เสมาหินยุคทวารวดี
แหล่งโบราณเปือยหัวดง

เสมาหินยุคทวารวดีแหล่งโบราณเปือยหัวดง ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

แหล่งโบราณสถานเสมาพันปี ตั้งอยู่ที่ ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ นับว่า เป็นสิ่งยืนยันว่า พุทธศาสนา ในอดีตเคยรุ่งเรืองอย่างไรและเป็นสิ่งล้ำค่าที่บรรพบุรุษในอดีตทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์ เพื่อที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ใช้เป็นแนวทางศึกษา ด้วยความภาคภูมิใจ

อำเภอลืออำนาจอยู่ห่างจากตัว จังหวัดอำนาจเจริญด้านทิศใต้ไปตามถนนชยางกูร สายหลัก (อำนาจเจริญ- อุบลราชธานี) ประมาณ 21 กิโลเมตร จนถึงสามแยกไฟแดงเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสายรอง ลืออำนาจ – พนา เข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงตำบลเปือย ซึ่งเป็นสถานที่ตั้ง เสมาพันปี ทางเข้าก็จะมีป้ายบอก ซึ่งการเดินทางสะดวกมาก เพราะถนนเข้าไปก็จะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยตลอด

สำหรับแหล่งโบราณสถานเสมาพันปี สมัยก่อนบริเวณนี้ เป็นป่าทึบที่อุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นป่าศักดิ์สิทธิ์ เพราะหากใครเข้าไปตัดไม้ทำลายป่า ก็จะมีอันเป็นไปและเสียชีวิตทุกราย คนในพื้นที่จะเกรงกลัวกันมาก เมื่อถึงฤดูทำนาก็จะเข้าไปกราบไหว้บนบานต้นไม้ใหญ่ที่อยู่กลางป่า ขอให้ฝนตกดี ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ และในป่าก็จะมีเต่าใหญ่ เรียกว่า “เต่าเพ็ก” อาศัยอยู่กว่า 100 ตัว แต่ปัจจุบันไม่มีเหลืออยู่แล้ว ซึ่งเต่าพวกนี้ พอตกเย็นก็จะเข้ามาในหมู่บ้าน ชาวบ้านก็จะให้ข้าวและกล้วยเป็นอาหารและไม่มีใครกล้าไปทำร้าย เพราะเชื่อว่าเป็นของปู่ตา ใครขโมยไปก็จะเอามาคืนภายใน 7 วัน โจรผู้ร้ายก็ไม่มี ชาวบ้านอยู่กันสงบมาก

ชาวตำบลเปือย รักสงบ ชอบเข้าวัดฟังธรรม จึงเป็นหมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ทางอำเภอให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบและได้รับคำชมเชยมาตลอด และนับว่าเป็นตำบลเก่าแก่มีอายุกว่า 100 ปี ซึ่งเสมาพันปีที่อยู่ในหมู่บ้านจะเป็นสิ่งยืนยันได้ดีที่สุด ทั้งนี้ เสมาพันปีที่หมู่บ้านมีด้วยกัน 3 แห่ง โดยอยู่ในดอนปู่ตา เนื้อที่ 200 ไรทั้งหมด แต่ปัจจุบันถูกชาวบ้านบางคนเข้าไปบุกรุกจนเหลือเนื้อที่เพียง 50 ไร่

โดยแหล่งที่ 1. เป็นกลุ่มเสมาในเขตวัดโพธิ์

เป็นเสมาแบบศิลา จำนวน 50 ใบ และเนินศาลาสถานที่ กลุ่มเสมาทรายปักอยู่ ชาวบ้าน เรียกว่า “ลานเสมา” แต่ละใบ มีการสลักเป็นรูปหม้อน้ำและคล้ายคลึงกันลวดลายเสากลม ที่ประดับกรอบประตูสมัยก่อนเมืองพระนคร ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 หรือ 1,400 ปีมาแล้ว สมัยทวาราวดี ศิลปะขอมแบบไพรกเมง พบเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2532

