ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านการศึกษา กศน.อำเภอพนา

ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา กศน.อำเภอพนา

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพนา ตั้งอยู่ที่ ถนนอุปชิต ตำบลพระเหลา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอำนาจเจริญ จัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับชั้นประถมศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย /การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาต่อเนื่อง
ปัจจุบันบริหารการจัดการศึกษาโดย นายพิจิตร สีมาฤทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพนา มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู 2 คน พนักงานราชการ ตำแหน่ง ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน 2 คน ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล 7 คน พนักงานจ้างเหมา ตำแหน่ง ครูศูนย์การเรียนชุมชน 1 คน ครูสอนพิการ 1 คน และบรรณารักษ์ 1 คน

วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา

ภายในปี พุทธศักราช 2565 ประชาชนอำเภอพนาทุกช่วงวัยได้รับโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีทักษะที่จำเป็นและสมรรถนะที่สอดรับ กับทิศทางการพัฒนาประเทศ

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา

มีความรู้ คู่คุณธรรม น้อมนำวิถีพอเพียง

เอกลักษณ์

วินัยดี มีคุณธรรม

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวันและปฏิบัติ ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราชบรมมนาจบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการพัฒนาบนหลักแนวคิด พึ่งตนเอง เพื่อให้เกิดการพอมี พอกิน ของคนส่วนใหญ่ โดยการคำนึงถึงการมีความรู้ มีคุณธรรม มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เพื่อให้เกิดความสดุลพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ วัตถุ สังคม/เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพนา ได้น่อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ดังนี้

ผู้บริหาร

ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ความรู้แก่คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาในการประชุมทุกครั้ง สามารถเป็นวิทยากร เพื่อให้ความรู้แก่ผู้บริหาร ครู นักศึกษา ประชาชนชน และภาคีเครือข่าย ที่มาศึกษาดูงานในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประพฤติตนเป้นแบบอย่างที่ดี ด้านการครองตน ครองคน ครองงาน ให้กับครู นักศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอกได้เป็นอย่างดี มีการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้หลักธรรมภิบาล ภายใต้กระบวนการ PDCA. มาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา


ครูผู้สอน

มีการจัดทำและพัฒนาหลักสูตร ออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน มีการจัดหาผลิต และเผยแพร่สื่อการเรียนรู้ เช่นสื่อการเรียนออนไลน์ การฝึกปฏิบัติจริงจากฐานการเรียนรู้ในสถานศึกษา

นักศึกษา

นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถเป็นนักศึกษาแกนนำประจำฐานการเรียนรู้ ในสถานศึกษา โดยนักศึกษาแกนนำ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีจิตสาธารณะ มีวินัยในการใช้จ่าย และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข


ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวณัฐธพร สมร

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวณัฐธพร สมร

อ้างอิงข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/profile.php?id=100002480303983