วัดบ้านนาคำ

วัดบ้านนาคำ หมู่ที่ 4 ตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ประวัติวัดบ้านนาคำ

สมัยก่อนนั้นนั้นบ้านนาคำ เป็นหมู่บ้านที่ไม่มีวัดการทำบุญในเทศกาลต่างๆ ต้องเดินทางไปที่วัดโฆสิตาราม บ้านนลือ หมู่ที่ 8 ซึ่งเป็นบ้านใกล้กันระยะทางประมาณ 800 เมตร เนื่องจากการสัญจรต้องใช้สะพานข้ามลำห้วยประกอบกับปีนั้นในช่วงฤดูฝน มีฝนตกหนักทำให้มีน้ำท่วมชาวบ้านจึงไม่สามารถเดินทางไปทำบุญที่ได้ เช่น เทศกาลเข้าพรรษา วันวิสาฆบูชา รวมถึงการทำบุญตักบาตรในวันพระและวันปกติในช่วงฤดูฝน ชาวบ้านเดินทางลำบาก ปีต่อมาชาวบ้านจึงได้รวมรวบสมทบทุนกันภายในหมู่บ้านหาปัจจัยในการสร้างวัดในหมู่บ้าน โดยการนำของนายสี โกสัตถา กำนันตำบลลือ

พ.ศ.2529 ได้มีการก่อตั้งวัดบ้านนาคำขึ้น โดยหลวงปู่ถ่านสุตปญโญ (หลวงปู่ถ่านจง) เป็นผู้สร้างและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ต่อมาได้ย้ายจำพรรษาที่วัดอื่น

พ.ศ.2535 จึงมีเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 คือ พระอาจารย์วันชัยเขมะโก และองค์ที่ 3 ในเวลาต่อมา

พ.ศ.2552 ได้มีเจ้าอาวาสองค์ที่ 4 คือพระอาจารย์วิเชียรเขมะโก ท่านได้พาชาวบ้านก่อสร้างหอระฆังขึ้น จากเดิมหอระฆังของวัดจะเป็นไม้ทั้งหลัง ท่านเกรงว่าจะไม่มีความคงทนแข็งแรง จึงมีการสมทบทุนจากชาวบ้านและการทำผ้าป่าจากลูกหลานที่เดินทางออกไปทำงาน ที่ต่างจังหวัด เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้างหอระฆังหลังใหม่ขึ้น

พ.ศ.2560 ถึงปัจจุบัน พระอาจารย์ศักดาจิตตะปัญโญ เจ้าอาวาสองค์ที่ 5 นำชาวบ้านช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถและองค์พระประธานหน้าอุโบสถให้มีความสวยงามยิ่งขึ้นต่อมานำชาวบ้านสร้างกำแพงวัดรอบวัดเพื่อความปลอดภัย

และยังได้รับการสนับสนุนทุนเจ้าคุณพระรัตโนภาสวิมล(หลวงตาเลียม) จากอดีตรองเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีจัดสร้างรอยพระพุทธบาทจำลอง เพื่อให้วัดมีความโดดเด่นให้มีจุดดึงดูดผู้คนเข้ามาเที่ยวกราบไหว้สักการะ รอยพระพุทธบาทจำลองมีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2.9 เมตร วางบนขนดตัวงูทรวง 9 เศียร และกุฏิ จำนวน 3 หลังขึ้น ภายในของบริเวณวัดยังต้นไทรย้อยขนาดใหญ่อายุหลายสิบปีที่ให้ร่ม เงา และชาวบ้านยังใช้บริเวณนี้เป็นที่ทำกิจกรรมในวันสำคัญเช่น รดน้ำผู้ใหญ่ ในเทสกาลสงกรานต์ รวมถึงการทำกิจกรรมอีกหลายอย่างชาวบ้านก็ยังให้ ความสำคัญกับต้นไทรใหญ่ต้นนี้

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวเบญจวรรณ ลาภรัตน์

ภาพถ่าย/ภาพปรกอบ โดย นางสาวเบญจวรรณ ลาภรัตน์