ใบเสมาที่พบในบริเวณนี้เป็นกลุ่มเสมาหินทรายทรงใบหอก มีขนาดใหญ่ ด้านหน้าสลักรูปธรรมจักร ในกรอบรูปดอกไม้วงกลมตั้งอยู่บนเสาที่มีลวดลายประณีตสลักไว้ตรงกลางแกนใบเสมา สลักเป็นเส้นคล้ายเสากลมมีรูปหม้อน้ำรองรับสลักไว้ตรงกลางเสมา ที่ฐานของใบเสมาสลักลวดลายกลีบบัวคว่ำ บัวหงาย เป็นกลุ่มเสมาที่มีสภาพสมบูรรณ์ที่สามารถใช้ตรวจสอบจากกรมศิลปากรได้ว่าเป็นกลุ่มเสมาที่มีอายุในสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมสมัยทวารวดี ตรงแกนกลางใบเสมาบางตำนานสันนิษฐานว่าหมายถึงพระขรรค์ชัยศรีอันหมายถึงพระราชอำนาจของกษัตริย์อังกอร์ธรรมะที่มีเหนือดินแดน

แหล่งที่ 2. เป็นกลุ่มเสมาวัดป่าเรไร

นับว่าเป็นกลุ่มเสมาที่มีความหนาแน่นมากที่สุด มีจำนวนถึง 74 ใบ เป็นกลุ่มเสมาที่ทำด้วยศิลาแลงทั้งหมดลักษณะแตกต่างกันคือเป็นแบบแผ่นหินปลายแปดเหลี่ยม รูปร่างคล้ายเสา แบบแท่งหินสี่เหลี่ยมลบมุมและแบบแผ่นหินปลายทรงใบหอก ทั้ง 3 แบบ ไม่มีการสลักลวดลายและมีการสลักฐานบัวคว่ำ บัวหงาย มีสันนูนคล้ายยอดสถูปอยู่ตรงกลาง

แหล่งที่ 3. เป็นกลุ่มเสมาหลังโรงเรียนเปือย –หัวดง และเสมาดอนปู่ตา

ตั้งอยู่ภายในบริเวณดอนปู่ตา หลังโรงเรียนอนุบาลลืออำนาจ(ชุมชนเปือยหัวดง) หรือหน้าเทศบาลตำบลเปือย

ใบเสมาที่ค้นพบมีสองแบบ คือใบเสมาหินทราย ส่วนปลายหักกลมเข้าหาส่วนยอด แกนเป็นเส้นคล้ายเสากลมไม่มีลวดลายบางใบมีรูปหม้อ ที่ฐานใบเสมาไม่มีลวดลายใดๆ และใบเสมาแบบที่สองทำจากหินศิลาแลง มีขนาดย่อมกว่าเสมาหินทราย ส่วนปลายโค้งมน แกนเสมาเป็นเส้นคล้ายเสากลมไม่มีลวดลายอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-16

ภายในบริเวณดอนปูตา ร่มรื่นด้วย "ต้นเปือย" ขนาดใหญ่อายุนับร้อยปี มีพระพุทธรูปปางสมาธิหินทรายประดิษฐานอยู่หนึ่งองค์ ลักษณะพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ แสดงปางสมาธิ ครองจีวรห่มคลุมส่วนฐานสลักลายบัวคว่ำบัวหงาย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-16

ตําแหนงที่ตั้ง : ตั้งอยูในเขตเทศบาลตำบลเปือย หมู 1 ต.เปือย อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ

การเดินทาง : ใชเสนทางถนนสายอำนาจเจริญ-อุบลราชธานี ขับมาถึงแยกไฟแดงใหเลี้ยวซายเขาไปถนน สายอำเภอลืออำนาจ-อำเภอพนาประมาณ
2 กิโลเมตร ก็จะถึงตำบลเปือย

ขอมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นายทรงกรต โมระศากย์

ภาพถาย/ภาพประกอบ โดย นายทรงกรต โมระศากย์

อ้างอิงข้อมูลจาก : https://www.banmuang.co.th/news/region/149610