนงที่ตั้ง : บ้านหนองยาง หมูที่ 6 ตำบลดงบัง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

การเดินทาง : ใชเสนทางถนนสายอำนาจเจริญ-อุบลราชธานี ขับมาถึงแยกไฟแดงใหเลี้ยวซายเขาไปถนน

สายอำเภอลืออำนาจ-อำเภอพนาประมาณ 10 กิโลเมตรถึงบ้านกุงชัย เลี้ยวซ้ายที่แยกบ้านกุงชัยหน้าวัดบ้านกุงชัยก่อนถึงโรงเรียนบ้านกุงชัย มุ่งหน้าไปบ้านโนนจาน ประมาณ
5 กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านหนองยาง

ขอมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นายทรงกรต โมระศากย์

ภาพถาย/ภาพประกอบ โดย นายทรงกรต โมระศากย์