ศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา
(ไฮ นา ฮิม ทาง)

แหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา (ไฮ นา ฮิม ทาง) เจ้าของพื้นที่ นายไสว นิมมา กำนันตำบลลือ ที่ตั้ง บ้านเลขที่ 75 บ้านฤกษ์อุดม หมู่ที่ 7 ตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ที่จัดทำตามโครงการ โคก หนอง นา โมเดล โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี และได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตลอดจน ใช้ความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การป้องกันให้รอดพ้นจากวิกฤต และให้สามารถ ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญา ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของ ประชาชนในทุก ระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความ จำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการ เปลี่ยนแปลง ทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความ ระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้าง พื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจใน ทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้ 9 สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลก ภายนอกได้เป็นอย่างดี

รูปแบบ “โคก หนอง นา” โมเดล “โคก หนอง นา โมเดล” จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของ การแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการน้ำที่สถาบันเศรษฐกิจ พอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้น้อมนำพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตาม แนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการน้ำ และพื้นที่ การเกษตร โดยมีการผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน ให้สอดคล้องกัน โดยแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ดังนี้ 30% สำหรับแหล่งน้ำ โดยการขุดบ่อ ทำหนองและคลองไส้ไก่ 30% สำหรับทำนา ปลูกข้าว 30% สำหรับทำโคกหรือป่า ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ก็คือปลูกไม้ใช้สอย ไม้กินได้และไม้เศรษฐกิจ เพื่อให้ได้ประโยชน์ คือ มีกิน มีอยู่ มีใช้ มีความสมบูรณ์ และความร่มเย็น และ 10% สำหรับที่อยู่อาศัย และ เลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ ปลา วัว และควาย เป็นต้น
การออกแบบที่คำนึงถึง “ภูมิสังคม” การออกแบบพื้นที่ โคก หนอง นา โมเดล จะคำนึงถึง “ภูมิสังคม” เป็นสำคัญ “ภูมิ” คือ สภาพทางกายภาพ เช่น สภาพดิน นํ้า ลม สังคม คือ วัฒนธรรม ความเชื่อ ภูมิ ปัญญาดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่นั้น ซึ่งในการออกแบบจะให้ความสำคัญกับ “สังคม” มากกว่า “ภูมิ” คือต้องออกแบบตามสังคมและวัฒนธรรมของคนที่อยู่ แม้ว่าภูมิประเทศ จะเหมือนกันก็ตาม หากสังคมต่างกัน การออกแบบก็จะต่างกันโดยสิ้นเชิง

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวเบญจวรรณ ลาภรัตน์

ภาพถ่าย/ภาพปรกอบ โดย นางสาวเบญจวรรณ ลาภรัตน์

อ้างอิงข้อมูลจาก : https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=2618

https://www.opsmoac.go.th/km-km_article-files-401591791792

https://www.arda.or.th/knowledge_detail.php?id=61